การศึกษาแนวทางการปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคารและระบบสัญจร เพื่อลดความเดือนร้อนจากกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร

DSpace/Manakin Repository

การศึกษาแนวทางการปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคารและระบบสัญจร เพื่อลดความเดือนร้อนจากกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร

Show full item record

Title: การศึกษาแนวทางการปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคารและระบบสัญจร เพื่อลดความเดือนร้อนจากกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร
Author: หมั่นคติธรรม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์วินัย; ธนกุลวุฒิโรจน์, อาจารย์กันยพัชร์; วรชัยรุ่งเรือง, อาจารย์มรกต
Abstract: ในการชุมนุมทางการเมืองแต่ละครั้งนั้น มักจะเกิดการปะทะกันของกลุ่มเจ้าหน้าที่และผู้ ชุมนุม มีการปิดล้อมพื้นที่ทางราชการ เป็นเหตุให้ผู้ชุมนุมเข้าบุกรุกพื้นที่สำคัญได้ มีการทำลาย ทรัพย์สินทั้งของรัฐ รวมถึงสถานที่ราชการก็มักจะเป็นพื้นที่รวมกลุ่มชุมนุม มีการปิดล้อมไม่ให้ ข้าราชการเข้าพื้นที่ ซึ่งถ้าเหตุการณ์เข้าขั้นรุนแรง อาจจะบานปลายถึงการทำลายทรัพย์สิน วางเพลิง ตัวอาคารสถานที่ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ของรัฐของแต่ละหน่วยงานก็ต้องเตรียมการป้องกันการบุกรุกทุก รูปแบบ สำหรับในสถานที่และอาคาราชการปัจจุบันนั้น มีการออกแบบและก่อสร้างตามกฏหมาย ควบคุมอาคารเป็นเกณฑ์ แต่ในรายละเอียดของกฏหมายนั้นมิได้ระบุในกรณีที่รองรับหรือป้องกันการ เกิดเหตุชุมนุมต่าง ๆ นอกจากนี้การชุมนุมของกลุ่มผู้ประท้วงยังส่งผลกระทบในเรื่องการเคลื่อนที่และการปิด การจราจรของผู้ชุมนุมที่ผ่านมา พบว่าเริ่มมีความรุนแรงและเกิดปัญหาทวีคูณมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะใน ปี 2557 จากเหตุการณ์ที่ผ่านมามีการพยายามที่จะปิดล้อมสถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจของเมือง และ ปิดถนน เดินขบวนให้เกิดปัญหาทางกายภาพโดยเฉพาะการคมนาคมทางบก จุดเปลี่ยนถ่ายการ คมนาคม และพื้นที่สาธารณะที่สำคัญของเมืองในกรุงเทพมหานคร เกิดผลกระทบต่อเนื่องทาง กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ในชุดโครงการวิจัยนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อต้องการต้นแบบของการปรับปรุง สภาพแวดล้อมภายนอกอาคารและแนวทางการลำเลียงประชาชนออกจากพื้นที่ที่ถูกปิดล้อมจากกลุ่ม ผู้ชุมนุมทางการเมือง จากชุดโครงการวิจัยพบว่าข้อมูลจากชุดโครงการย่อยที่ 1 เรื่องการปรับปรุงพื้นที่ภายนอก อาคารเพื่อป้องกันการบุกรุกของกลุ่มผู้ชุมนุม ทางการเมือง ในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ข้อสรุปถึงแนวทางการปรับปรุงกายภาพของพื้นที่ดังนี้ 1)การแก้ปัญหา แนวรั้วและการเข้าถึงอาคาร โดยรั้วเดิมมีลักษณะที่ดีอยู่แล้วแต่ควรเพิ่มแนวไม้พุ่มที่มีกิ่งก้านเยอะ หรือมีหนาม เพื่อให้เกิดอุปสรรคในการปีนป่ายที่ยากลำบากขึ้น สำหรับการเข้าถึงตัวอาคารทาช่อง เปิดต่าง ๆ ควรมีการสร้างระแนงไม้หรือเหล็กที่มีความแข็งแรง คงทน และให้กลมกลืนกับ (2) สถาปัตยกรรมปิดกั้นด้านนอก 2)การแก้ปัญหารัศมีภูมิทัศน์ 5 เมตร ต้นไม้ใหญ่โดยรอบควรมีการเพิ่ม พืชที่เกาะลำต้นไม้ใหญ่ และมีหนาม เช่นต้นหนาวแน่ขาว และริบกิ่งล่าง ๆ ทิ้ง เพื่อให้ใช้เป็นที่เกี่ยว หรือแขวนอะไรทั้งสิ้น 3) การแก้ไขปัญหากายภาพชั้นล่างและผิวอาคารที่เป็นช่องเปิด ควรติดฟิลม์ นิรภัย รวมทั้งเพิ่มระแนงไม้หรือเหล็ก 4)การแก้ปัญหาทางสัญจรทางรถ ควรมีแนวเส้นทางวิ่งและ ป้ายให้ชัดเจน รวมถึงการเพิ่มสัญญาณไฟสีเหลือง ตามจุดที่มีการเสี่ยงภัยหรือจุดใช้ทางร่วมด้วยกัน สำหรับเส้นทางสัญจรของคนเดินเท้า ควรมีคีย์การ์ดในการเข้า-ออกอาคาร และบริเวณทางเดินควรมี แนวรั้วหรือราวป้องกันการปีนป่ายเข้าสู่อาคาร ส่วนโครงการย่อยที่ 2 เรื่อง การประยุกต์ใช้โครงข่ายการสัญจรอิสระเพื่อสร้างแนวทางการ ลำเลียง ประชาชนออกจากเคลื่อนที่และการปิดการจราจรของกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง ใน กรุงเทพมหานคร การวิจัยพบว่าเส้นทางที่มีการเคลื่อนที่และปิดจราจรทางการเมืองใน กรุงเทพมหานคร มากที่สุดและถี่ที่สุด คือเขตพระนคร โดยมักอยู่บนเส้นถนนที่มีซอยย่อยสะสมมาก ซึ่งจะมีค่าคะแนนความสำคัญย่านย่อยสูง และเป็นถนนที่สำคัญเป็นเส้นทางหลักที่ใช้คมนาคมในระดับ ย่านย่อย บริเวณรัศมีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พบว่ามีจุดการเคลื่อนที่และปิดจราจาของกลุ่มผู้ชุมนุม ทางการเมือง บริเวณถนนพญาไท ถนนสุริวงศ์ ถนนราชดำริ และถนนสี่พระยา ซึ่งเป็นถนนที่มีค่า คะแนนสะสมในระดับสูงถึงปานกลาง ดังนั้นในยามเกิดเหตุที่ร้ายแรงเส้นทางที่จึงควรเลี่ยงเส้นทางที่มี ค่าระดับย่านสูง บริเวณเส้นสีแดงและสีส้ม ควรเลือกเส้นทางที่มีค่าระดับย่านต่ำ เช่นถนนที่มีตรอก ซอย แสดงในค่าระดับด้วยเส้นสีเขียวและเหลือง
Description: งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/755
Date: 2018-10-01


Files in this item

Files Size Format View Description
ird_032_59.pdf 87.00Kb PDF View/Open ปก
ird_032_59 (1).pdf 70.24Kb PDF View/Open บทคัดย่อ
ird_032_59 (2).pdf 49.67Kb PDF View/Open ABSTRACT
ird_032_59 (3).pdf 55.01Kb PDF View/Open กิตติกรรมประกาศ
ird_032_59 (4).pdf 155.0Kb PDF View/Open บทที่1
ird_032_59 (5).pdf 1.219Mb PDF View/Open บทที่2
ird_032_59 (6).pdf 1.380Mb PDF View/Open บทที่3
ird_032_59 (7).pdf 9.044Mb PDF View/Open บทที่4
ird_032_59 (8).pdf 73.59Kb PDF View/Open บทที่5
ird_032_59 (9).pdf 53.82Kb PDF View/Open บรรณานุกรม
ird_032_59 (10).pdf 36.64Kb PDF View/Open ภาคผนวก
ird_032_59 (11).pdf 115.3Kb PDF View/Open ประวัติผู้ทำรายงานวิจัย

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account