dc.contributor.author |
อนุสรณ์ทรางกูร, ณัฐพนธ์ |
|
dc.creator |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.date.accessioned |
2015-06-20T04:38:42Z |
|
dc.date.available |
2015-06-20T04:38:42Z |
|
dc.date.issued |
2015-06-20 |
|
dc.identifier.issn |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/160 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
ศิลปะไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่ความงดงาม และสืบทอดมาตั้งแต่อดีต สามารถบ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ทาให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตาตื่นใจ ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทย ซึ่งวิถีชีวิตสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาก่อน ดังนั้นความผูกพันของจิตใจจึงอยู่ที่ธรรมชาติแม่น้าและพื้นดิน สิ่งหล่อหลอมเหล่านี้จึงเกิดบูรณาการเป็นความคิด ความเชื่อและประเพณีในท้องถิ่น แล้วถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างงดงาม ที่สาคัญวัฒนธรรมช่วยส่งต่อคุณค่าความหมายของสิ่งอันเป็นที่ยอมรับในสังคม ให้คนในสังคมนั้นได้รับรู้แล้วขยายไปในขอบเขตที่กว้างขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การสื่อสารทางวัฒนธรรมนั้นกระทาโดยผ่านสัญลักษณ์ และสัญลักษณ์นี้คือผลงานศิลปะไทย แต่ในปัจจุบันศิลปะไทยกาลังจะถูกลืมเมื่ออิทธิพลทางเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ผ่านการออกแบบ จนเกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยอดีต และอิทธิพลดังกล่าวนี้ทาให้คนไทยลืมตัวเองมากขึ้นจนกลายเป็นสิ่งสับสนอยู่กับสังคมใหม่อย่างไม่รู้ตัว จนลืมความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ อีกทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ยังช่วยสร้างความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตให้กับมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเครื่องเรือนนั้นมีความจาเป็นมาก เพราะเปรียบเสมือนปัจจัย 4 ในการดารงชีวิต ทั้งเป็นสิ่งของที่จาเป็นหรือเป็นสิ่งของที่ต้องการ ในการเลือกใช้เครื่องเรือนแต่ละรูปแบบสามารถแสดงออกถึงความนึกคิด และจิตใจของผู้ใช้ได้
ปัจจุบันเครื่องเรือนมีมากมายหลายรูปแบบ และรูปแบบเหล่านี้ก็แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศิลปะและวัฒนธรรมในแต่ละยุค การออกแบบที่สะท้อนถึงรูปลักษณ์ของศิลปะของวัตถุดั้งเดิมก็มีความสาคัญไม่น้อย เพราะถือได้ว่าเป็นการอนุรักษ์รูปลักษณ์ของศิลปะดั้งเดิมไว้ไม่ให้สูญสิ้นไป ซึ่งจากการศึกษาและวิเคราะห์คุณลักษณะเฉพาะของรูปแบบและแนวคิดการออกแบบ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะดั้งเดิม จากเอกลักษณ์ของโบราณวัตถุและโบราณสถานในสมัยสุโขทัย ที่ใช้เป็นกรณีศึกษา เพื่อการแปลงรูปแบบปัจจัยและหลักการออกแบบของศิลปะสมัยสุโขทัย สู่การออกแบบเครื่องเรือนสมัยใหม่ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะดั้งเดิม โดยมีสมมติฐานการวิจัย คือ รูปแบบและกระบวนการแนวคิดการออกแบบเครื่องเรือนสมัยใหม่ จากรูปลักษณ์และลวดลายไทยจากโบราณวัตถุและโบราณสถานในสมัยสุโขทัย สามารถสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะดั้งเดิมได้ มีขอบเขตของการวิจัยมุ่งเน้นศึกษาปัจจัยด้านการออกแบบเครื่องเรือน ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะดั้งเดิม จากเอกลักษณ์ของโบราณวัตถุและ www.ssru.ac.th
โบราณสถานในสมัยสุโขทัย ประเภทชุดรับแขก ผ่านกระบวนการรับรู้ของผู้บริโภค พบว่าการรับรู้ด้านคุณค่าของศิลปะสมัยสุโขทัย ผ่านรูปแบบและกระบวนการแนวคิดการออกแบบเครื่องเรือนสมัยใหม่ จากรูปลักษณ์และลวดลายไทยจากโบราณวัตถุและโบราณสถานในสมัยสุโขทัยนั้น สามารถสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะดั้งเดิม ในระดับปานกลางได้ในประเด็นการรับรู้คุณค่าของศิลปะสมัยสุโขทัย การรับรู้ด้านความสวยงาม และการรับรู้ด้านประโยชน์ใช้สอย ส่วนในประเด็นการรับรู้ด้านความน่าใช้ และภาพรวมการสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะดั้งเดิมนั้น สามารถสื่อได้อยู่ในระดับที่มาก เนื่องจากการออกแบบทาให้ผู้บริโภคนั้นรับรู้ได้ถึงความสวยงามที่ให้ความรู้สึกที่ทันสมัย แต่แฝงไปด้วยความรู้สึกถึงคุณค่าของศิลปะดั้งเดิม จึงสร้างความรู้สึกน่าใช้ให้แก่ผู้บริโภคได้ ซึ่งความสาคัญในการออกแบบที่สะท้อนถึงรูปลักษณ์ของศิลปะของวัตถุดั้งเดิม ที่ถูกสังเคราะห์มาใช้ในการออกแบบเครื่องเรือนสมัยใหม่ ที่สามารถสอดคล้องกับทิศทางการออกแบบที่มีความทันสมัยในยุคปัจจุบัน แต่ยังคงสืบสานถึงศิลปะ ขนบธรรมเนียม และลวดลายของความเป็นไทยได้อย่างลงตัว สามารถก่อให้เกิดการอนุรักษ์ศิลปะดั้งเดิมไว้สืบต่อไป
แต่อย่างไรก็ตาม การออกแบบเพื่อสื่อถึงเอกลักษณ์ของศิลปะแบบดั้งเดิมที่ดี จาเป็นต้องรู้วิธีการแปลงอัตลักษณ์ของสิ่งนั้นให้ถูกต้อง และจาเป็นต้องคานึงถึงความพึงพอใจของผู้บริโภคควบคู่กันไป มิฉะนั้นการออกแบบที่ต้องการสื่อถึงศิลปะดั้งเดิมจะไม่มีความหมายเลย ถ้าการออกแบบที่มีวิธีการแปลงที่สื่อถึงแหล่งอ้างอิงทางทัศนาการได้ แต่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านต่างๆ ของผู้บริโภคได้ เช่น ความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอย เป็นต้น |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language |
TH |
|
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2556; |
|
dc.source |
งานวิจัยแหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2556 |
|
dc.subject |
การออกแบบเครื่องเรือน |
th_TH |
dc.subject |
ศิลปะดั้งเดิม |
th_TH |
dc.subject |
เอกลักษณ์ของโบราณวัตถุ |
th_TH |
dc.subject |
เอกลักษณ์ของโบราณสถาน |
th_TH |
dc.title |
การศึกษาปัจจัยด้านการออกแบบเครื่องเรือน ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะดั้งเดิม จากเอกลักษณ์ของโบราณวัตถุและโบราณสถานในสมัยสุโขทัย |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |