DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/452

Title: การเพิ่มมูลค่าแก่วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากมะพร้าวด้วยแนวคิดของเสียเหลือศูนย์ ADDING VALUE TO AGRICULTURAL RESIDUES FROM COCONUT WITH THE CONCEPT OF ZERO WASTE
Authors: โอฮาม่า, ดร.พลอยทราย
ชูมี, ดร.จิตรลดา
นามวงษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์
วอนสวัสดิ์, ดร.วนิดา
แสนศิริพันธ์, ดร.ศันสนีย์
คาพันธ์, ดร.เสาวณีย์
Keywords: วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มะพร้าว ลุ่มแม่น้าแม่กลอง แนวคิดของเสียเหลือศูนย์
Issue Date: 18-Sep-2018
Series/Report no.: งานวิจัยปี2560;
Abstract: แผนงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการวัตถุดิบของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตมะพร้าวในพื้นที่ลุ่มแม่น้าแม่กลอง ได้แก่จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์ด้วยการนาเอาส่วนของมะพร้าวที่เหลือทิ้งมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถขยายผลไปในเชิงพาณิชย์ ซึ่งแผนงานวิจัยนี้แบ่งการทางานออกเป็น 2 ระยะด้วยกัน คือระยะที่ 1 ในปีงบประมาณ 2559 เป็นการสารวจพื้นที่ชุมชน ระบุปัญหาในพื้นที่และกาหนดแนวทางแก้ไข เก็บตัวอย่างวัตถุดิบ ศึกษาดูงานกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และทาการศึกษาวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการ ระยะที่ 2 ในปีงบประมาณ 2560 เป็นการศึกษาการลงทุนในเชิงพาณิชย์ในการผลิตและจาหน่ายผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในชุมชน การวิจัยนี้ได้กาหนดพื้นที่ชุมชนเป็นตาบลหลักสอง อาเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พบว่าชุมชนมีการปลูกมะพร้าวน้าหอม มีเปลือกกาบและขุยมะพร้าวถูกปล่อยทิ้งไว้บนพื้นที่เป็นจานวนมาก เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค เห็ดรา และผสมพันธุ์วางไข่ของด้วงศัตรูพืชที่สาคัญของชาวสวนมะพร้าว กลุ่มผู้วิจัยทาการศึกษาการนากาบและขุยมะพร้าวเหล่านี้มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ดังนี้ 1. ผลิตภัณฑ์กระดาษมะพร้าว พบว่ากระดาษมะพร้าวที่ผลิตได้มีความสวยงามมีเอกลักษณ์ของมะพร้าว การผสมเยื่อสาลงในกระดาษมะพร้าวสามารถเพิ่มความสามารถในการต้านแรงฉีกขาดของกระดาษได้ดี ผลการสารวจความพึงพอใจของผู้ประกอบการพบว่ากระดาษเยื่อผสมแบบบางไม่ผ่านการฟอกสีได้รับความพึงพอใจมากที่สุด และสามารถพับงอได้ มีความเป็นได้ที่จะนาไปประยุกต์ในงานหัตถกรรมและบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ร้อยละ 100 ของกลุ่มเกษตรกรตาบลหลักสองมีความต้องการสร้างกลุ่มเพื่อผลิตกระดาษมะพร้าว 2. การวิจัยสีย้อมธรรมชาติจากเปลือกมะพร้าวพบว่าสามารถย้อมติดผ้าไหมแต่ไม่ติดสีบนผ้าฝ้าย จึงยังไม่เหมาะสมในการพัฒนาเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน 3. การพัฒนาแท่งเชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้งของมะพร้าว พบว่าขุยมะพร้าวสามารถผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ดได้ แต่ตัวอย่างที่ใช้ทดสอบมีปริมาณคลอไรด์สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 4. สารสกัดจากเปลือกมะพร้าว พบสารแทนนินที่มีสมบัติการป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของน้ามัน ทั้งในเปลือกมะพร้าวสดและแห้ง 5. ผลิตภัณฑ์เสริมเส้นใยอาหารจากน้ามะพร้าว พบว่าในน้ามะพร้าวมีสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ทาการผลิตวุ้นสวรรค์ (วุ้นมะพร้าว) จากน้ามะพร้าวและนามาแปรรูป ได้แก่ วุ้นสวรรค์แบบแห้ง แบบผง และวุ้นสวรรค์แช่อิ่ม พบว่า วุ้นสวรรค์แช่อิ่มเหมาะสมที่จะนามาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมเส้นใยอาหารมากที่สุด ผลการสารวจความพึงพอใจของผู้บริโภคพบว่าผู้บริโภคให้ความพึงพอใจระดับดี
Description: งบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/452
Appears in Collections:แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560

Files in This Item:

File Description SizeFormat
0 ปก.pdfปก136.12 kBAdobe PDFView/Open
1 บทคัดย่อ.pdfบทคัดย่อ101.24 kBAdobe PDFView/Open
2 กิตติกรรมประกาศ.pdfกิตติกรรมประกาศ99.94 kBAdobe PDFView/Open
3 บท 1.pdfบทที่1107.97 kBAdobe PDFView/Open
4 บท 2-3.pdfบทที่2-3121.14 kBAdobe PDFView/Open
5 บท 4-5.pdfบทที่4-5141.41 kBAdobe PDFView/Open
6 บท 6.pdfบทที่6340.12 kBAdobe PDFView/Open
7 บท 7.pdfบทที่71.05 MBAdobe PDFView/Open
8 บท 8.pdfบทที่8124.36 kBAdobe PDFView/Open
9 บรรณานุกรม.pdfบรรณานุกรม250.87 kBAdobe PDFView/Open
10 ภาคผนวก.pdfภาคผนวก2.16 MBAdobe PDFView/Open
11 ประวัติผู้วิจัย.pdfประวัตินักวิจัย221.27 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback