dc.contributor.author |
ศาสตร์รัตนมณี, สุพร |
|
dc.creator |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.date.accessioned |
2015-06-20T07:59:17Z |
|
dc.date.available |
2015-06-20T07:59:17Z |
|
dc.date.issued |
2015-06-20 |
|
dc.identifier.issn |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/267 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
งานวิจัยเรื่อง การปรับตัวของธุรกิจบ้านและเครื่องใช้กระดาษในพิธีกงเต็กของคนไทยเชื้อสายจีนมีวัตถุประสงค์ สามประการ คือ เพื่อสืบค้นในมิติวัฒนธรรม ความเชื่อ พิธีกรรมของคนไทยเชื้อสายจีนในปัจจุบัน เพื่อศึกษาสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจบ้านกระดาษ และเครื่องใช้ในพิธีกงเต๊กของคนไทยเชื้อสายจีน เพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวของการทาธุรกิจบ้านกระดาษ และเครื่องใช้ในพิธีกงเต๊กของคนไทยเชื้อสายจีน ในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ขอบเขตการวิจัย บริเวณเยาวราชและพื้นที่ใกล้เคียง และข้อมูลจากสมาคมตระกูล (แซ่) ต่างๆ บุคคล และกลุ่มบุคคลต่างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบ้านและเครื่องใช้กระดาษในพิธีกงเต็กบ้านซึ่งได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก ผู้ใช้สินค้า วิธีการและขั้นตอนในการดาเนินงานสาหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ ดังนี้คือ การศึกษาเอกสาร การกาหนดกรอบแนวคิด ที่สอดคล้องกับทฤษฎีที่ศึกษา การกาหนดแนวทางการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์จากบุคคลและกลุ่มบุคคลภายในชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับด้วยการตรวจสอบกับเอกสารและการสังเกตของผู้วิจัย การเขียนวิจัย ด้วยการเรียบเรียงเพื่ออธิบายสิ่งที่ศึกษาภาคสนามและการวิเคราะห์เอกสารประกอบด้วยการเขียนแบบบรรยาย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ชุดองค์ความรู้ที่เป็นองค์เนื้อหา และการปรับตัวของธุรกิจในการต่อสู้ในยุคของการแข่งขันทางการค้า เพื่อนาไปสู่การสร้างความเข้มแข็งในธุรกิจบ้านและเครื่องใช้กระดาษในพิธีกงเต๊ก ส่งเสริมธุรกิจบ้านและเครื่องใช้กระดาษให้สามารถไปสู่การแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง อนุรักษ์บ้านและเครื่องใช้กระดาษแบบดั้งเดิมที่ใช้ฝีมือแรงงานให้สามารถอยู่รอดได้ ในสภาวการณ์แข่งขันที่ต้องต่อสู้จากต่างประเทศ
สรุปผลการศึกษา จาแนกตามวัตถุประสงค์ พบว่า ประการแรก เพื่อสืบค้นในมิติวัฒนธรรม ความเชื่อ พิธีกรรมของคนไทยเชื้อสายจีนในปัจจุบัน มิติวัฒนธรรม ความเชื่อ และพิธีกรรมของตนไทยเชื้อสายจีนสัญลักษณ์หลักในพิธีกงเต๊กคือ ความกตัญญูของลูกหลานที่มีต่อผู้ตาย และความปรารถนาของลูกหลานที่จะทาให้ดวงวิญญาณของผู้ตายนั้นได้ไปอยู่อย่างสงบสุขในโลกหน้า และสัญลักษณ์รอง คือ ความหมายของขั้นตอนในพิธีกงเต๊ก ซึ่งยังรวมถึงเครื่องมือที่ทาให้พิธีกรรมบรรลุเป้าหมาย เช่น เครื่อง
กระดาษ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีกงเต๊กทั้งหมด ประการที่สอง เพื่อศึกษาสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจบ้านกระดาษ และเครื่องใช้ในพิธีกงเต๊กของคนไทยเชื้อสายจีน ร้านค้าส่งและค้าปลีกกระดาษสาหรับไหว้เจ้า เนื่องจากปัจจุบัน ธุรกิจประเภทนี้ซบเซาลงสาเหตุนั้น ความนิยมในการประกอบพิธีกงเต็กน้อยลง อีกสาเหตุหนึ่งคือ ปัจจุบัน จะมีผู้ไปแย่งหรือรับงานในทันทีทีศพไปถึงวัด คนเหล่านี้มีร้านค้าประจาที่เป็นเครือข่ายของเขาอยู่แล้ว เนื่องจากค่านิยมในการประกอบพิธีกงเต็กในงานศพค่อยๆเสื่อมบ้านและเครื่องใช้กระดาษจะขายดีเป็นเทศกาลๆไป ประการสุดท้าย เพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวของการทาธุรกิจบ้านกระดาษ และเครื่องใช้ในพิธีกงเต๊กของคนไทยเชื้อสายจีน ในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ด้วยความที่เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกมานับพันปี ทุกวันนี้ต่อให้มีการจัดพิธีกันน้อยลง แต่ก็มิถึงกับสูญหาย ธุรกิจนี้ไม่ได้ดารงอยู่อย่างโดดๆ แม้ธุรกิจนี้มีแนวโน้มแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากค่านิยมที่เปลี่ยนไป ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทาให้ผูซื้อต้องประหยัด ธุรกิจมีการปรับตัวโดย มี Organizer ที่รับทางานประเพณีนี้แบบครบวงจร แต่สินค้าส่วนใหญ่ที่ใช้นาเข้ามาจากประเทศจีน
จึงเป็นสิ่งที่น่าท้าทายสาหรับ การปรับตัวของธุรกิจบ้านและเครื่องใช้กระดาษในพิธีกงเต็กของคนไทยเชื้อสายจีน ที่ต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความต้องการที่แท้จริง ถึงพฤติกรรมการซื้อธุรกิจบ้านและเครื่องใช้กระดาษในพิธีกงเต็ก ของผู้ซื้อคนไทยเชื้อสายจีน |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2554; |
|
dc.source |
TH |
TH |
dc.subject |
การปรับตัวของธุรกิจบ้าน |
th_TH |
dc.subject |
เครื่องใช้กระดาษในพิธีกงเต็ก |
th_TH |
dc.subject |
คนไทยเชื้อ สายจีน |
th_TH |
dc.title |
การปรับตัวของธุรกิจบ้านและเครื่องใช้กระดาษในพิธีกงเต็กของคนไทยเชื้อ สายจีน |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |