การพัฒนาและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมด้านการละเล่นท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ของชุมชนดุสิตารามเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

DSpace/Manakin Repository

การพัฒนาและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมด้านการละเล่นท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ของชุมชนดุสิตารามเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

Show simple item record

dc.contributor.author ภูคำชะโนด, ภูสิทธ์
dc.date.accessioned 2020-11-16T11:33:00Z
dc.date.available 2020-11-16T11:33:00Z
dc.date.issued 2020-11-16
dc.identifier.uri http://hdl.handle.net/123456789/1944
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการรวบรวมและค้นหาต้นแบบทุนทางวัฒนธรรมด้านการละเล่นท้องถิ่น การจัดการทุนทางวัฒนธรรมด้านการละเล่นท้องถิ่นโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมด้านการละเล่นท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้และการสาธิต โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด และทำการสำหรับการสัมภาษณ์กลุ่มประธาน/ผู้นำชุมชนเมือง หรือคณะกรรมการชุมชนที่ประชาชนเคารพนับถือ และเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 20 คน ลงพื้นที่ชุมชนทำการสำรวจด้วยแบบสำรวจบริบททางสังคม พบผลการศึกษาว่า ชุมชนวัดดุสิตารามแห่งนี้ เรียกว่า ชาวปากคลองบากกอกน้อยเป็นชุมชนเก่าแก่ 100 กว่าปี ประชาชนอยู่ร่วมกันหลายรุ่นสืบต่อกันมาบนพื้นที่เดิมเป็นสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียนมะพร้าว มะม่วง กล้วย และอีกมากมายโดยเฉพาะ “เงาะเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียง เรียกว่า เงาะบางยี่ขันซึ่งมีรสหวาน เนื้อมาก เมล็ดลีบ เนื้อไม่ติดเมล็ด” มีวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านมากมาย เช่น ผีลอบ แม่ศรี ลิงลม กระบี่กระบอง กลองยาว เล่นกันสนุกสนานในงานเทศกาลต่าง ๆ โดยเฉพาะวันสงกรานต์ แต่ปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาเมืองทำให้มีการตัดถนนหนทาง การนำสาธารณูปโภค สาธารณูปการทั้งหลายนำสู่พื้นที่เป็นทั้งการค้า ธุรกิจ และที่พักอาศัย บ้าน วัด โรงเรียน และหน่วยงานราชการ (อู่ต่อเรือเดิม) เรือพระราชพิธี เมื่อพื้นที่ทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปทำให้คนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามด้วยเช่นการย้ายถิ่นของประชากรเข้าออกชุมชนเพื่อการทำมาหากิน คนดั้งเดิมเริ่มย้ายออก แต่คนที่รักถิ่นที่อยู่และเป็นเจ้าของเดิมจะอยู่ในขนาดที่เล็กลงไป ชุมชนกลายเป็นชุมชนเมืองแบบแออัด เช่นเดียวกันย่อมส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมที่คนเป็นคนเดินเรื่องราวต่าง ๆ ให้วัฒนธรรมเกิดขึ้นหรือตายลงไปด้วย วัฒนธรรมการละเล่นของท้องถิ่นก็เหลือเพียงร่องรอยพอให้สืบค้นได้ เช่น ผีลอบ แม่ศรี ลิงลม ซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง ภูต ผีวิญญาณ แต่ส่วนกระบี่กระบองกลองยาว ได้มีการสืบทอดอย่างเป็นระบบจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นได้อย่างมีระเบียบแบบแผน ซึ่งปัจจุบันนี้มีการละเล่นนี้ไว้อย่างชัดเจน มีหลายคณะที่สืบทอดกันมา คือคณะศรีดุสิต และคณะลูกธนบุรี และคณะลูกธนบุรี ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อสืบทอดกันในนามลูกศิษย์ที่เหลืออยู่ คือสำนัก “ศ.ลูกธนบุรี” ถึงอย่างไรปัจจุบันนี้การสืบทอดต่อไปคงยากลำบากเพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนมีน้อยมาก ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมส่วนใหญ่มาจากบุคคล เช่น เพศ อายุ อาชีพ สถานภาพสมรส และรายได้ต่อเดือน เมื่อปัจจัยเปลี่ยนแปลงไปทำให้การมีส่วนร่วมเปลี่ยนไปด้วย นอกจากนี้การจัดการเพื่อให้ทุนวัฒนธรรมด้านการละเล่นท้องถิ่นเป็นแหล่งท่องเที่ยวจึงเป็นไปได้ยากมากเนื่องจากศักยภาพชุมชนที่จะรองรับการท่องเที่ยวอยู่ระดับปานกลาง และมีความขัดแย้งทางความคิดในการพัฒนาของชุมชนอยู่มาก อีกทั้งปัญหาส่วนบุคคล หน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ การทำงานนอกชุมชน ไม่มีเวลาทำงานให้กับชุมชน และกรรมการชุมชนด้วยกันมีการแตกแยก ขาดความสามัคคีปรองดอง ดังนั้นการพัฒนาและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมด้านการละเล่นท้องถิ่นในชุมชนดุสิตาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครจึงเป็นไปในลักษณะเพื่อรักษาและอนุรักษ์ในรูปแบบคู่มือ เอกสารเผยแพร่ และป้ายความรู้ จึงเหมาะสมและยั่งยืนต่อไปในอนาคต th_TH
dc.description.sponsorship สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัย ในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject วัฒนธรรมด้านการละเล่นท้องถิ่น th_TH
dc.subject ชุมชนดุสิตาราม th_TH
dc.title การพัฒนาและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมด้านการละเล่นท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ของชุมชนดุสิตารามเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม th_TH
dc.type Article th_TH


Files in this item

Files Size Format View
04 Full text 25 ... ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม.pdf 8.806Mb PDF View/Open

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account