ระดับ high sensitive C-reactive protein (hs-CRP) และไขมันในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก

DSpace/Manakin Repository

ระดับ high sensitive C-reactive protein (hs-CRP) และไขมันในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก

Show full item record

Title: ระดับ high sensitive C-reactive protein (hs-CRP) และไขมันในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก
Author: สุดเจริญ, ยุทธนา
Abstract: บทนา:โรคหลอดเลือดตีบเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง และมีอาการแทรกซ้อนมากมายซึ่งยังคงเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกของประเทศที่พัฒนาแล้ว และพฤติกรรมของประชากรไทยมีแนวโน้มเลียนแบบชาติตะวันตกโดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภค ดังนั้นการป้องกันและการรักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น การสูบบุหรี่ความดันโลหิตสูงภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเบาหวาน และโรคอ้วน อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงที่นิยมใช้ เช่น การตรวจไขมันในเลือด อาจให้ผลปกติโดยเฉพาะในรายที่ไม่มีอาการhigh-sensitive C-reactive protein (hs-CRP) เป็นสารชีวเคมีที่บ่งชี้ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยเกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ วัตถุประสงค์:1) เพื่อเปรียบเทียบระดับ hs-CRP ระหว่างตรวจคัดกรองกลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีและที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในระยะเริ่มแรก 2)เพื่อเปรียบเทียบระดับ hs-CRPร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกาย และไขมันในเลือด วัสดุและวิธีการ:กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพดีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรกจานวน 40 ราย และกลุ่มที่มีความดันปกติ จานวน 40 ราย โดยมีช่วงอายุ และจานวนเพศใกล้เคียงกัน เก็บตัวอย่างเลือดหลังอดอาหาร 12 ชั่วโมง จากนั้นเตรียมซีรั่มเพื่อวิเคราะห์ระดับhs-CRP และระดับไขมันในเลือดด้วยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ COBAS INTEGRA® 400 plus(Roche-diagnostics, Switzerland) เก็บข้อมูลของอาสาสมัคร เช่น อายุ และดัชนีมวลกาย ผลการศึกษาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ unpaired t test และการทานายความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรกของ hs-CRP และระดับไขมันในเลือด คานวณจาก relative risk และ odd ratio (95% CI) ผลการศึกษา:อายุ ดัชนีมวลกาย โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรต์ เอชดีแอล โคเลสเตอรอล แอลดีแอล โคเลสเตอรอล และ hs-CRP ระหว่างกลุ่มอาสาสมัครที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรกและกลุ่มอาสมัครที่มีความดันปกติ มีความแตกต่างกันอย่างนัยสาคัญทางสถิติ (P<000.1) อย่างไรก็ตามดัชนีมวลกาย และระดับไขมันในเลือด (mean ± SD) ของอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นระดับ hs-CRP ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรกเท่านั้นที่มีค่าสูงขึ้น (6.27±7.8 mg/l) เมื่อเทียบกับกลุ่มคนปกติ (0.43±0.26) การนานายความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรกโดยใช้ระดับ hs-CRP มีค่า relative risk เท่ากับ 6.3 และค่า odd ratio เท่ากับ 15.48 ส่วนระดับไขมันในเลือด มีค่าrelative risk เพียง 1.28 และค่า odd ratio เท่ากับ 1.67 เท่านั้น สรุป:การศึกษาครั้งนี้ได้มีข้อเสนอแนะว่าการตรวจระดับ hs-CRP ในเลือดสามารถใช้ทานายความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ในขณะที่ระดับไขมันในเลือดยังปกติ โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่มีอาการเด่นชัด
Description: งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/512
Date: 2018-09-19


Files in this item

Files Size Format View Description
0_ปก.pdf 321.6Kb PDF View/Open ปก
1_บทคัดย่อ.pdf 359.6Kb PDF View/Open บทคัดย่อ
2_Abstract.pdf 315.5Kb PDF View/Open บทคัดย่อ Eng
3_คำนำ,สารบัญ.pdf 332.8Kb PDF View/Open สารบัญ
4_บทที่ 1.pdf 398.0Kb PDF View/Open บทที่1
5_บทที่ 2.pdf 667.2Kb PDF View/Open บทที่2
6_บทที่ 3.pdf 423.5Kb PDF View/Open บทที่3
7_บทที่ 4.pdf 386.7Kb PDF View/Open บทที่4
8_บทที่ 5.pdf 370.7Kb PDF View/Open บทที่5
9_บรรณานุกรม.pdf 388.3Kb PDF View/Open บรรณานุกรม
10_ภาคผนวก.pdf 3.008Mb PDF View/Open ภาคผนนวก
11_ประวัตินักวิจัย.pdf 480.6Kb PDF View/Open ประวัติ

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account