dc.contributor.author |
สุทธใจดี, วรรณี |
|
dc.date.accessioned |
2018-10-01T08:20:10Z |
|
dc.date.available |
2018-10-01T08:20:10Z |
|
dc.date.issued |
2018-10-01 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/742 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตชมพู่ทับทิมจันท์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อการส่งออก โดยให้ความสาคัญด้านข้อมูลสภาพแวดล้อมและบริบทของชมพู่ทับทิมจันท์ ใช้พื้นที่ของจังหวัดราชบุรีเป็นกลุ่มตัวอย่างเนื่องจากจังหวัดราชบุรีมีพื้นที่ในการปลูกชมพู่ทับทิมจันท์เพื่อการส่งออก เพื่อนาเสนอข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของชมพู่ทับทิมจันท์ให้สามารถส่งออกได้มากขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาข้อมูล สังเกตุและสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการขยายผลการใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานเพื่อควบคุมแมลงวันผลไม้ในชมพู่จังหวัดราชบุรีที่ได้รับการอนุมัติ ปี 2558 – 2559 จานวน 68 ราย แบบFocus group มุ่งเน้นไปที่การศึกษากิจกรรมด้านกระบวนการโลจิสติกส์ตั้งแต่ ต้นน้า (Raw Meterials) ซึ่งจะเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการปลูกชมพู่ทับทิมจันท์ กลางน้า (Process) กระบวนการในการผลิตชมพู่ทับทิมจันท์ตั้งแต่ดูแลให้เกิดผลผลิตไปถึง ปลายน้า (Finish Goods) คือผลิตผลของชมพู่ทับทิมจันท์ นาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วย Content Analysis ทาการสังเคราะห์และบูรณาการในการศึกษาเข้าด้วยกัน
ผลการศึกษาพบว่า
กลุ่มเกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 72.06 และเพศหญิง ร้อยละ 27.94 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทาสวนชมพู่ทับทิมจันท์ 6-10 ปี ร้อยละ 66.18 รองลงมามีประสบการณ์ 1-5 ปี ร้อยละ 19.12 มีพื้นที่ในการปลูกชมพู่ทับทิมจันท์ 6-10 ไร่ ร้อยละ 42.65 ผลผลิตของชมพู่ทับทิมจันท์โดยเฉลี่ยต่อปี 4-6 ตัน ร้อยละ 55.88 มีรายได้จากชมพู่ทับทิมจันท์เฉลี่ยต่อปี 500,001-700,000 บาท ร้อยละ 47.06 รองลงมามีรายได้เฉลี่ยต่อปี 700,001 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 22.06
ต้นน้า (Raw Meterials) หมายถึงเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการปลูกชมพู่ทับทิมจันท์ได้แก่ พันธุ์ ดิน ปุ๋ยและน้า พันธุ์ ชมพู่ทับทิมจันท์เป็นพันธุ์ที่มีต้นกาเนิดมาจากประเทศอินโดนีเซีย การขยายพันธุ์ส่วนมากจะใช้วิธีการตอนกิ่ง ดิน ชมพู่ทับทิมจันท์สามารถปลูกได้กับดินทุกสภาพ การปลูกแบบยกร่องจะช่วยให้การดูแลชมพู่ได้ดี การปรับสภาพดินด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักเพื่อให้ดินร่วนซุย มีการบารุงดินเป็นระยะโดยให้ปุ๋ยตามสภาพของต้นชมพู่ในแต่ละช่วง ปุ๋ย การให้ปุ๋ยต้องปฏิบัติตามข้อกาหนด GAP และ IMP จะให้ตามสภาพของชมพู่ในแต่ละช่วงเช่น ช่วงตัดแต่งกิ่ง ช่วงแตกใบอ่อน ช่วงติดดอกและช่วงห่อผลก่อนเก็บผลผลิต น้า ชมพู่ทับทิมจันท์เป็นผลไม้ที่ต้องให้น้าตามสภาพของต้นชมพู่ สวนชมพู่ในจังหวัดราชบุรีจะปลูกแบบยกร่อง จึงไม่มีปัญหาเรื่องน้าในการบารุงต้นชมพู่ระยะเริ่มปลูกควรให้น้าวันละครั้ง ระยะก่อนติดผล ควรให้น้า 5-7 วันต่อครั้ง ระยะติดผลควรให้น้า 2-3 วันต่อครั้ง ถ้าดินเก็บ
(2)
ความชื้นไม่ดีควรให้ทุกวันหรือวันเว้นวัน ควรให้น้าเต็มแอ่งรอบต้น และควรงดน้าก่อนเก็บผลประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้ชมพู่มีความหวานขึ้น กลางน้า (Process) หมายถึงกระบวนการในการผลิตชมพู่ทับทิมจันท์ ตั้งแต่การปลูก การปลูกแบบยกร่อง ขนาดกว้างประมาณ 6 เมตร ร่องกว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1.5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 4 - 5 เมตร โดยใช้กิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ ดูแลปกติเหมือนชมพู่สายพันธุ์อื่น อายุ 1.5 – 2 ปี ก็จะเริ่มให้ผลผลิต การให้ผลผลิตของชมพู่ตามธรรมชาติชมพู่จะติดออกผลตลอดปีใช้เวลารอบละ 90 วัน โดยมีช่วงระยะตั้งแต่ออกดอกไปจนถึงห่อผล 60 วัน และจากห่อจนถึงเก็บ 30 วัน ชมพู่จะให้ผลผลิตช่วงในฤดูปกติแบ่งเป็น 3 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 เดือนธันวาคม – มกราคม รุ่นที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม และรุ่นที่ 3 เดือนเมษายน – พฤษภาคม กระบวนการผลิตจะต้องดูแลการให้น้า 2-3 วันต่อครั้ง บารุงต้นในช่วงที่ชมพู่จะต้องสะสมอาหารโดยการใส่ปุ๋ย 15-5-20 สลับกับ 12-12-17 ซึ่งจะทาให้ชมพู่ออกดอกติดผล ปริมาณปุ๋ยที่ให้จะสังเกตดอกเป็นหลักหากไม่มีดอกจะใช้อัตรา 2 ขีดต่อต้น แต่ถ้ามีดอกจะใส่ 4.5-5 ขีดต่อต้น ใส่ปุ๋ยทุก 7 วัน การตัดแต่งกิ่งจะตัดปลายกิ่งที่มีสีน้าตาลออก หลังตัดแต่งกิ่งสัก 10 กว่าวัน ชมพู่ก็จะออกดอกชมพู่ที่มีการใส่ปุ๋ยบารุงอยู่ตลอดจะทาให้ต้นสมบูรณ์พร้อมที่จะออกดอกในช่วงที่ต้องการได้ การบารุงทางใบจะใช้ปุ๋ยสูตร 7-12-40+สังกะสี พ่นเป็นครั้งคราว แคลเซียม-โบรอน พ่นให้อย่างต่อเนื่องทุก 7 วันพร้อมกับการพ่นสารเคมีกาจัดเชื้อโรคด้วยแอนทราโคล ไดเทนเอ็ม ส่วนสารฆ่าแมลงก็จะมีมาลาไทธอน คลอร์ไพรีฟอส พ่นสลับกัน การทาให้ชมพู่ให้ผลผลิตนอกฤดูอยู่ที่การควบคุมการแตกใบอ่อนให้ได้ เพราะถ้าต้นแตกยอดอ่อนจะทาให้สลัดลูกทิ้ง ต้องเด็ดยอดทิ้ง ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 หรือ 15-15-15 สร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 หรือ 8-24-24 บารุงผล ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ16-16-16 ปรับปรุงคุณภาพผลผลิต ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 การให้น้า ระยะก่อนติดผล ควรให้น้า 