dc.contributor.author |
ถิ่นวิไลสกุล, ชิโนรส |
|
dc.creator |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.date.accessioned |
2015-06-20T06:13:02Z |
|
dc.date.available |
2015-06-20T06:13:02Z |
|
dc.date.issued |
2015-06-20 |
|
dc.identifier.issn |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/203 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยเรื่อง สื่อพื้นบ้านกับการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนศาลายา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของสื่อพื้นบ้านที่มีอยู่ในตาบลศาลายา และหาสื่อพื้นบ้านที่มีอัตลักษณ์ของชุมชนศาลายาซึ่งสามารถนามาสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านการท่องเที่ยวให้แก่ชุมชนศาลายาได้ ในการศึกษาวิจัยนี้ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยเฉพาะข้อมูลปฐมภูมินั้นผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสื่อพื้นบ้าน และอาศัยอยู่ในชุมชนศาลายามากว่า 20 ปี โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ร่วมกับการสังเกตุแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม เพื่อเป็นการค้นหาองค์ความรู้จากผู้ที่รู้จริงและมีประสบการณ์ตรง
จากการวิจัยพบว่า ชุมชนศาลายาเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีมานานแล้ว มีทรัพยากรทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ความเป็นมาจานวนมาก และผู้วิจัยได้ทาการรวบรวมและแบ่งประเภทของสื่อพื้นบ้านของชุมชนศาลายา เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ นิทานพื้นบ้าน , เพลงพื้นบ้าน และ ประเพณีของชาวชุมชนศาลายา ซึ่งสื่อพื้นบ้านที่ชาวชุมชนศาลายาส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังคงอนุรักษ์และสืบทอดกันอยู่ได้แก่ ประเพณีของชาวชุมชนศาลายา โดยเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นหลัก สาหรับเพลงพื้นบ้านนั้นยังคงนามาใช้อยู่บ้างในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น งานบวชนาค , งานแต่งงาน แต่มีการนามาใช้น้อยลง สาหรับนิทานพื้นบ้านนั้นมีการนามาเล่าให้ลูกหลานในครอบครัวฟังแต่ไม่ได้มีการเผยแพร่ไปสู่บุคคลภายนอก
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากสื่อพื้นบ้านที่มีอยู่ของชาวชุมชนศาลายา พบว่า สื่อพื้นบ้านที่มีแรงดึงดูดให้บุคคลภายนอกเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ได้ดี ได้แก่สื่อประเพณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเพณีการแข่งเรือ ที่จัดในวันทอดกฐินของวัดสาลวัน ซึ่งได้สะท้อนอัตลักษณ์ของชาวชุมชนศาลายาว่า เป็นผู้ที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา , เป็นชุมชนที่มีความรักความสามัคคีกัน และ เป็นผู้มีอารมณ์ขัน
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้สร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นให้กับประเพณีการแข่งเรือที่เคยมีมาแต่เดิม โดยมีการจัดแสดง เพลงเรือ ของชาวชุมชนศาลายา เพิ่มเติมเป็นการเพิ่มมูลค่าของการมาท่องเที่ยว ให้กับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ควรมีการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมเพื่อทาหน้าที่ถ่ายทอด สร้างค่านิยม และเผยแพร่สื่อพื้นบ้านให้กับคนภายในและภายนอกชุมชน มีการเลือกสรรสื่อพื้นบ้านอื่น ๆ ที่จะนามาใช้ในการสร้างแรงจูงใจในการมาท่องเที่ยวเพิ่มเติม ตลอดจนเลือกใช้สื่อโฆษณาที่หลากหลายและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language |
TH |
TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2554; |
|
dc.source |
งานวิจัยแหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2554 |
TH |
dc.subject |
สื่อพื้นบ้าน |
th_TH |
dc.subject |
การสร้างอัตลักษณ์ |
th_TH |
dc.subject |
ศาลายา |
th_TH |
dc.title |
สื่อพื้นบ้านกับการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนศาลายา |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |