dc.contributor.author |
ปราณี, สุพัตรา |
|
dc.creator |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.date.accessioned |
2015-06-20T10:06:30Z |
|
dc.date.available |
2015-06-20T10:06:30Z |
|
dc.date.issued |
2015-06-20 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/315 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณภายในมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่อง กระบวนการพัฒนาสินค้าชุมชนสู่การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกรณีศึกษา: วิสาหกิจชุมชน อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาสินค้าชุมชนสู่การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนในปัจจุบัน 2) เพื่อกาหนดแนวทางการพัฒนาสินค้าชุมชนสู่การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสัมมนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เป็นเครื่องมือในการการสนทนาเพื่อเจาะประเด็น ด้วยการเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถ ร่วมสนทนากลุ่มเปิดโอกาสให้ข้อมูลและตอบประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การรับรองมาตรฐาน มผช. การประชุมระดมสมอง (Brainstorming) เป็นเครื่องมือในระดมสมอง เพื่อวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ ปัจจัยแห่งความสาเร็จ ในการขอรับรอง และกาหนดแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนไปสู่การขอรับรองมาตรฐาน มผช. ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ในการดาเนินการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าชุมชนสู่การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจาก จากสานักงานมาตรฐานลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้เชี่ยวชาญจาก กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สานักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้เชี่ยวชาญจาก องค์การบริหารส่วนตาบล และผู้แทนกลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชน ในตาบลจอมปลวก อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ผลจากการศึกษากระบวนการพัฒนาสินค้าชุมชนสู่การรับรองมาตรฐานในปัจจุบัน มีขั้นตอนในการดาเนินการหลักๆ ใน 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมเอกสาร 1) ขอรับแบบคาขอและข้อแนะนาในการกรอกคาขอ 2) พิจารณาขีดความสามารถและความพร้อมในการยื่นคาขอ
ขั้นตอนที่ 2 การรับคาขอ 1) สอบถามรายละเอียดข้อสงสัยกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 2) กรอกรายละเอียดในแบบคาขอ (มช.1) 3) แนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น สาเนาทะเบียนบ้าน สาเนาบัตรประจาตัวประชาชน สาเนาหนังสือรับรองกลุ่ม
ขั้นตอนที่ 3 นัดหมายตรวจสถานที่ผลิต 1) เตรียมความพร้อมสาหรับการตรวจสถานที่ผลิตและตัวอย่าง 2) รอรับการโทรนัดหมายและกาหนดผู้ประสานงานกับ สานักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมจังหวัด
ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่าง 1) จัดเตรียมตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 5 ส่งทดสอบที่หน่วยตรวจสอบ 1) เจ้าหน้าที่ สานักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมจังหวัดจัดส่งตัวอย่างให้หน่วยงานตรวจสอบ
ขั้นตอนที่ 6 ประเมินผลทดสอบ 1) รอรับแจ้งผลทดสอบ (กรณีผลไม่ผ่านให้ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และจะเก็บตัวอย่างส่งตรวจสอบเป็นครั้งที่ 2)
ขั้นตอนที่ 7 สรุปเสนอออกใบรับรอง 1) รอรับแจ้งรับใบรับรอง
