Title:
|
สภาวะสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเองในการเสริมสร้างสุขภาพ การดูแลตัวเองเมื่อเจ็บป่วยและแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุ |
Author:
|
สอนสนาม, วิภากร; นาคเรืองศรี, หทัยรัตน์
|
Abstract:
|
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเองในการเสริมสร้างสุขภาพ การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย และแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุ อาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้เป็นผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกของชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านสาลวัน ปี พ.ศ. 2556 รวมทั้งสิ้น 100 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และผ่านการตรวจสอบความตรงของโครงสร้างและเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจานวน 3 ท่าน ในส่วนของข้อคาถามเกี่ยวกับ การรับรู้ความสามารถตนเองในการเสริมสร้างสุขภาพ การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด มีค่าความเชื่อมั่นของ Reliability coefficients alpha .7403 รวบรวมด้านสุขภาพจิตด้วยแบบประเมินสุขภาพจิตของกรมสุขจิตกระทรวงสาธารณสุข โดยมี ปัญหาการวิจัย คือ สภาวะสุขภาพ การเสริมสร้างสุขภาพ การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย และแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุ อาเภอพุทธมณฑลจังหวัดนครปฐม เป็นอย่างไร มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุอาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถตนเองในการสร้างสร้างสุขภาพ และการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ อาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 3) เพื่อศึกษาแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถตนเองในการเสริมสร้างสุขภาพและการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย แต่มีข้อจากัดของการวิจัยเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีการเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงซึ่งเป็นผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลบ้านสาละวัน ตาบลศาลายา อาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ.2556 พบว่าผู้สูงอายุของอาเภอพุทธมณฑลส่วนใหญ่เป็น เพศหญิงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 61.0 มีอายุอยู่ในช่วง 60-65 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.0 รองลงมาเป็นช่วงอายุ 66-70 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.0 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสและคู่สมรสอยู่ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ 59.0 ส่วนใหญ่มีบุตรอาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกันจานวน 1 คน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.0 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รู้สึกว่าตนเองสุขภาพดี คิดเป็นร้อยละ 45.0 และส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจาตัว คิดเป็นร้อยละ 49.0 โดยมีโรคประจาตัวคือโรคความดันโลหิตสูง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.0 รองลงมาโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 24.0 ยังมองเห็นชัดเจนโดยไม่ต้องใส่แว่น หรือเลนส์ คิดเป็นร้อยละ 51.0 และยังได้ยินเสียงชัดเจนโดยไม่ใส่เครื่องช่วยฟัง คิดเป็นร้อยละ 83.0 ส่วนใหญ่มีฟันตั้งแต่ 20 ซี่ ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 62.0 นอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีปัญหาเรื่องการเคี้ยวเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 80 มีความสามารถ ในการช่วยเหลือตัวเองอยู่ในกลุ่มที่ 1 คือสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดี คิดเป็นร้อยละ 80.0 โดยส่วนใหญ่ มีการเดิน/ การทรงตัวเป็นปกติ ไม่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ร้อยละ 80.0 ส่วน 20 คน ไม่มีปัญหาการกลั้นอุจจาระไม่อยู่ คิดเป็นร้อยละ 94.0 ด้านสุขภาพจิตพบว่ามีผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังไม่มีปัญหาการนอนไม่หลับในเวลากลางคืน คิดเป็นร้อยละ 77.0 ไม่มี โรควิตกกังวล คิดเป็นร้อยละ 96.0 ไม่มีปัญหาภาวะโรคซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 96.0 แต่พบว่าส่วนใหญ่มีภาวะเครียดถึงร้อยละ 81.0 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ได้ทางานแล้วในปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 69.0 ส่วนใหญ่มีรายได้เพื่อการใช้จ่ายจากเงินบาเหน็จหรือบานาญ คิดเป็นร้อยละ 35.0 ลักษณะของที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นทาวน์เฮ้าส์ คิดเป็นร้อยละ 41.0 พื้นของบ้านที่อยู่อาศัยมีความเหมาะสม คือพื้นไม่ลื่น ร้อยละ 67 มีราวบันไดให้จับเกาะ ร้อยละ 57 ห้องนอนยังอยู่ชั้นบนของบ้าน ร้อยละ 91 มีห้องน้าอยู่ภายในบ้าน โดยส่วนใหญ่พื้นของห้องน้าไม่ลื่น คิดเป็นร้อยละ 87 แต่มีประตูห้องน้าเป็นแบบเปิดเข้าเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 66 มีเพียงร้อยละ 9 เท่านั้นที่เป็นแบบบานเลื่อน ส่วนใหญ่ร้อยละ 77 โถส้วมเป็นแบบนั่งห้อยขา ส่วนใหญ่ใช้น้าประปาต่อท่อเข้าบ้าน คิดเป็นร้อยละ 97.0 และส่วนใหญ่บริโภคน้าดื่มจากน้าดื่ม บรรจุขวด คิดเป็นร้อยละ 69.0 นอกจากนี้พบว่าผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถตนเองในการเสริมสร้างสุขภาพและการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ <0.05 โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้ความสามารถตนเองในการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 48.0 |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/214
|
Date:
|
2015-06-20 |