คุณสมบัติถ่านไม้โกงกางกับสมรรถนะการออกแบบผลิตภัณฑ์

DSpace/Manakin Repository

คุณสมบัติถ่านไม้โกงกางกับสมรรถนะการออกแบบผลิตภัณฑ์

Show full item record

Title: คุณสมบัติถ่านไม้โกงกางกับสมรรถนะการออกแบบผลิตภัณฑ์
Author: ไพรวันรัตน์, ธนัฐพงศ์
Abstract: การศึกษาเรื่องคุณสมบัติถ่านไม้โกงกางกับสมรรถนะการการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา คุณสมบัติของถ่านไม้โกงกางเพื่อนำมาพัฒนาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเน้นที่การศึกษาคุณสมบัติของถ่านไม้โกงกางเป็นหลัก โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่กระบวนการปลูกไม้โกงกางเพื่อนำมาผลิตถ่าน การเตรียมไม้โกงกางก่อนนำไปเผาถ่าน และกระบวนการเผาถ่านไม้โกงกาง จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการศึกษาคุณสมบัติถ่านไม้โกงกาง ในมิติต่างๆ ด้านการนำไฟฟ้า การดูดสีและดูดกลิ่นในน้ำของถ่านไม้โกงกาง การดูดซับกลิ่นและก๊าซในอากาศของถ่านไม้โกงกาง หลังจากนั้นผู้วิจัยก็ได้ดึงคุณสมบัติของถ่านไม้มาออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยการศึกษาแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อนำมาออกแบบผลิตภัณฑ์จากถ่านไม้โกงกาง และนำไปสอบถามถึงความพึงพอใจกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวโน้มความเป็นไปได้ในการผลิต แนวโน้มในการเพิ่มยอดขายต่อไป กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการผลิตถ่านไม้โกงกาง บ้านยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 5 คน ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า 1. ถ่านไม้โกงกางเป็นคาร์บอนที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้า แต่อาจเป็นได้ว่าการเรียงตัวของโมเลกุลของคาร์บอนของถ่านไม้โกงกางนั้นเป็นคาร์บอนจากธรรมชาติฉะนั้นอาจจะเป็นการเรียงตัวของคาร์บอนที่ไม่เป็นระเบียบจึงอาจจะทำให้การไหลผ่านของไฟฟ้านั้นไม่ลื่นไหล 2. ถ่านไม้โกงกางมีผลต่อการดูดสีดูดกลิ่นของน้ำและการดูดสิ่งสกปรกของน้ำ และปริมาณของถ่านนั้นมีผมต่อการดูดสีดูดกลิ่นของน้ำและการดูดสิ่งสกปรกของน้ำ 3. ถ่านไม้โกงกางมีคุณสมบัติในการดูดกลิ่นและก๊าซ ซึ่งมีส่วนช่วยในการยืดอายุของผลไม้ให้เน่าเสียช้าลงได้ เพราะผลไม้จะปล่อยก๊าซเอทิลีน ซึ่งเป็นฮอร์โมนของพืชที่ควบคุมกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาต่างๆของผลไม้ แต่ตัวถ่านไม้โกงกางจะมีการดูดซับก๊าซเอทิลีนที่ปล่อยออกมาจากตัวผลไม้ จึงทำให้กระบวนการเน่าเสียของผลไม้เกิดขึ้นช้าลง 4. ผลิตภัณฑ์จากถ่านไม้โกงกาง (ถาดใส่ผลไม้จากถ่านไม้โกงกาง) ที่ออกแบบมานั้นมีคุณสมบัติที่น่าสนใจ อยู่ในระดับน่าสนใจมากที่สุด ความสวยงามของผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ในระดับกลาง การผลิตร่วมกับกระบวนการได้มาก และมีแนวโน้มในการเพิ่มยอดขายได้มากที่สุด
Description: งานวิจัยงบประมาณภายในมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/322
Date: 2015-06-20


Files in this item

Files Size Format View Description
ird_261_56.pdf 468.8Kb PDF View/Open ปก
ird_261_56 (1).pdf 335.8Kb PDF View/Open บทคัดย่อ
ird_261_56 (2).pdf 264.4Kb PDF View/Open Abstract
ird_261_56 (3).pdf 401.8Kb PDF View/Open กิตติกรรมประกาศ
ird_261_56 (4).pdf 576.2Kb PDF View/Open สารบัญ
ird_261_56 (5).pdf 386.3Kb PDF View/Open บทที่1
ird_261_56 (6).pdf 2.172Mb PDF View/Open บทที่2
ird_261_56 (7).pdf 355.5Kb PDF View/Open บทที่3
ird_261_56 (8).pdf 1.883Mb PDF View/Open บทที่4
ird_261_56 (9).pdf 597.8Kb PDF View/Open บทที่5
ird_261_56 (10).pdf 337.8Kb PDF View/Open บรรณานุกรม
ird_261_56 (11).pdf 395.1Kb PDF View/Open ภาคผนวก
ird_261_56 (12).pdf 325.0Kb PDF View/Open ประวัตินักวิจัย

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account