การประยุกต์ใช้ความรู้วรรณคดีไทยในการสร้างสรรค์สติกเกอร์ไลน์

DSpace/Manakin Repository

การประยุกต์ใช้ความรู้วรรณคดีไทยในการสร้างสรรค์สติกเกอร์ไลน์

Show full item record

Title: การประยุกต์ใช้ความรู้วรรณคดีไทยในการสร้างสรรค์สติกเกอร์ไลน์
Author: ดรุนัยธร, อาทิตย์
Abstract: การวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้ความรู้วรรณคดีไทยในการสร้างสรรค์สติกเกอร์ไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางการนำข้อมูลวรรณคดีมาสร้างสรรค์เป็นสติกเกอร์ไลน์ และวิเคราะห์กลวิธีในการนำเสนอตัวละครวรรณคดีไทยในการออกแบบสติกเกอร์ไลน์ โดยได้เก็บข้อมูลสติกเกอร์ไลน์จากเว็บไซต์ https://store.line.me/home/th ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2562 ได้กลุ่มข้อมูลสติกเกอร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีไทย จำนวน 67 ชุด แบ่งเป็นเรื่องรามเกียรติ์ จำนวน 49 ชุด สังข์ทอง จำนวน 6 ชุด พระอภัยมณี จำนวน 5 ชุด พระสุธนมโนห์รา จำนวน 2 ชุด พระรถเมรี (นางสิบสอง) จำนวน 2 ชุด แก้วหน้าม้า จำนวน 1 ชุด ปลาบู่ทอง จำนวน 1 ชุด และขุนช้างขุนแผน จำนวน 1 ชุด ผลการศึกษาพบว่า การประยุกต์ใช้ความรู้วรรณคดีในการสร้างสรรค์สติกเกอร์ไลน์ มี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นการนำตัวละครมาสร้างสรรค์เป็นสติกเกอร์ไลน์ ซึ่งมักเลือกนำเสนอตัวละครเอกในเรื่อง และในสติกเกอร์ 1 ชุด ก็มักจะมีตัวละครสำคัญมากกว่า 1 ตัว ลักษณะที่ 2 เป็นการนำอนุภาคของเนื้อเรื่องจากวรรณคดีมาสร้างสรรค์เป็นสติกเกอร์ไลน์ โดยใช้เหตุการณ์สำคัญที่ปรากฏตามเนื้อเรื่องมานำเสนอให้เชื่อมโยงกับชีวิตของคนปัจจุบัน ในด้านกลวิธีในการนำเสนอตัวละครวรรณคดีไทยในการออกแบบสติกเกอร์ไลน์ พบว่าผู้ออกแบบสติกเกอร์ไลน์มีกลวิธีในการนำเสนอตัวละครวรรณคดี 3 ลักษณะ คือ การนำเสนอภาพลักษณ์ของตัวละครให้กลายเป็นเด็ก เช่น ชุดหนุมานน้อยจอมซน ชุดหนุมานจูเนียร์ ชุดหนูน้อย หนุมาน การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ที่มีความดุร้ายให้กลายเป็นความน่ารักขี้เล่น เช่น ชุดไมยราพ ยักษ์เชียร์กีฬา ชุดทศกัณฐ์ แก้มตุ่ย ชุดทศกัณฐ์ติงต๊อง และการนำเสนอในลักษณะผิดกาละ (anachronism) คือการสร้างสรรค์ให้ตัวละครในวรรณคดีแต่งกายด้วยเสื้อผ้าตามสมัยนิยมและทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีในยุคปัจจุบัน เช่น การขับรถยนต์ การโดยสารรถไฟฟ้า การขี่เจ็ทสกี เป็นต้น
Description: -
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1920
Date: 2019-12-13


Files in this item

Files Size Format View
new_fullpaper_revision_NACHSL-2019_O_254.pdf 1.060Mb PDF View/Open

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account