ขั้นตอนที่ 8 รับใบรับรอง 1) เซ็นรับการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการออกใบรับรองผลการกาหนดแนวทางการพัฒนาสินค้าชุมชนสู่การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน นั้น จากการสนทนากลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญได้ร่วมกันเสนอความคิดเห็น แนวทางการพัฒนาสินค้าชุมชนสู่การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ได้ข้อสรุปใน 4 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 คุณสมบัติของผู้ยืนคาขอ คือ 1) ผู้ผลิตเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชนพื้นที่ทา 2) เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชนพื้นที่ที่ที่อยู่ในโครงการ OTOP 3) ผู้ผลิตเป็นกลุ่มสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร หรือกลุ่มอื่นๆตามกฎหมายวิสาหกิจชุมชน เช่นกลุ่มอาชีพ กลุ่มก้าวหน้า ซึ่งพบว่าในอาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม สมาชิกกลุ่มสวนใหญ่ เป็นผู้ผลิตเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในชุมชนพื้นที่ทาซึ่งพบว่า กลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนมีคุณสมบัติที่สามารถขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ ประเด็นที่ 2ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ให้การรับรอง มี 6 ประเภท ประกอบด้วย 1) อาหาร 2) เครื่องดื่ม 3) ผ้าและเครื่องแต่งกาย 4) ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก 5) เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง และ 6) สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา จากข้อมูลจากผู้นาชุมชน พบว่า สินค้าชุมชนของอาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามส่วนใหญ่ เป็นสินค้าประเภทอาหาร คิดเป็นร้อยละ 80 ได้แก่ น้าตาลมะพร้าว กล้วยเบรกแตก ท้องม้วน ข้าวเกรียบปลาทู เป็นต้นและเป็นสินค้าชุมชนประเภทอื่นๆ ได้แก่ สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา และของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก คิดเป็นร้อยละ 20 ซึ่งต้องขอรับรองตามเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร และของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกและสมุนไพรที่ไม่ใช้อาหารและยา ประเด็นที่ 3 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองคุณภาพ การตรวจสอบสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่างจากสถานที่ผลิตส่งหน่วยตรวจสอบ กรณี ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร เครื่องดื่มจะเพิ่มการตรวจประเมินสุขลักษณะสถานที่ผลิต ซึ่งสินค้าชุมชนประเภทอาหาร มีเงื่อนไข ต้องผ่านการรับรองสถานที่ผลิต ซึ่งพบว่า เป็นปัญหาของผู้ผลิตสินค้าชุมชน ตาบลจอมปลวก อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ที่พบคือสถานที่ผลิต ยังไม่ได้มาตรฐานตามข้อกาหนดด้านสุขลักษณะ จึงต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ผู้นาชุมชน สาธารณสุขจังหวัด อุตสหกรรมจังหวัด และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเข้ามาร่วมจัดโครงการบริการวิชาการสร้างความรู้ ความเข้าใจและแนวทางในการจัดการสถานที่ผลิต และต้องมีงบประมาณในการจัดการสถานที่ผลิต ทาให้ต้องใช้เวลาในการเตรียมสถานที่ให้ได้ตามมาตรฐานตามข้อกาหนด จึงจะสามารถขอรับการรับรองได้ ประเด็นที่ 4 อายุการรับรอง ใบรับรองผลิตภัณฑ์มีอายุ 3 ปี นับแต่วันที่ระบุในใบรับรอง การต่ออายุใบรับรอง หรือการออกใบรับรองฉบับใหม่จะทาเมื่อใบรับรองฉบับเก่าหมดอายุ พบว่า สินค้าชุมชนในอาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ได้เริ่มขอรับรองในปี พ.ศ. 2554 และจะหมดอายุการรับรองในปี พ.ศ. 2556 สินค้าชุมชนประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม ต้องเพิ่มการตรวจประเมินสุขลักษณะสถานที่ผลิต จึงจะขอต่ออายุใบรับรองได้ ส่วนสินค้าประเภทอื่นสามารถขอต่ออายุการรับรองได้ตามปกติ โดยสถานที่ดาเนินการขอรับรองและต่ออายุ คือ สานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language |
TH |
|
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2556; |
|
dc.source |
งานวิจัยแหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2556 |
|
dc.subject |
กระบวนการพัฒนาสินค้าชุมชน |
th_TH |
dc.subject |
การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน |
th_TH |
dc.subject |
วิสาหกิจชุมชน อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม |
th_TH |
dc.title |
กระบวนการพัฒนาสินค้าชุมชนสู่การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา: วิสาหกิจชุมชน อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |