การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์อีโคคาร์ ในเขตจังหวัดชลบุรี

DSpace/Manakin Repository

การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์อีโคคาร์ ในเขตจังหวัดชลบุรี

Show full item record

Title: การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์อีโคคาร์ ในเขตจังหวัดชลบุรี
Author: วิชัยคำ, อนงค์ลักษณ์; ลพบุรี, ปฏิภาณ
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์อีโคคาร์ ทัศนคติและพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์อีโคคาร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้บริโภคทั้ง เพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี -50 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-35 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 15,500 – 20,000 บาท มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์อีโคคาร์ จากสื่อออนไลน์มากที่สุด มีทัศนคติต่อรถยนต์อีโคคาร์ภาพรวมอยู่ในระดับดี พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อรถยนต์อีโคคาร์ ด้านการส่งเสริมทางการขายมากที่สุด มีพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์อีโคคาร์ ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นยาริส เลือกซื้อในระดับราคา 550,001-600,000 บาท ด้วยเหตุผลประหยัดน้ำมัน มีการตัดสินใจชื้อด้วยตนเอง เลือกซื้อรถยนต์อีโคคาร์จากโชว์รูมรถยนต์ มีชำระเงินแบบผ่อนชำระ และยอดการผ่อนชำระต่อเดือนไม่สูงมาก เป็นข้อเสนอที่จะทำให้ตัดสินใจซื้อมากที่สุด การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเป็นเชิงปริมาณ (quantitative study) ในรูปแบบของการวิจัย เชิงสำรวจ (survey research) แบบวัดผลครั้งเดียว (one-shot case study) โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) ซึ่งเรียงลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ขั้นตอนที่ 2 การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota sampling) ขั้นตอนที่ 3 การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ใช้แบบสอบถาม (questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นคำถามปลายปิด (close-ended questions) แบบมีตัวเลือก โดยแบบสอบถามประกอบไปด้วยคำถาม 4 ตอน ในการศึกษาครั้งนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ใช้การแจกแจงความถี่แสดงตารางแบบ ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) เพื่ออธิบายข้อมูลในด้านลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้โดยนำเสนอในรูปตารางประกอบการแปลความหมายเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามในสมมติฐานต่างๆ ดังนี้ สมมติฐานที่ 1 ผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากร แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์อีโคคาร์ แตกต่างกัน ใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป โดยใช้ F-Test ทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างของตัวแปรระหว่างลักษณะทางประชากรเพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรระหว่างลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์อีโคคาร์ สมมติฐานที่ 2 ผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากร แตกต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์อีโคคาร์ แตกต่างกัน ใช้สถิติ Chi-square เพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรระหว่างลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์อีโคคาร์ สมมติฐานที่ 3 ผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากร แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อรถยนต์อีโคคาร์ แตกต่างกัน ใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป โดยใช้ F-Test ทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างเพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรระหว่างลักษณะทางประชากรกับทัศนคติต่อรถยนต์อีโคคาร์ สมมติฐานที่ 4 การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์อีโคคาร์ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อรถยนต์อีโคคาร์ ใช้สถิติ Pearson’s correlation coefficient เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์อีโคคาร์ กับทัศนคติต่อรถยนต์อีโคคาร์
Description: -
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1931
Date: 2019-12-13


Files in this item

Files Size Format View
new_fullpaper_revision_NACHSL-2019_P_256.pdf 332.1Kb PDF View/Open

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account