Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2554 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2554 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/126
|
Title: | การแยกเชื้อจุลชีพที่ก่อโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลจากผู้ป่วยโรคมะเร็ง |
Authors: | สุดเจริญ, ยุทธนา |
Keywords: | แยกเชื้อจุลชีพ โรคติดเชื้อ โรคมะเร็ง |
Issue Date: | 20-Jun-2015 |
Publisher: | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2554; |
Abstract: | ผลการเพาะแยกเชื้อจุลชีพก่อโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล และการทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ามารับการรักษาใน สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระหว่างเดือนตุลาคม ในปี พ.ศ. 2553 พบเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจทั้งสิ้น 1,292 isolates ได้แก่
แบคทีเรียแกรมลบกลุ่ม Enterbactericeae โดยส่วนใหญ่ที่พบ คือ Escherichia coli และ Klebseilla pneumoniae คิดเป็นร้อยละ 18.34 (n = 237) และ 8.44 (n = 109) ตามลาดับ แบคทีเรียแกรมลบกลุ่ม Non-fermented bacteria (NFB) พบ Pseudomonas aeruginosa และ Acinetobacter baumannii คิดเป็นร้อยละ 7.28 (n = 94) และ 5.11 (n = 66) ตามลาดับ แบคทีเรียแกรมบวกพบ Staphylococcus aureus และ Enterococcus spp. ร้อยละ 16.10 (n = 208) และ 3.64 (n = 47) ตามลาดับ สาหรับยีสต์แยกได้ทั้งหมด 182 isolates ชนิดที่พบคือ Candida albicans, C. tropicalis, C. parakrusei และ C. krusei คิดเป็นร้อยละ 43.96, 29.12, 16.48 และ 4.4 (n = 80, 53, 30 และ 8 ) ตามลาดับ ตาแหน่งของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจพบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.71 (n = 107) โดยพบในผู้ป่วยมะเร็งของแผนกหออภิบาลผู้ป่วยใน (Non-ICU; IPD) คิดเป็นร้อยละ 55.23 (n = 95) เชื้อแบคทีเรียแกรมบวก S. aureus ที่ดื้อต่อยา methicillin (Methicillin resistant S. aureus, MRSA) ร้อยละ 39.9 (n = 83) อัตราการดื้อต่อยาต้านจุลชีพชนิด Extended-Spectrum beta-lactamase (ESBLs) พบมากที่สุดใน Escherichia coli ร้อยละ 69.1 (n = 96) การดื้อต่อยาต้านจุลชีพหลายขนาน (Multi-drug resistance, MDR ) พบสูงสุดใน A. baumannii ร้อยละ 48.86 (n = 43) ซึ่งเชื้อกลุ่ม MRSA,
ESBLs และ MDR พบว่ามีจานวนสูงขึ้นกว่าปีก่อน แต่อัตราการดื้อต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อทุกกลุ่มมีแนวโน้มลดลง ( ยกเว้น A. baumannii และ S. maltophila) จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าการติดเชื้อในโรงพยาบาลของผู้ป่วยมะเร็งมีแนวโน้มสูงขึ้น และมีเชื้อที่มีคุณสมบัติการดื้อยาเพิ่มขึ้นด้วย แต่อัตราการดื้อยากลับมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมของแพทย์ผู้ให้การรักษา |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/126 |
ISSN: | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2554
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|