DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2553 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/40

Title: รูปแบบโฮมสเตย์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของจังหวัดสมุทรสงคราม
Authors: หมั่นคติธรรม, วินัย
Keywords: โฮมสเตย์
สมุทรสงคราม
Issue Date: 6-Jun-2015
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2553;
Abstract: การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในอดีตที่มีวิถีในการดารงชีวิตภายใต้บริบทของสภาพแวดล้อมตามถิ่นที่อยู่ เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปอิทธิพลวัฒนธรรมสมัยใหม่แพร่กระจายเข้าสู่สังคมชนบท ประกอบกับการที่ภาครัฐได้หันมาให้ความสาคัญในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมากขึ้น ชาวบ้านในพื้นที่จึงนิยมนาบ้านที่ตนเองพักอยู่มาทาเป็นโฮมสเตย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น รูปแบบของโฮมสเตย์ จึงมีความหลากหลาย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยนี้ โดยแบ่งเนื้อหาที่ทาการศึกษาออกเป็น 3 ประเด็นได้แก่ 1) ลักษณะของสถาปัตยกรรมพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสงคราม 2) การรวบรวมและจัดหมวดหมู่ของกลุ่มอาคารที่พักแบบโฮมสเตย์และ 3) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สาหรับระเบียบวิธีวิจัยจะใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสารวจ อาคารที่พักแบบ โฮมสเตย์ในจังหวัด ทั้ง 3 อาเภอ จานวน 60 แห่ง รวมถึงการสัมภาษณ์จากผู้ประกอบการ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อสืบถึงประวัติความเป็นมาของอาคารและเหตุผลในการปรับเปลี่ยนอาคาร เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายครบจะทาการคัดแยกและจัดกลุ่มของโฮมสเตย์ตามลักษณะทางกายภาพของอาคาร จากนั้นจะทาประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) โดยเชิญผู้ประกอบการ จานวน 8 ท่าน เพื่อหาข้อสรุปในการวิจัย ผลของการวิจัยพบว่าลักษณะของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม มีด้วยกัน 2 แบบ แบบแรกคือแบบเรือนไทยที่มีลักษณะหลังคาทรงสูงแบบพู่ระหง มีความอ่อนช้อยงดงาม ส่วนแบบที่สอง เป็นหลังคาทรงมนิลาทรงเตี้ย และเมื่อศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมของของอาคารที่พักแบบโฮมสเตย์ ภายในจังหวัดสามารถจัดกลุ่มของโฮมสเตย์ได้ เป็น 6 กลุ่ม โดยมีกลุ่มเรือนสมัยใหม่มากที่สุด รองลงมาได้แก่กลุ่มเรือนพื้นบ้าน กลุ่มเรือนไทยที่มีการดัดแปลง กลุ่มเรือนไทย กลุ่มเรือนแถวและกลุ่มเรือนพิเศษตามลาดับ สาหรับประเด็นของสาเหตุที่ก่อให้เกิดของการเปลี่ยนแปลงตัวเรือน มาจากเหตุผลหลัก 6 ประการ ได้แก่ 1) สาเหตุจากการผุพังและเสื่อมสลายของวัสดุ 2) จากการขาดความรู้ทางด้านการอนุรักษ์และขาดผู้ให้คาแนะนาวิธีการดูแลรักษา 3) จากการอพยพย้ายถิ่นฐาน 4) จากการขาดแคลนช่างฝีมือ 5) จากการราคาวัสดุมีราคาแพง และ 6) จากค่านิยมที่ต้องการมีบ้านสมัยใหม่แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
Description: งานวิจัยทุนงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/40
Appears in Collections:แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ird_061_53.pdfปก148.33 kBAdobe PDFView/Open
ird_061_53 (1).pdfบทคัดย่อ311.05 kBAdobe PDFView/Open
ird_061_53 (2).pdfAbstract409.27 kBAdobe PDFView/Open
ird_061_53 (3).pdfกิติกรรมประกาศ383.91 kBAdobe PDFView/Open
ird_061_53 (4).pdfบทที่ 11.88 MBAdobe PDFView/Open
ird_061_53 (5).pdfบทที่ 2477.96 kBAdobe PDFView/Open
ird_061_53 (6).pdfบทที่ 32.31 MBAdobe PDFView/Open
ird_061_53 (7).pdfบทที่ 4384.98 kBAdobe PDFView/Open
ird_061_53 (8).pdfบทที่ 5326.53 kBAdobe PDFView/Open
ird_061_53 (9).pdfประวัตินักวิจัย289.35 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback