การออกแบบลายผ้าซิ่นวิถีวัฒนธรรมคำชะโนดความเชื่อพญานาค ด้วยวิธีมัดหมี่ลวดลายผ้าทอมือ

DSpace/Manakin Repository

การออกแบบลายผ้าซิ่นวิถีวัฒนธรรมคำชะโนดความเชื่อพญานาค ด้วยวิธีมัดหมี่ลวดลายผ้าทอมือ

Show full item record

Title: การออกแบบลายผ้าซิ่นวิถีวัฒนธรรมคำชะโนดความเชื่อพญานาค ด้วยวิธีมัดหมี่ลวดลายผ้าทอมือ
Author: ภูคำชะโนด, ภูสิทธ์
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาทุนวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์และได้รับการยอมรับจากผู้อาวุโสในคำชะโนด และเพื่อออกแบบลักษณะต้นชะโนดในการนำมาสร้างลวดลายด้วยการมัดหมี่ทอเป็นผืนผ้าซิ่นอัตลักษณ์วิถีถิ่นคำชะโนด โดยการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลในพื้นที่คำชะโนด โดยทำการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและประชาชนผู้อาวุโสของคำชะโนด จำนวน 31 คน ซึ่งมีพื้นที่วิจัยอยู่ที่ “คำชะโนด” ตั้งอยู่ที่หมู่ 11 บ้านโนนเมือง ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี พบผลการวิจัยว่า ภูมิปัญญาด้านการทอผ้าคำชะโนดมีนามว่า คุณย่าสมร ขันติกุล ที่มุ่งมั่นออกแบบลวดลายผ้าซิ่นท้องถิ่นคำชะโนด ลวดลายพญานาค ลวดลายเรื่องเล่าของคำชะโนด เป็นตัวแบบให้กับประชาชนในชุมชนท้องถิ่นมาตลอดอายุ 81 ปี เมื่ออาศัยอยู่ในดินแดนที่มีความเชื่อเรื่องพญานาคจึงต้องย้อนว่า ลวดลายพญานาคไม่ได้เกิดจากความเชื่อที่ต้องมีเหตุผลและเป็นเรื่องเล่า “นาคียืมฟืม” ที่จะสะท้อนความเชื่อมั่นว่า พญานาคมีอยู่จริงจากบรรพกาลจากแม่น้ำเนรัญชราของ “พญากาฬนาคราช” สู่แดนดินถิ่นนาคาคำชะโนดของ “พญาศรีสุทโธนาคราช” ในปัจจุบันกาล ซึ่งเกาะคำชะโนดมีต้นชะโนดความสูงกว่า 34.75 เมตรขึ้นไปมาเป็นเอกลักษณ์ที่มีกาบใบตามลำต้นคล้ายกาบเกล็ดตามลำตัวของพญานาคที่ปรากฎอยู่ของต้นชะโนด ลักษณะป่าดงชะโนดมีอายุมากว่า 1 ชั่วอายุคนอยู่บนเกาะลอยน้ำหรือเรียกว่าป่าพรุคำชะโนด การมีวิถีชีวิตของภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่กับเรื่องราวภูมิสถานคำชะโนดมาโดยตลอดช่วงชีวิตคนทำให้เกิดได้แนวคิดนำเอกลักษณ์ของต้นชะโนดมาสู่การสร้างลวดลายผ้าซิ่นโดยการนำอัตลักษณ์ต้นชะโนดมาเป็นต้นแบบในการคิดเป็นลวดลายผ้าซิ่นด้วยวิธีการมัดหมี่ ย้อมสี ปั่นด้าย ทอกี่จนเกิดเป็นลวดลายแรกของคำชะโนด คือ กาบเอื้องคำชะโนด
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1949
Date: 2020-11-16


Files in this item

Files Size Format View
09 Full text one file (NAGA61).pdf 10.38Mb PDF View/Open

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account