การประเมินศักยภาพพืชพลังงานทดแทน (ไม้โตเร็ว) โดยใช้เทคนิคการประมวลผลภาพ กรณีศึกษา ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี Assessment of Renewable Plant Resource Potential (Fast-Growing Trees) Using Image Processing: A Case Study of Rangbua Subdistric, Chom Bueng District, Ratchaburi Province

DSpace/Manakin Repository

การประเมินศักยภาพพืชพลังงานทดแทน (ไม้โตเร็ว) โดยใช้เทคนิคการประมวลผลภาพ กรณีศึกษา ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี Assessment of Renewable Plant Resource Potential (Fast-Growing Trees) Using Image Processing: A Case Study of Rangbua Subdistric, Chom Bueng District, Ratchaburi Province

Show full item record

Title: การประเมินศักยภาพพืชพลังงานทดแทน (ไม้โตเร็ว) โดยใช้เทคนิคการประมวลผลภาพ กรณีศึกษา ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี Assessment of Renewable Plant Resource Potential (Fast-Growing Trees) Using Image Processing: A Case Study of Rangbua Subdistric, Chom Bueng District, Ratchaburi Province
Author: แสนศิริพันธ์, ดร.ศันสนีย์
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของชีวมวลเชิงพื้นที่สำหรับผลิตพลังงานจากไม้ โตเร็ว ได้แก่ ไม้ยูคาลิปตัส โดยใช้โปรแกรมประมวลผลภาพ (Photoshop CS3) โดยพื้นที่ที่ ทำการศึกษาคือ พื้นที่ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี นอกจากนี้ ทำการวิเคราะห์หาขนาด ของพื้นที่เกษตรกรรมที่เหมาะสมสำหรับส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานจากแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ประเภทนาข้าว และไร่มันสำปะหลังของตำบลรางบัว ผลการศึกษาพบว่า การประมวลผลหาขนาด ของพื้นที่ปลูกข้าวมีค่าเท่ากับ 35.71 ตารางกิโลเมตร และการประมวลผลหาพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง มีค่าเท่ากับ 8.56 ตารางกิโลเมตร มากกว่าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน คิดเป็นค่าความคลาดเคลื่อน 1.79% และ 1.06 % ตามลำดับ สำหรับการศึกษาการประเมินศักยภาพพลังงานทดแทนเพื่อผลิต กระแสไฟฟ้า โดยแบ่งออกเป็นสองกรณี ผลการศึกษาพบว่าการใช้ประโยชน์ไม้ยูคาลิปตัสที่ปลูกบนคัน นาของนาข้าวและในไร่มันสำปะหลัง ซึ่งกรณีปลูกไม้ยูคาลิปตัสเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงทั้งหมด 100% คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าของตำบลรางบัวเทียบเท่า 5.3 เมกกะวัตต์ และกรณีปลูกไม้ ยูคาลิปตัสเพื่อขายให้กับโรงงานผลิตกระดาษและนำเศษวัสดุเหลือทิ้งประมาณ 27% มาผลิตพลังงาน คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าเทียบเท่า 1.4 เมกกะวัตต์ ตามลำดับ ภายใต้สมมุติฐาน ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Efficiency) 18% กำหนดให้ Plant Factor 80%
Description: งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1323
Date: 2019-01-11


Files in this item

Files Size Format View Description
รายงานฉบับสมบูร ... .ศันสนีย์ แสนศิริพันธ์.pdf 1.357Mb PDF View/Open รายงานฉบับสมบูรณ์

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account