รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อก้าวพ้นจากความยากจนสู่ “ระดับความพอเพียง: สบายดีอีสาน” ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๑

DSpace/Manakin Repository

รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อก้าวพ้นจากความยากจนสู่ “ระดับความพอเพียง: สบายดีอีสาน” ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๑

Show full item record

Title: รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อก้าวพ้นจากความยากจนสู่ “ระดับความพอเพียง: สบายดีอีสาน” ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๑
Author: ภูคำชะโนด, ภูสิทธ์
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนมนุษย์ ความหมายและความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิเคราะห์ “วิถีพอเพียง วิธีพอเพียง” ระดับการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ทั้งในระดับบุคคลและครัวเรือน และประเมินบุคคลตามตัวชี้วัดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบและศึกษาแนวทางสร้างความสุขในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑ โดยทำการเก็บข้อมูล 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ และเลย ด้วยแบบสอบถามจาก 2,000 กลุ่มตัวอย่าง และทำการสัมภาษณ์ผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 54 คน พบผลการวิจัยว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 54 หมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงมีทัศนคติที่ดีต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับที่มากที่สุด โดยเฉพาะความรู้สึก ความรู้ความเข้าใจและความตั้งใจปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความภูมิใจในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช (รัชกาลที่ 9) เป็นผู้ก่อเกิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความภาคภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย อยู่ใต้พระราชาที่มีทศพิธราชธรรม ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อช่วยประชาชนยากจน ส่วนระดับการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในระดับครอบครัว โดยภาพรวมอยู่ในระดับการปฏิบัติมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ด้านการออมทรัพย์ ด้านการเอื้ออาทรเกื้อกูลต่อกัน ด้านการปลูกพืชผสมผสานทำการเกษตร ด้านการดำรงมั่นในภูมิปัญญาความเชื่อของท้องถิ่น และด้านการทำอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ของครอบครัว ตามลำดับ ทั้งนี้การใช้ภาษาถิ่น ภาษาเผ่า ภาษากลุ่มชาติพันธุ์เป็นกิจวัตรในการสื่อสาร คือ ภาษาอีสาน ในด้นการดำรงมั่นในภูมิปัญญาความเชื่อของท้องถิ่นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนคุณภาพชีวิตของประชาชนอยู่ในระดับที่ดีแต่มีด้านสุขภาพซึ่งประชาชนในหลายครอบครัวที่มีอาหารกินครบ 5 หมู่เพียงบางมื้อ แต่มีอาหารที่สะอาดถูกหลักอนามัยกินครบทุกมื้อ สำคัญที่สุดในเรื่องความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว คนที่เป็นผู้นำครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคนในครอบครัวอย่างมาก กลมเกลียวเหนียวแน่นสมัครสมานสามัคคีกันดีมาก เมื่อพิจารณาระดับวิถีพอเพียงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะประชาชนมีวิถีพอเพียงด้านจิตใจระดับสูงสุด ในเรื่องความรักความผูกพันในครอบครัว และการดำรงชีพด้วยการยึดมั่นในศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ส่วนวิถีพอเพียงด้านเศรษฐกิจระดับต่ำที่สุด ในเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน การสร้างรายได้เสริมเพิ่มรายได้หลักในครอบครัว ยังมีประเด็นเรื่องการดำรงตนเป็นผู้ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตยระดับปฏิบัติสูงสุด ส่วนในระดับวิธีพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประชาชนมีวิธีพอเพียง ด้านการลดรายจ่ายอยู่ในระดับมากที่สุด ในเรื่องการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ไว้ในพื้นที่บริเวณบ้าน ส่วนด้านการเพิ่มรายได้ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ในเรื่องการผลิตสินค้าส่งให้ร้านหรือตัวแทน ประชาชนในหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 5 จังหวัดอีสานตอนบนมีวิธีการผลิตสินค้าขายมีน้อยมาก ดังนั้นผู้นำชุมชนมีความสำคัญในฐานะทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพในการชี้นำความเจริญของหมู่บ้านได้ต้องมีทัศนคติที่ดี และมีระดับการมีส่วนร่วมของผู้นำในกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมส่วนรวมของหน่วยงานรัฐที่จัดให้กับประชาชนในหมู่บ้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะด้านการร่วมคิดค้นหาปัญหามีค่าเฉลี่ยสูงสุด และยังได้อธิบาย “วิถีพอเพียง” ว่า เส้นทางชีวิตของคนฉลาดในการใช้ชีวิต เป็นวิถีของคนดีมีความรู้คู่คุณธรรม เป็นวิถีของคนไม่ประมาทในชีวิตทั้งปวง ส่วนคำว่า “วิธีพอเพียง” เป็นวิธีของคนดำรงชีพด้วยการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เลี้ยงไก่-เป็ด-ปลา-กบ-หมู ไว้เป็นอหารสำหรับครัวเรือน ส่วนปัจจัย 4 อ. ได้แก่ อายุ อาชีพ อาณาเขต (ความเป็นเจ้าของที่ดินทำกิน) และ อำนาจ (การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม) มีอิทธิพลต่อทัศนคติของประชาชนและผู้นำหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของกิจกรรม และคุณภาพชีวิตด้วย ทั้งนี้ผลของการวิจัยยังชี้ให้เห็นรูปแบบที่เหมาะสมกับการก้าวพ้นจากความยากจนสู่ “ระดับความพอเพียง: สบายดีอีสาน” เรียกว่า “ทำมาหากิน ๑ สู่ทำก่อนจึงสอน ๑ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1955
Date: 2020-11-16


Files in this item

Files Size Format View
010 Full Text 2562 sabaidee ESAN62.pdf 12.77Mb PDF View/Open

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account