Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/457
|
Title: | การศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยภายในโรงเรียนและชุมชนโดยรอบ กรณีศึกษา : เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
Authors: | หมั่นคติธรรม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์วินัย ธนกุลวุฒิโรจน์, อาจารย์กันยพัชร์ |
Keywords: | ชุมชน, สภาพแวดล้อมทางกายภาพ, โครงข่ายสัญจรอิสระ |
Issue Date: | 18-Sep-2018 |
Abstract: | ชุมชนที่มีโรงเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษา ที่อยู่ในการดูแลและปกครองในเขตพื้นที่ดุสิต กรุงเทพมหานคร มีหลายแห่ง ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่น่าสนใจ เพราะเป็นชุมชนที่อยู่ในเมืองชั้นใน มีแหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญ และมีความหลากหลายในการใช้พื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย สถาบันการศึกษา โรงเรียน วัด พิพิธภัณฑ์ สานักงานภาครัฐ ร้านค้า ท่าเรือท่องเที่ยว แหล่งพักอาศัยชุมชนแออัด (สลัม) ฯลฯ ปะปนในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมามีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ถึงจะไม่มาก แต่ก็ทาลายความน่าเชื่อถือด้านความปลอดภัยของพื้นที่ได้ ทาให้ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจถึงความปลอดภัยของผู้คนได้
ในชุดโครงการวิจัยนี้ได้กาหนดวัตถุประสงค์เพื่อได้รูปแบบของชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีความปลอดภัย ช่วยลดอุบัติเหตุ รวมถึงการนาระบบภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศมาใช้กับโครงข่ายการสัญจรอิสระเพื่อสร้างแผนที่จุดเสี่ยงภัยด้านอาชญากรรมในพื้นที่เขตดุสิต จะนาเสนอข้อมูลทางกายภาพของชุมชน ข้อมูลจากผู้อยู่อาศัยในชุมชนและข้อมูลสัณฐานวิทยาเมืองด้วย Space Syntax เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของสัณฐานวิทยาเมืองและรูปแบบอุบัติเหตุ ในพื้นที่เขตดุสิต ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นการร้อยเรื่องราวของปัญหาอุบัติเหตุในพื้นที่เขตดุสิตให้สามารถมองเห็นมิติ ความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของเหตุอุบัติเหตุต่าง ๆ
จากชุดโครงการวิจัยพบว่าข้อมูลจากชุดโครงการย่อยที่ 1 เรื่องแนวทางปรับปรุงอาคารเรียนและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของนักเรียนภายในโรงเรียนและชุมชนโดยรอบ สาหรับโรงเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษา ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ได้ข้อสรุปถึงแนวทางการปรับปรุงกายภาพของชุมชนและอาคารเรียนดังนี้ 1)ระเบียงอาคารเรียน ควรมีความแข็งแรงและสูงไม่ต่ากว่า 1.20 ม.และไม่ควรเป็นรั้วทึบทั้งหมด เพื่อให้ครูเห็นความเคลื่อนไหวในยามเกิดเหตุ 2)ประตูหน้าควรเป็นประตูที่มีความแข็งแรงและมีระบบล็อคที่มีมาตรฐาน รวมถึงควรมีเหล็กดัดเพื่อความปลอดภัย 3)แสงสว่างภายในอาคารเรียนบางจุดน้อยเกินไป 4)บริเวณบันไดขึ้นลง ควรเพิ่มวัสดุกันลื่น 5)หลีกเลี่ยงครุภัณฑ์ที่เป็นมุมแหลม ถ้ามีต้องทาให้มน และ6) เพิ่มกล้อง CCTV ทุกชั้นโดยเฉพาะบริเวณจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ ส่วนโครงการย่อยที่ 2 เรื่อง การหาศักยภาพการแทรกซึมการสัญจรภายในชุมชน จากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ในเขตดุสิต กรุงเทพ โดยใช้โปรแกรม Space Syntax พบว่ากล่าวคือ บริเวณทางเข้าชุมชนวัดเทวราชกุญชรควรให้ความสาคัญกับทางเท้า ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางทางเดินเท้า เพื่อเอื้อให้คนเดินเท้าโดยเฉพาะนักเรียน ซึ่งเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยจากอุบัติเหตุได้ง่าย มีการเดินทางสัญจรไป
(2)
กลับระหว่างบ้านกับโรงเรียน ซึ่งเป็นกิจวัตรประจาวันของนักเรียน เพื่อเชื่อมไปยังจุดเปลี่ยนถ่ายระหว่างทางเดินเท้ากับรถประจาทางบริเวณถนนสามเสน และควรมีการปูพื้นถนนด้วยวัสดุที่เป็นมิตรกับคนเดินเท้าที่ต่างไปจากวัสดุที่ใช้ปูถนนทั่วไป เพื่อให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะขนาดเล็กและขนาดใหญ่รับรู้จากผิวสัมผัสของพื้นถนนให้เกิดความระมัดระวังคนเดินเท้าภายในชุมชนมากขึ้น
ผลการวิจัยที่ได้รับนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนาไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนากายภาพของชุมชน รวมถึงการควบคุมเส้นทางการสัญจรในเขตดุสิต และปรับปรุงการจัดการพื้นที่ภายในชุมชนให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของนักเรียนและประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น |
Description: | งบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/457 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|