Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/501
|
Title: | การศึกษาสมบัติการต้านแบคทีเรียของผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติจากแก่นฝาง เคลือบด้วยอนุภาคซิลเวอร์นาโน |
Authors: | โอฮาม่า, ดร. พลอยทราย นามวงษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิริลักษณ์ คาพันธ์, ดร. เสาวณีย์ |
Keywords: | สีธรรมชาติ ผ้าไหม อนุภาคซิลเวอร์นาโน สมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรีย |
Issue Date: | 18-Sep-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี2560; |
Abstract: | งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีในการเสริมคุณสมบัติของผ้าไหม
ย้อมฝาง โดยทาการตกแต่งสาเร็จด้วยอนุภาคซิลเวอร์นาโน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยับยั้งการ
เจริญเติบโตของจุลชีพ โดยศึกษาสภาวะที่ดีที่สุดในการย้อมผ้าไหมโดยใช้สารสกัดแก่นฝาง คือ ทาการ
สกัดด้วย 10% เอทานอล ที่เวลา 60 นาที อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส สารสกัดจากแก่นฝางที่ได้มีสี
แดงส้ม พบว่ามีองค์ประกอบของสารประเภทพอลิฟีนอล การทามอร์แดนท์ด้วยโลหะพบว่าช่วยให้สี
และผ้ายึดติดกันได้ดียิ่งขึ้น และมอร์แดนท์แต่ละชนิดทาให้ได้ผ้าไหมที่มีเฉดสีต่างๆและยังให้เฉดสีที่
เข้มขึ้น เมื่อทดสอบความคงทนของสีต่อการซัก พบว่า ผ้าไหมที่ย้อมจากสารสกัดจากแก่นฝางผ่านการ
ซักพบว่าสีเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับ ที่สีเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ค่าการตกสีอยู่ในระดับสีตก
ติดเล็กน้อย ผ้าที่ผ่านกระบวนการทามอร์แดนท์จะมีความคงทนของสีต่อการซักอยู่ในระดับใกล้เคียง
หรือดีกว่าผ้าที่ไม่ผ่านกระบวนการทามอร์แดนท์ยกเว้นผ้าที่ใช้คอปเปอร์ซัลเฟตเป็นมอร์แดนท์ ซึ่งจาก
การทดสอบพบว่ามีการตกสีอย่างเห็นได้ชัดบนผ้าฝ้ายและผ้าที่ทอจากเส้นใยเรยอน
ทาการทดสอบ การยับยั้งเชื้อ Staphylococus aureus (ATCC25923T) และ Escherichia
coli (ATCC25922T) ด้วยวิธีมาตรฐาน AATCC พบว่าผ้าไหมที่ผ่านการย้อมด้วยสารสกัดแก่นฝางและ
ผ้ามที่ผ่านการทามอร์แดนท์สามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ได้ในระดับดี ยกเว้นผ้าที่
ทามอร์แดนท์ด้วยสารส้ม แต่ไม่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli ได้ และเมื่อนาผ้าที่
ผ่านการย้อมด้วยสารสกัดแก่นฝางไปทาการเคลือบด้วยอนุภาคซิลเวอร์นาโนจะทาให้สามารถยับยั้งทั้ง
เชื้อ Staphylococcus aureus และเชื้อ Escherichia coli ได้ในระดับดีมาก |
Description: | งานวิจัยรายได้งบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/501 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|