5-7 วันต่อครั้ง โดยให้จนดินมีความชุ่มชื้นเต็มที่ ระยะติดผลควรให้น้า 2-3 วันต่อครั้ง และควรงดน้าก่อนเก็บผลประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้ชมพู่มีความหวานขึ้น ชมพู่จะขายได้ดีในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน การเตรียมให้ผลผลิตได้คุณภาพตามช่วงที่เกิดความต้องการสูงจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – เมษายน การห่อ หลังจากออกดอกแล้วประมาณ 2 เดือน ก็สามารถห่อผลได้โดยเลือกผลที่สมบูรณ์ไว้ช่อละ 3-4 ผล ผลที่เลือกไว้เป็นผลหรือช่อที่ขั้วชี้ลงด้านล่าง และควรเป็นช่อดอกที่ออกบริเวณกิ่ง ไม่ควรเอาช่อที่ออกบริเวณปลายกิ่งเพราะจะทาให้ได้ผลที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากการลาเลียงอาหารส่งไปได้น้อยกว่าช่อดอกที่ออกบริเวณกิ่ง ห่อด้วยถุงพลาสติกของกรมวิชาการเกษตรซึ่งเป็นถุงมาตรฐานที่สามารถป้องกันการเจาะผลชมพู่ของแมลงศัตรูพืช การจัดการศัตรูพืช ศัตรูพืชที่สาคัญเป็นศัตรูพืชกักกันมีอยู่ 5 ชนิดคือ แมลงวันผลไม้สามชนิดมีชื่อทางทยาศาสตร์คือ(1) Bactrocera dorsalis (Hendel) (2) B.correcta (Bezzi) (3) B.carambolae Drew & hancock โดยชาวสวนจะเรียกว่า แมลงวันทอง แมลงวันฮอก และแมลงวันฝรั่ง โดยแมลงวันทั้งสามชนิดนี้ตัวหนอนจะเจาะกินผลชมพู่ตั้งแต่เริ่มติดผลทาให้ผลชมพู่ร่วงและเน่า และหากเจาะเข้าไปวางไข่ในชมพู่ได้จะเจริญเติบโตภายในระยะเวลา 7 วัน การป้องกันใช้เหยื่อพิษโปรตีนอัตราเหยื่อโปรตีน 200 มิลลิลิตร ผสมสารฆ่าแมลง 40 มิลลิลิตร ผสมน้า 5 ลิตร ฉีดพ่นในเวลาเย็นทุก 7 วัน การฉีดพ่นต้นเว้นต้น ต้นละ 4 จุด ซึ่งสามารถป้องกันกาจัดแมลงวันผลไม้ได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ต้องดูแลรักษาแปลงปลูกให้สะอาดเพื่อตัดวงจรชีวิตและกาจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันผลไม้และแขวนกับดักเมทธิลยูจินอลสารล่อแมลงวันผลไม้เพศผู้ ทุกหัวแปลง เพื่อกาจัดตัวเต็มวัยเพศผู้ตัดโอกาสไม่ให้เพศ
(3)
ผู้เข้าไปผสมพันธุ์กับเพศเมียและการห่อด้วยถุงพลาสติกที่มีความหนาได้มาตรฐานป้องกันการเจาะของแมลงวันผลไม้ (4) เพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้าเลี้ยงจากใบอ่อน ยอดอ่อน และช่อดอก ตลอดจนผลอ่อนของชมพู่ ทาให้ใบไหม้หงิกงอเสียรูปทรง ทาให้ดอกร่วงไม่ติดผล ผลอ่อนร่วงและเสียรูปทรงการป้องกันจะพ่นด้วยสารกาจัดแมลงไซฮาโลทริน แอล 2.5%EC. ในอัตรา 10 ซีซีต่อน้า 20 ลิตร หรือฟอร์เมทธาเนท 25% SP. อัตราส่วน 30 กรัมต่อน้า 20 ลิตร (5) หนอนแดง ตัวหนอนเจาะกินผลชมพู่ทาให้ร่วงก่อนที่จะเก็บเกี่ยวได้ เมื่อตัวหนอนกัดกินเนื้อภายในผลแล้วจะขับถ่ายไว้เป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ ทาให้สกปรกและผลเน่าได้ ตัวหนอนโตเต็มที่จะมีสีแดง เข้าดักแด้ในดิน จะเข้าทาลายตั้งแต่ชมพู่ยังเป็นดอกตูมๆ อยู่ การป้องกันฉีดพ่นด้วยสารกาจัดแมลงเมธามิโดฟอส 60%SL. อัตราส่วน 30 ซีซีต่อน้า 20 ลิตร พ่นช่วงเริ่มแทงดอก 1 ครั้ง และช่วงดอกตูม 1 ครั้ง และพ่นหลังติดผล 2-3 ครั้ง จนห่อผล การควบคุมกาจัดวัชพืช โดยใช้จอบดาย พรวนดินและคุมโคนต้นชมพู่ด้วยฟางหรือใบชมพู่ที่ร่วงในฤดูแล้งป้องกันการระเหยของน้า และระบายน้าออกในฤดูฝน
