dc.contributor.author |
แสงฉาย, สัคพัศ |
|
dc.date.accessioned |
2018-09-24T07:25:56Z |
|
dc.date.available |
2018-09-24T07:25:56Z |
|
dc.date.issued |
2018-09-24 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/621 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การศึกษาการพัฒนาเสรีการค้าบริการ ชายแดนไทย-พม่า เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา ด่านศุลกากรระนอง เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ การขยายความเชื่อมโยงทางการเปิดเสรีการค้าบริการ ชายแดนไทย-พม่า ภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงของประเทศภูมิภาคอาเซียน ข้อตกลงการค้าชายแดนและส่งเสริมสภาพการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวพื้นที่ชายแดน ทั้งการค้าบริการแบบข้ามพรมแดน การบริโภคบริการในต่างประเทศ การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ และการเคลื่อนย้ายบุคลากร รวมถึงการเปิดให้บุคลากรอาเซียนเข้ามาทางาน โดยศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สาหรับการศึกษาเชิงปริมาณ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาเสรีค้าบริการ การค้าชายแดนไทย-พม่า ณ ด่านศุลกากรระนอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีจานวน 399 คน ใช้สูตรคานวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ยอมรับความผิดพลาดได้ที่ 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีระดับความคิดเห็นการพัฒนาการค้าชายแดน โดยรวม อยู่ในระดับมาก (
X
=3.74) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการให้บริการข้ามแดน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( X = 3.87) รองลงมา คือ ด้านการบริโภคบริการในต่างประเทศ ( X = 3.80) ด้านการจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ ( X =3.69) และด้านการเคลื่อนย้ายบุคลากร ( X =3.59) ตามลาดับ ซึ่งทั้ง 4 ด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
สาหรับการศึกษาในเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม ผู้บริหารด่านศุลกากรระนอง ผู้ประกอบการ ผู้นาชุมชน และการเปิดเวทีประชาคมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดระนอง ผลการศึกษาพบว่า 1) การให้บริการ ข้ามพรมแดน ควรมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมการขนส่งทางบก ทางเรือเพื่อรองรับการขยายเศรษฐกิจการค้าข้ามพรมแดนเพิ่มขึ้น 2) การบริโภคบริการในต่างประเทศ ควรขยายการค้าบริการกับพม่า อินเดียเพิ่มขึ้นเพื่อเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการ การค้าจากต่างประเทศมายังประเทศไทย 3) การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ มีการพัฒนาความร่วมมือการขนส่งกระจายสินค้าทางทะเลฝั่งอันดามันของไทย ร่วมกับ กลุ่มประเทศ BIMSTEC ประกอบด้วย บังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย เมียนมา เนปาล ภูฏานและไทย และ 4) การเคลื่อนย้ายบุคลากร การแลกเปลี่ยนบุคลากร รวมถึงแรงงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพการทางานร่วมกัน สาหรับการพัฒนาศักยภาพการค้าชายแดนเพื่อให้มีความได้เปรียบเชิงการแข่งขันนั้น ต้องมีการขับเคลื่อนระนองเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เน้นอุตสาหกรรมยางพารา ปาล์มและอุตสาหกรรมประมง เป็นตลาดการกระจายสินค้าสู่อินเดีย ย่างกุ้ง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่และท่าเรือระนอง เพื่อเชื่อมโยงการค้าผ่านทางเรือไปยังประเทศในอาเซียน ภูมิภาคเบงกอล แหลมมาลายู ตะวันออกกลาง และยุโรป อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีการค้าขายระหว่างประเทศกันมากขึ้น มีการไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ภาษาและวัฒนธรรมระหว่างประเทศในภูมิภาคและมีศักยภาพในการแข่งขันกับโลกภายนอก |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี2559; |
|
dc.title |
การพัฒนาเสรีการค้าบริการ ชายแดนไทย-พม่า เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา ด่านศุลกากรระนอง |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |