การสร้างแบบจำลองการเกิดเพลิงไหม้และอพยพผู้สูงอายุ ด้วยโปรแกรมพลศาสตร์อัคคีภัย

DSpace/Manakin Repository

การสร้างแบบจำลองการเกิดเพลิงไหม้และอพยพผู้สูงอายุ ด้วยโปรแกรมพลศาสตร์อัคคีภัย

Show full item record

Title: การสร้างแบบจำลองการเกิดเพลิงไหม้และอพยพผู้สูงอายุ ด้วยโปรแกรมพลศาสตร์อัคคีภัย
Author: แฝงจันดา, นางสาวรุจิพรรณ; เกตุสาคร, นายอารุญ; กรอบมุข, นางสาวดวงกมล
Abstract: อัคคีภัยเป็นเหตุของการเสียชีวิต บาดเจ็บ และทรัพย์สินเสียหาย ในอดีตโรงเรียน วัด หน่วยงานราชการเกิดอัคคีภัยบ่อยครั้ง จำนวนสถิติการเกิดอัคคีภัยระหว่างปี 2532 – 2554 มีจำนวนการเกิดอัคคีภัย 3,479 ครั้ง (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) นอกจากนั้น การเกิดอัคคีภัยจะทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตจำนวนมากเมื่อมีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาสถานการณ์เพลิงไหม้และการอพยพหนีไฟที่อาคารบริการบ้านพักคนชราโดยใช้โปรแกรมสร้างภาพจำลองเสมือนจริงด้านพลศาสตร์อัคคีภัยและการจำลองการอพยพ (Fire Dynamics Simulation with Evacuation; FDS+Evac) เป็นการศึกษาพฤติกรรมการอพยพและคาดการณ์เวลาอพยพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดความกว้าง 6 เมตร ยาว 58.9 เมตร มีความสูงชั้นละ 3.15 เมตร จำนวน 2 ชั้น มีบันไดขึ้น-ลงอยู่ด้านข้างทั้ง 2 ด้านของอาคาร อาคารที่ใช้เป็นอาคารบริการผู้ของผู้สูงอายุ โดยชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 เป็นห้องพัก มีห้องพักชั้นละ 6 ห้อง มีพื้นที่ในแต่ละห้อง 52.5 ตารางเมตร รวมพื้นที่ใช้สอยต่อชั้นเท่ากับ 459.42 ตารางเมตร รวมชั้น 2 มีพื้นที่เท่ากับ 918.84 ตารางเมตร ในการจำลองนี้ได้สร้างโมเดลตามสภาพจริงของอาคารมีผู้อพยพในอาคารทั้งหมด 48 คน มีทางออกจำนวน 2 ทาง ผลที่ได้จากการจำลองดำเนินการเปรียบเทียบกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องอพยพออกจากอาคารไปยังพื้นที่ปลอดภัยภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที โดยผู้สูงอายุใช้เวลาในการอพยพทั้งสิ้น 300 วินาที ซึ่งอยู่ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
Description: งานวิจัยงบประมาณมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/552
Date: 2018-09-20


Files in this item

Files Size Format View Description
Research 2015.pdf 2.114Mb PDF View/Open รวมงานวิจัย

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account