ปลายน้า (Finish Goods) ผลผลิตของชมพู่ทับทิมจันท์หลังจากชมพู่อายุพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว คือ มีอายุ ประมาณ 90 วันผลเต่งอวบ มีสีแดง ผิวเป็นมันเงา มีความหวานสูง หากทิ้งไว้เกินอายุการเก็บเกี่ยว จะทาให้ผลชมพู่แตกหรือร่วงเสียหายได้ การเก็บชมพู่จะเก็บตอนเช้าที่มีแสงแดดเพื่อให้ผลชมพู่สีสดและคลายน้าป้องกันการแตก ผลผลิตที่จะส่งออกตามมาตรฐานต้องมาจากสวนที่ได้รับรองจากกรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้านระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับพืช (GAP พืช) และด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (IPM) ซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานการส่งออกจะแบ่งขนาดได้ 5 ขนาด คือขนาด L จะเป็นชมพู่ผลที่มีขนาดเล็ก จานวน 11 – 12 ลูกต่อกิโลกรัม ขนาด LL จานวน 9 – 10 ลูกต่อกิโลกรัม ขนาด XL จานวน 7 – 8 ลูกต่อกิโลกรัม และขนาด XXL จะเป็นขนาดที่มีผลใหญ่จานวน 5 – 6 ลูกต่อกิโลกรัม การส่งออกไปประเทศจีนที่มีความต้องการชมพู่ทับทิมจันท์จากประเทศไทยค่อนข้างสูงโดยเฉพาะช่วงเทศกาลตรุษจีน และไหว้เจ้า แต่กฎระเบียบในการส่งออกชมพู่ทับทิมจันทร์ไปจีนก็ยังเข้มงวดทาให้ปี 2559 นี้เกษตรกรชาวสวนชมพู่หลายรายไม่ได้ส่งออกไปประเทศจีน
จากผลการวิจัยที่ได้ มีประเด็นสาคัญที่น่าสนใจนามาอภิปรายผล ดังนี้
ด้านวัตถุดิบ ผู้ให้ข้อมูลเห็นว่าในด้านวัตถุดิบจะให้ความสาคัญกับการเลือกกิ่งพันธุ์มากที่สุด จะต้องเป็นกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ ชมพู่ทับทิมจันท์สามารถปลูกได้ในสภาพดินทุกชนิด ปลูกได้ทั้งพื้นราบ และยกร่อง การให้ปุ๋ยจะมีทั้งให้ทางราก และทางใบ เน้นที่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก การให้ปุ๋ยเคมี จะให้ในปริมาณที่จากัดตามข้อกาหนดของการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (Good Agriculture Practices : GAP) การควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (Integrated Pest Management : IPM ) ซึ่งจะได้รับการอนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และเป็นเงื่อนไขในการส่งออกชมพู่ทับทิมจันท์ไปต่างประเทศ ในส่วนของเกษตรกรจะใช้ความชานาญจากประสบการณ์ในการให้วัตถุดิบในการส่งผลต่อคุณภาพของชมพู่โดยเน้นเป็นช่วงระยะในการบารุงตั้งแต่ปลูก ตัดกิ่งกระโดง ติดดอก ห่อ และเก็บผลผลิต
กระบวนการในการผลิตชมพู่ทับทิมจันท์ ผู้ให้ข้อมูลเห็นว่าในกระบวนการผลิตชมพู่ทับทิมจันท์ให้ได้คุณภาพเพื่อส่งออกนั้นผู้ปลูกตั้งมีความชานาญและใส่ใจในการดูแลเป็นอย่างดีตั้งแต่การปลูก การดูแลบารุงรักษา สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสภาพ ดิน น้า ลม ฝน หนาว ร้อน ที่สามารถส่งกระทบ
(4)
ถึงผลิตผลของชมพู่ได้หมด ในกระบวนการผลิตเริ่มต้นการปลูก การปลูกแบบยกร่องจะทาให้ดูแลชมพู่ได้ดีกว่าแบบสวนเพราะจะสะดวกในการรดน้า พ่นฉีดยา ปุ๋ย การตัดกิ่งกระโดงเพื่อให้ต้นชมพู่เป็นทรงพุ่มไม่สูงแตกติ่งออกเพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษาและการ ห่อผล เก็บผล การป้องกันและกาจัดศัตรูพืชทั้งพืชและสัตว์ จนได้ผลิตผล รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎระเบียบในการผลิตพืชผลการเกษตรเพื่อการส่งออก การยื่นขอใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (Good Agriculture Practices : GAP) และการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (Integrated Pest Management : IPM ) จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อรับรองคุณภาพของผลิตผล
ผลผลิตของชมพู่ทับทิมจันท์ ผลผลิตที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานการส่งออกจะแบ่งขนาดได้ 5 ขนาด คือขนาด L จะเป็นชมพู่ผลที่มีขนาดเล็ก จานวน 11 – 12 ลูกต่อกิโลกรัม ขนาด LL จานวน 9 – 10 ลูกต่อกิโลกรัม ขนาด XL จานวน 7 – 8 ลูกต่อกิโลกรัม และขนาด XXL จะเป็นขนาดที่มีผลใหญ่จานวน 5 – 6 ลูกต่อกิโลกรัม ผลผลิตต่อปีจะสามารถส่งออกได้ตลอดมากกว่า 1,000 พันตันตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกลุ่มผู้ปลูกชมพู่ทับทิมจันท์ได้ประมาณการไว้ ด้านความต้องการของตลาดในประเทศจีนก็ยังมีความต้องการสูงสามารถส่งออกไปขายได้ในเทศกาลที่สาคัญของประเทศจีนรวมถึงส่งไปยังประเทศอื่น เช่น ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย รวมถึงประเทศอินโดนีเซียที่เป็นแหล่งต้นกาเนิดของชมพู่ทับทิมจันท์ด้วย
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย
1. การวางแผนพยากรณ์ความต้องการ และกาหนดปริมาณผลผลิตของชมพู่ทับทิมจันท์ในแต่ละปีให้มีปริมาณผลผลิตเพียงพอ และสามารถการกระจายถึงผู้บริโภคโดยอย่างทั่วถึง ด้วยการนาระบบโลจิสติกส์มาสนับสนุนเพื่อสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรให้ดีมากยิ่งขึ้น
2. การสนับสนุนการปลูกชมพู่ทับทิมจันท์ทั้งด้านการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพด้านขนาด รสชาติ สี เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้จากชมพู่ทับทิมจันท์มากกว่าต้นทุนในการดูแล บารุงรักษาชมพู่ ซึ่งในปัจจุบันต้นทุนค่อนข้างสูง |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2559; |
|
dc.title |
การผลิตชมพู่ทับทิมจันท์เพื่อการส่งออก |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |