DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2561 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1719

Title: การเปรียบเทียบความหลากชนิดและความชุกชุมของนก บริเวณเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Authors: เจริญโภคราช, ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิธินาถ
จิตมั่น, เพชรพนม
Keywords: ความหลากชนิดของนก/ ความชุกชุมของนก/ เส้นทางท่องเที่ยวทางเรือ
Issue Date: 26-Feb-2019
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2561;
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความหลากชนิด และความชุกชุมของนก ศึกษาอุปนิสัย การหากิน สถานภาพปัจจุบันของนก ลักษณะกิจกรรมของนกที่เข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ ความคล้ายคลึงของนก บริเวณเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือ และจัดทำปฏิทินฤดูกาลกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การวิจัยครั้งนี้ใช้การ เก็บรวบรวมด้วยการสำรวจภาคสนามเกี่ยวกับความหลากชนิดนกบริเวณเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือ จำนวน 3 เส้นทาง คือเส้นทางที่ 1 ตลาดน้ำท่าคา - โฮมสเตย์ เส้นทางที่ 2 ตลาดน้ำท่าคา - เตาตาล และเส้นทางที่ 3 เตา ตาล - รีสอร์ท โดยทำการสำรวจตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 – เดือนกรกฏาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหา ปริมาณความชุกชุมและความคล้ายคลึงของนก และศึกษาอุปนิสัยการหากิน สถานภาพของนก ลักษณะ กิจกรรมของนกที่เข้ามาใช้ประโยชน์ และจัดทำปฏิทินฤดูกาลกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริเวณเส้นทาง ท่องเที่ยวทางเรือ ผลการศึกษาพบความหลากชนิดของนกจำนวน 15 อันดับ 37 วงศ์ 73 ชนิด ซึ่งอันดับ (Order) ที่มีความหลากชนิดของนกมากที่สุด คือ PASSERIFORMES มีชนิดนก จำนวน 34 ชนิด มี โดยเส้นทาง ที่ 3 ( เตาตาล – รีสอร์ท) จะพบจำนวนชนิดนกมากที่สุด คือ จำนวน 63 ชนิด รองลงมาคือเส้นทางที่ 2 (ตลาด น้ำท่าคา – เตาตาล) พบชนิดนก จำนวน 56 ชนิด และเส้นทางที่ 1 (ตลาดน้ำท่าคา – โฮมสเตย์)พบชนิดนก จำนวน 50 ชนิด ส่วนปริมาณความชุกชุม ในระดับ 5 นกที่พบบ่อยมาก มีจำนวน 20 ชนิด ในระดับ 4 นกที่พบ บ่อยมีจำนวน 9 ชนิด ในระดับ 3 นกที่พบปานกลาง มีจำนวน 17 ชนิด ในระดับ 2 นกที่พบน้อย มีจำนวน 12 ชนิด และในระดับ 1 นกที่พบได้ยาก มีจำนวน 15 ชนิด ส่วนอุปนิสัยการหากินของนกในทั้ง 3 เส้นทาง มีกลุ่ม นกกินแมลงและตัวหนอนของแมลงเป็นหลักมากที่สุด จำนวน 35 ชนิด ส่วนสถานภาพปัจจุบันของนก มีนก ประจำถิ่น จำนวน 51 ชนิด นกประจำถิ่นและนกอพยพ จำนวน 13 ชนิด และนกอพยพ จำนวน 9 ชนิด ลักษณะกิจกรรมของนกที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อหาอาหารและเลี้ยงลูก เส้นทางที่ 2 กับเส้นทางที่ 3 มี ค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันของนก เท่ากับ 0.824 โดยกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั้งกิจกรรมดูนกอพยพ จะ อยู่ในช่วงฤดูกาลอพยพในราวเดือนสิงหาคม – เดือนพฤษภาคมของทุกปี กิจกรรมชมหิ่งห้อยจะอยู่ในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ส่วนกิจกรรมนั่งเรือพายชมวิถีชีวิตของชุมชนริมคลองนั้นชมได้ตลอดทั้งปี ดังนั้นประชาชนในท้องถิ่น จึงควรร่วมมือกันรักษาฐานข้อมูลชนิดนกเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และส่งเสริม กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เส้นทางท่องเที่ยวทางเรือ เนื่องจากนกเป็นตัวชี้วัดความสมดุลธรรมชาติและความ อุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารในระบบนิเวศ
Description: งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1719
Appears in Collections:แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2561

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Real_Comparison Species diversity and abundance of birds along boat touring.pdfรวมทั้งหมด3.41 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback