dc.contributor.author |
วัณณโอฬาร, นายชนะภพ |
|
dc.date.accessioned |
2019-02-14T09:29:40Z |
|
dc.date.available |
2019-02-14T09:29:40Z |
|
dc.date.issued |
2019-02-14 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1713 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัยปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
พิพิธภัณฑ์ อาจมีความหมายได้หลายประการ ตั้งแต่เป็นสถานที่รวบรวมไว้ซึ่งวัตถุนานาชนิด เป็นที่อวดแสดงสิ่งของสูงค่าน่าชม เป็นสถานที่เก็บรวบรวม และจัดแสดงความรู้ในเรื่องต่างๆ หรือเป็นแหล่งเรียนรู้ของสาธารณชน การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ จึงเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการสร้างความรู้ และคุณค่าหรือค่านิยมบางอย่างแก่สังคม ผ่านกระบวนการจัดแสดงโดยการสร้างความหมายและเอกลักษณ์จากการจัดแสดงวัตถุหรือภาพตัวแทนต่างๆ ดังนั้นวัตถุที่ถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ จึงอาจเป็นสิ่งไม่บริสุทธิ์ หรือเป็นของแท้ดั้งเดิม พิพิธภัณฑ์จึงเป็นพื้นที่กำหนดความหมายของตัวเองขึ้นมาใหม่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมทางวัฒนธรรมในช่วงเวลานั้นๆ โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงการนำเสนอวัฒนธรรมที่อิงอยู่กับวีรกรรม วีรบุรุษ วีรสตรี ที่ทำให้พิพิธภัณฑ์กลายเป็นพื้นที่ส่งสารในรูปแบบหนึ่งออกไปสู่สาธารณชนภายใต้นิยามการเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อแสดงออกถึงความเป็นชาติ ความเป็นเอกลักษณ์ และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของตนเอง
พิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดลฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวโยงกับสถาบันพระมากษัตริย์โดยตรง ด้วยตั้งอยู่ในเขตพระราชวังเดิม อันเป็นราชสำนักฝ่ายในที่ใหญ่ที่สุดตลอดสมัยรัชกาลที่ 6-7 เต็มไปด้วยสตรีชั้นสูง ตั้งแต่เจ้าฟ้าลงมาถึงพระมเหสี และพระสนม หม่อมเจ้า ตลอดจนข้าราชบริพารเป็นจำนวนมาก โดยสตรีเหล่านี้มีโอกาสสัมผัสกับแนวคิดและวัฒนธรรมใหม่ๆ ที่แสดงให้เห็นปัจจัยทางสังคม และการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มชนในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี เสมือนชิ้นส่วนทางประวัติศาสตร์ที่คอยเชื่อมเรื่องราวต่างๆ เข้าด้วยกัน การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์จึงมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเจ้านายผู้ที่เคยประทับในอดีต ในรูปแบบของการจำลองและการประดิษฐ์สร้างศิลปวัตถุขึ้นมาใหม่ เพื่อแสดงให้ภาพของอดีตชัดเจนขึ้น
การศึกษาถึงการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดลฯ จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิด และสภาพความเป็นอยู่ของคนในสมัยนั้นได้เด่นชัดที่สุด เพื่อนำไปสู่การจัดนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์ที่มีคุณค่า มีความหมาย ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันและหวงแหน เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ แก่สาธารณชน ตลอดจนตรงตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2561; |
|
dc.title |
การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเพื่อการจัดนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |