Abstract:
|
การวิจัยเรื่องกระเบื้องหลังคาจากดินแดงมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมบัติของดินแดงให้เหมาะสมต่อการผลิตกระเบื้องหลังคา โดยการพิจารณาสมบัติเบื้องต้นของดินแดงและเตรียมดินแดงให้เหมาะสมกับวิธีการขึ้นรูป ทดสอบสมบัติที่เหมาะสมต่อการผลิตกระเบื้องหลังคา เพื่อออกแบบและสร้างกระเบื้องหลังคาจากดินแดงให้เหมาะสมกับสมบัติของดินแดงที่ทดสอบได้ โดยกระเบื้องหลังมี 3 ประเภทได้แก่ (1) กระเบื้องแบบลอน (2) กระเบื้องครอบรอยต่อ และ (3) กระเบื้องปิดปลาย ทาพิมพ์และทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์กระเบื้องหลังคาต้นแบบและเผาตามอุณหภูมิที่เหมาะสม
ผลการศึกษาพบว่า
1. การพัฒนาสมบัติของดินแดงให้เหมาะสมต่อการผลิตกระเบื้องหลังคา พบว่าดินแดงแหล่งสามโคก จังหวัดปทุมธานี มีการหดตัวเมื่อแห้งร้อยละ 12.56 มีการหดตัวหลังเผาที่อุณหภูมิ 1,050 องศาเซลเซียสร้อยละ 3.87 มีการหดตัวรวมร้อยละ 16.43 มีการดูดซึมน้าหลังเผาร้อยละ 10.49 และสามารถทนอุณหภูมิการเผาได้ การนามาใช้งานขึ้นรูปด้วยวิธีการอัดด้วยแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ใช้การนวดผสมทรายละเอียดร้อยละ 10 และน้า
2. การออกแบบกระเบื้องหลังคาจากดินแดง 3 ประเภทได้แก่ (1) กระเบื้องแบบลอน (2) กระเบื้องครอบรอยต่อ และ (3) กระเบื้องปิดปลาย ครบองค์ประกอบของกระเบื้องสาหรับใช้งานมุงหลังคา นารูปแบบและขนาดที่ขยายเพิ่มตามร้อยละการหดตัวรวมไปใช้สร้างแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ เป็นแบบพิมพ์สองชิ้น ขึ้นรูปด้วยวิธีการอัดดินเหนียวด้วยมือใช้ขึ้นรูปกระเบื้องจากดินแดงที่สามารถควบคุมความหนาของกระเบื้องได้
ข้อเสนอแนะ
จากปัญหาความไม่สม่าเสมอของสมบัติของดินแดงแหล่งสามโคก จังหวัดปทุมธานี ที่ส่งผลต่อความสูญเสียของผลิตภัณฑ์ขณะเผา ผู้ที่นาดินแดงแหล่งสามโคก จังหวัดปทุมธานีไปใช้งานอาจจาเป็นต้องล้างดิน หรือใช้การนวดด้วยมือหลายรอบเพื่อคัดแยกสิ่งเจือปนออกให้มากที่สุด |