dc.contributor.author |
ชูอินทร์, รองศาสตราจารย์ ศิวพันธุ์ |
|
dc.contributor.author |
เกษมสวัสดิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีสุวรรณ |
|
dc.contributor.author |
มีทองจันทร์, อาจารย์ ดร.กิตติคุณ |
|
dc.contributor.author |
กาหยี, อาจารย์ ดร.พรรณทิพย์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-12-14T07:46:36Z |
|
dc.date.available |
2018-12-14T07:46:36Z |
|
dc.date.issued |
2018-12-14 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1232 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำผิวดินในแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่าง ศึกษาความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำผิวดินในแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่าง และศึกษากลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่างเพื่อการอุปโภคและบริโภคอย่างยั่งยืน การดำเนินงานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่างใน 3 จังหวัดที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ได้แก่จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสงคราม ทำการเก็บตัวอย่างน้ำในแม่น้ำแม่กลอง และคลองสาขาในบริเวณที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นชุมชน และการเกษตร ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่าง ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำตามฤดูกาล 2 ฤดูกาล (ฤดูร้อนและฤดูฝน) ทำการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ โดยมีพารามิเตอร์ที่ทำการวิเคราะห์ คือ ค่าความเป็นกรด – ด่าง ไนโตรเจนในรูปแอมโมเนีย ออกซิเจนละลาย บีโอดี ฟีคอลโคลีฟอร์มและโคลีฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด จากนั้นคำนวณหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำโดยใช้ดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไปของกรมควบคุมมลพิษที่ใช้ 5 พารามิเตอร์ด้วยโปรแกรมออนไลน์ที่เวปไซต์ http://iwis.pcd.go.th และศึกษาหากลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรน้ำโดยการประชุมระดมความคิดเห็นจากชุมชน ผลการศึกษาคุณภาพน้ำผิวดินในแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่างพบว่าส่วนใหญ่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน
ผลการศึกษาความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำผิวดินในแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่างดำเนินการโดยแปลผลจากค่า WQI ซึ่งผลการศึกษาในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี มีค่าอยู่ในช่วง 46 – 61, 47 – 60 และ 40 – 58 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม เทียบได้กับมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ซึ่งเหมาะกับการเกษตร การอุปโภคและบริโภค โดยต้องทำการฆ่าเชื้อโรค และปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อน
ผลการศึกษากลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่าง พบว่า การบำบัดน้ำเสียที่ที่แหล่งกำเนิด คือ บ้านเรือน ร้านค้า รีสอร์ท ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำและให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ โดยประยุกต์ใช้ด้วยเทคโนโลยีแบบ real time ในการติดตามเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำที่สามารถใช้งานง่าย ประชาชนสามารถใช้งานได้ น่าจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ร่วมกับให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ กำหนดนโยบายและร่วมสนับสนุนกิจกรรมในการลดความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2561; |
|
dc.subject |
คุณภาพน้ำ ความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำ ดัชนีคุณภาพ น้ำแม่กลอง |
th_TH |
dc.title |
กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรน้ำแบบชุมชนมีส่วนร่วมลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่างเพื่อการอุปโภคและบริโภคอย่างยั่งยืน |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |