Abstract:
|
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างแบบจำลองโครงข่ายใยประสาทประดิษฐ์เพื่อทำนาย
ปริมาณค่าออกซิเจนในน้ำผิวดิน (DO): กรณีศึกษาคุณภาพน้ำคลองในเขตดุสิต โดยแบบจำลอง
โครงข่ายใยประสาทประดิษฐ์ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากข้อมูลที่ได้ถูกเก็บบันทึกมาจากสำนักงานการ
ระบายน้ำกรุงเทพมหานครระหว่างปี 2549-2551 โดยกำหนดให้พารามิเตอร์จำนวน 10 พารามิเตอร์
เป็นตัวแปรอิสระหรือข้อมูลนำเข้าเพื่อไปเรียนรู้ในแบบจำลองซึ่งประกอบไปด้วย ค่าความเป็นกรด-
ด่าง (pH) ปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้ในการสลายสารอินทรีย์ในน้ำ (BOD) ปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ใน
การย่อยสลายอินทรีย์ในน้ำ (COD) ปริมาณของแข็งในน้ำ (SS) ปริมาณไนโตรเจนที่มีอยู่ในน้ำเสีย
(TKN) ปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3N), ปริมาณไนไตร-ไนโตรเจน (NO2N), ปริมาณไนเตรท-
ไนโตรเจน (NO3N), ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด (T-P) and ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด
(total coliform) ในที่นี้อัลกอริทึมที่นำมาใช้ในการสร้างการเรียนรู้ในโครงข่ายใยประสาทประดิษฐ์
คือ Levenberg–Marquardt อัลกอริทึม พร้อมกับกำหนดตัววัดประสิทธิภาพและใช้ค่าสถิติในการ
ตรวจสอบค่าความคลาดเคลื่อนในการทดลองครั้งนี้ด้วย ซึ่งหลังจากที่ได้ทำการวิจัยแล้วจำนวนโหนด
ในชั้นซ่อนที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างแบบจำลองโครงข่ายใยประสาทประดิษฐ์เพื่อทำนายปริมาณค่า
ออกซิเจนในน้ำผิวดิน คือ จำนวน 16 โหนด และผลจากการทดสอบประสิทธิภาพและความเหมาะสม
ของแบบจำลองโครงข่ายใยประสาทประดิษฐ์เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้ถูกจัดเก็บมาในอดีต
แบบจำลองโครงข่ายใยประสาทประดิษฐ์สามารถทำนายปริมาณค่าออกซิเจนในอนาคตของพื้นที่ใน
เขตดุสิต กรุงเทพมหานครได้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ได้อยู่ในระดับสูง และมีค่าความ
คลาดเคลื่อนของข้อมูลที่ไม่มากนัก ซึ่งแบบจำลองที่ได้สามารถนำไปใช้เพื่อการวางแผนในการบำบัด
และรักษาคุณภาพน้ำได้ |