dc.contributor.author |
ขันติกุล, ภูสิทธ์ |
|
dc.creator |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.date.accessioned |
2015-06-06T03:20:46Z |
|
dc.date.available |
2015-06-06T03:20:46Z |
|
dc.date.issued |
2015-06-06 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/30 |
|
dc.description |
งานวิจัยทุนงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง 3) เพื่อสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยมีเทคนิคเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น(Probability Sampling) คือ แบบแบ่งชั้น(Stratified random sampling) เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้อย่างครอบคลุมทุกแขวง ทุกชุมชน และแบบง่าย(Simple Random Sampling) สาหรับการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับประชาชน จานวน 400 คน และใช้เทคนิคเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น(Non-Probability Sampling) คือ แบบเจาะจง (Purposive Sampling) สาหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นาชุมชน 44 คน และทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) สถิติเชิงอนุมาน(Inductive Statistics) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา(Content analysis) ผลการศึกษาดังนี้ ประชาชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานครมีส่วนร่วมทางการเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับต่า ส่วนรายด้าน พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองเพียง 2 ระดับเท่านั้นได้แก่ ระดับปานกลาง และต่า ซึ่งรายด้านที่อยู่ระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง และด้านการสนทนาเรื่องการเมือง ส่วนรายด้านที่อยู่ระดับต่า ได้แก่ ด้านการชุมนุมทางการเมือง ด้านการติดต่อกับนักการเมือง และด้านการเข้าร่วมทากิจกรรมทางการเมืองกับพรรคการเมืองและกลุ่มทางการเมืองต่าง ๆ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และสถานภาพ ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ ได้แก่ อาชีพ การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม บทบาทหน้าที่ในครอบครัว และบทบาทหน้าที่ในชุมชน ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการเมือง ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง และการพัฒนาทางการเมือง ปัจจัยทางจิตวิทยาทางการเมือง ได้แก่ ความสนใจทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมือง และการกล่อมเกลาทางการเมือง ส่วนปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมีจานวน 4 ตัว เรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสนใจทางการเมือง การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง ค่านิยมพื้นฐานทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และสภาพแวดล้อมทางการเมือง ส่วนรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นลักษณะลาดับขั้นฐานเจดีย์ ซึ่งเปรียบได้ว่าการเป็นฐานเจดีย์นั้นทาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ก่อนส่วนอื่น ๆ มากที่สุดและเข้าถึงง่ายที่สุด โดยเปรียบให้เห็นว่ากิจกรรมทางการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดและเข้าถึงง่ายที่สุด นั่นจะเป็นฐานของการสร้างประชาธิปไตย ซึ่งกิจกรรมที่ประชาชนเข้าถึงมากที่สุด ได้แก่ รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยไปเลือกตั้งผู้แทนท้องถิ่น หรือ ส.ส. หรือ ส.ว. นั่นเอง ทั้งนี้ผลการวิจัยยังพบประเด็นที่น่าสนใจคือประชาชนพร้อมที่จะเลือกไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ เลย หากกิจกรรมทางการเมืองนั้นไม่ได้มีการบังคับโดยกฎหมาย |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language |
TH |
TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2553; |
|
dc.source |
งานวิจัยแหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553 |
TH |
dc.subject |
การมีส่วนร่วม |
th_TH |
dc.subject |
การเมือง |
th_TH |
dc.subject |
เขตดุสิต |
th_TH |
dc.title |
รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |