Title:
|
การศึกษาแนวทางในการนาพลังงานลมและพลังแสงอาทิตย์ มาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าของศูนย์การศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Author:
|
เลิศลพ, ดร.วิชาญ
|
Abstract:
|
การวิจัยครั้งนี้ต้องการศึกษาแนวทางในการนาพลังงานลมและพลังแสงอาทิตย์มาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าของศูนย์การศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยจุดประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สถานภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน เพื่อสังเกตทิศทาง อัตราเร็วลมในศูนย์การศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อสังเกตความเข้มแสง ระยะเวลาที่มีแสงในศูนย์การศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อระดมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แหล่งข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกันประกอบด้วย สภาพความเร็วลม ความเข้มแสง ในศูนย์การศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ข้อมูลการระดมสมองเพื่อวิพากษ์เกี่ยวกับการใช้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผู้วิจัยคัดเลือกมาจานวน 3 ท่าน ข้อสรุปการประเมินประเมินผลทีได้จากการศึกษาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจนาพลังงานลมและพลังแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผู้วิจัยคัดเลือกมาจานวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้อมูลค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าในศูนย์การศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา การสังเกตทิศทางความเร็วลม ความเข้มและช่วงเวลาเกิดแสง การระดมสมองและ แบบประเมินผลทีได้จากการศึกษาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจนาพลังงานลมและพลังแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์
ผลการวิจัยพบว่า
1.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 194,227.63 บาท
2.สารวจพื้นที่เพื่อสังเกตทิศทางลม ความเข้มแสงความเร็วลมนั้นมีค่าไม่มากและความเร็วลมไม่มีความต่อเนื่อง ลมในที่สูงที่ระดับความสูง ระดับความสูง 90 เมตรของจังหวัดสมุทรสงครามจะมีความเร็วประมาณ 5-7 เมตร/วินาที ที่ระดับ40 เมตรเขตภาคกลางจะมีค่าประมาณ 3.32 เมตร/วินาที ยิ่งที่ระดับต่าๆความเร็วลมมีค่าน้อยมากวัดความเร็วของลมเพื่อออกแบบขนาดของกังหันความเร็วลมน้อยมากจึงควรสร้างและใช้กังหันลมขนาดเล็กในการผลิตไฟส่งสร้าง โดยที่ไม่อาจทดแทนพลังงานไฟฟ้ากระแสหลักเพื่อสังเกตควา
ข
มาเข้มแสงและระยะเวลาที่มีแสงความเข้มแสงพบว่าแสงในพื้นที่มีความเข้มแสงมาก ระยะเวลาที่มีแสงยาวนาน
3.ให้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพลังงานมาระดมสมองวิพากษ์เกี่ยวกับกังหันและแผงโซลาร์เซล อุปการณ์เก็บพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งค่าใช้จ่าย ผู้เชี่ยวงชาญ มีความคิดเห็นว่า ความเร็วลมมีค่าน้อยเกินไป ไม่คุ้มค่าในการลงทุน ส่วนแผงโซล่าร์เซลนั้นก็ควรมีการนามาใช้ และควรอยู่บริเวณหลังคาอาการมากกว่า
เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างเงินที่จ่ายให้กับการไฟฟ้ากับค่าใช้จ่ายในการผลิต คานวณจุดคุ้มทุนและผลระยะยาวจุดคุ้มทุนอาจต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร เพราะแผงโซล่ารเซลมีราคาค่อนข้างแพง แต่ก็คุ้มค่าผลในระยะยาว
4.สรุปผลทีได้จากการศึกษาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจสร้างเพื่อค้นหาแนวทางการผลิตไฟฟ้าร่วม โดยใช้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ โดยกังหัน พลังงานลม ไม่ควรสร้างกังหันลมขนาดใหญ่เพราะต้นทุนสูง ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ส่วนแผงโซล่าร์เซล ควรสร้างแผงโซล่าร์เซล แม้ต้นทุนอาจจะสูงแต่ก็คุ้มค่าในระยะยาว |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/618
|
Date:
|
2018-09-24 |