DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2558 >
ภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2558 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/549

Title: เปรียบเทียบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขระหว่างผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ในจังหวัดสมุทรสงคราม
Authors: เชื้อวณิชชากร, สุรางค์
ช่วยทอง, พูนสุข
กัมพลาศิริ, นภวัลย์
คฤหเดช, เปรมวดี
Keywords: ความสุข/ ผู้ใหญ่/ ผู้สูงอายุ/ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง/ การใช้หลักธรรมะในการดาเนินชีวิต
Issue Date: 20-Sep-2018
Series/Report no.: งานวิจัย 2558;
Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสุขของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ มีผลต่อความสุข 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสังคมกับ ความสุข เป็นการวิจัยเชิงสารวจแบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่อายุ 35-59 ปี และผู้สูงอายุ (อายุ เท่ากับและมากกว่า 60 ปีขึ้นไป) จานวนกลุ่มละ 340 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าใน ตนเองของ Coopersmith แบบวัดการใช้หลักธรรมะในการดาเนินชีวิต แบบสอบถามสัมพันธภาพกับบุคคลใน ครอบครัว แบบสอบถามสัมพันธภาพกับบุคคลในสังคม แบบสอบถามสิ่งแวดล้อมในสังคม และแบบวัดความสุข ของ Oxford วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviations) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าต่าสุด (Minimum) ทดสอบค่าที ค่าเอฟ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’ s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่ สรุปดังนี้ กลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเป็นเพศหญิง ร้อยละ 55 เป็นเพศชาย ร้อยละ 45 มีอายุเฉลี่ย 47 ปี กลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่อายุ 40 – 49 ปี มีมากที่สุดร้อยละ 43.5 รองลงมา คืออายุ 50 – 59 ปี ร้อยละ 37.9 และอายุ 35 – 39 ปี ร้อยละ 18.6 ตามลาดับ สถานภาพสมรสคู่ มีมากที่สุด ร้อยละ 70.8 รองลงมาเป็นสถานภาพสมรสโสด ร้อยละ 18 การศึกษาในระดับประถมศึกษา มีมากที่สุด ร้อยละ 56.5 มี รายได้เฉลี่ย 8272.43 บาท/ เดือน ส่วนใหญ่มีรายรับพอใช้และมีเหลือเก็บ ร้อยละ 52.2 อาศัยเขตชนบทร้อย ละ 98.8 ประกอบอาชีพรับจ้าง มากที่สุด ร้อยละ 63.82 ใช้บริการบัตรประกันสุขภาพ มากที่สุด ร้อยละ 83.1 เป็นสมาชิกชมรมในสังคม ร้อยละ 83.8 มีภาวะสุขภาพแข็งแรงปานกลาง ร้อยละ 48.1 ส่วนใหญ่มี ความสามารถดูแลกิจวัตรต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ร้อยละ 92 มีโรคประจาตัว ร้อยละ 18 โดยร้อยละ 21.19 ป่วย ด้วยภาวะความดันโลหิตสูงอย่างเดียว รองลงมามีภาวะปวดศีรษะ ปวดไมเกรน ร้อยละ 9.78 ค่า BMI ปกติ (18.5 - 23.4 กิโลกรัม/ ตารางเมตร) มีมากที่สุดร้อยละ 54.2 ค่าความดันโลหิตปกติ (< 130/85 มิลลิเมตร ปรอท) มีมากที่สุด ร้อยละ 86.5 กลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในระดับสูง มากที่สุด ร้อยละ50.9 ใช้หลักธรรมะในการดาเนินชีวิตในระดับน้อย มีมากที่สุด ร้อยละ 51.2 โดยปฏิบัติเป็นประจา ด้านทาบุญ ตักบาตร มากที่สุด ร้อยละ 15.6 มีการพบปะติดต่อกับบุตรทุกวันหรือเกือบทุกวัน ร้อยละ 60.3 สัมพันธภาพกับ บุคคลในครอบครัวอยู่ในระดับดี ร้อยละ 60.3 ช่วยครอบครัวทางานประกอบอาชีพ มากที่สุด ร้อยละ 58.5 สัมพันธภาพกับบุคคลในสังคมอยู่ระดับปานกลาง มีมากที่สุด ร้อยละ 64.1 สิ่งแวดล้อมในสังคม อยู่ระดับปาน กลาง มีมากที่สุด ร้อยละ 81.5 มีความสุขระดับมาก มีมากที่สุด ร้อยละ 61.5 รองลงมามีความสุขระดับปาน กลาง ร้อยละ 30.9 และมีความสุขระดับความสุขยิ่ง ร้อยละ 6.8 ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า ผู้ใหญ่ที่ไม่มีโรคประจาตัว มีความสุขมากกว่าผู้ใหญ่ ที่มีโรคประจาตัว อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ใหญ่กลุ่มที่มีรายได้พอใช้และมีเหลือเก็บ มีความสุข มากกว่ากลุ่มที่มีรายได้พอใช้แต่ไม่เหลือเก็บ กลุ่มที่มีรายได้ไม่พอใช้แต่ไม่มีหนี้สิน และกลุ่มที่มีรายได้ไม่พอใช้ และมีหนี้สิน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ใหญ่กลุ่มที่มีรายได้พอใช้แต่ไม่เหลือเก็บมีความสุข มากกว่ากลุ่มที่มีรายได้ไม่พอใช้และมีหนี้สิน ส่วนเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา เขตที่อยู่อาศัย อาชีพ สวัสดิการสุขภาพและสังคม การใช้เวลาว่างในการทางานอดิเรก อ่านหนังสือ ทากิจกรรมทางการเมือง และ อาสาสมัคร ต่างกันมีความสุขไม่แตกต่างกัน ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (r=.725) สัมพันธภาพกับบุคคลใน ครอบครัว (r=.641) สัมพันธภาพกับบุคคลในสังคม (r=.470) และสิ่งแวดล้อมในสังคมของผู้ใหญ่ (r=.308) มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขของผู้ใหญ่ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 บทบาทในครอบครัวด้าน ช่วยเหลืองานบ้านเล็กๆ น้อยๆ (r=-.231) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสุขของผู้ใหญ่ อย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 ส่วนการใช้หลักธรรมะในการดาเนินชีวิต การติดต่อกับบุตร บทบาทในครอบครัวของผู้ใหญ่ ด้านเป็นผู้หารายได้หลักให้แก่ครอบครัว ช่วยครอบครัวทางานประกอบอาชีพ เป็นที่ปรึกษาของครอบครัว ดูแล เลี้ยงดูบุตรหลาน ไม่ได้ทาอะไร และเป็นผู้พึ่งพาครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความสุขของผู้ใหญ่ ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ สรุปดังนี้ กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.1 เป็นเพศชาย ร้อย ละ 40.9 มีอายุเฉลี่ย 70.45 ปี กลุ่มอายุ 60 – 69 ปี มีมากที่สุด ร้อยละ 56.2 รองลงมา คืออายุ 70 – 79 ปี ร้อยละ 28.5 และอายุ 80 – 89 ปี ร้อยละ 14.1 ตามลาดับ สถานภาพสมรสคู่ มีมากที่สุด ร้อยละ 57.1 รองลงมา เป็นหม้าย ร้อยละ 26.5 การศึกษาระดับประถมศึกษา มีมากที่สุด ร้อยละ 83.5 มีรายได้เฉลี่ย 5240.41 บาท/ เดือน รายรับพอใช้และมีเหลือเก็บ มีมากที่สุด ร้อยละ 63.1 ส่วนใหญ่อาศัยเขตชนบทร้อยละ 99.4 ประกอบ อาชีพร้อยละ 69.4 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด ร้อยละ 33.53 ใช้บริการบัตรประกันสุขภาพ มากที่สุด ร้อยละ 89.7 ได้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากรัฐบาล ร้อยละ 92.1 ได้เบี้ยยังชีพผู้พิการจากรัฐ ร้อยละ 2.9 เป็นสมาชิก ชมรมผู้สูงอายุ ร้อยละ 79.1 โดยส่วนใหญ่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ร้อยละ 76.47 มีภาวะสุขภาพแข็งแรงปาน กลาง ร้อยละ 71.1 ส่วนใหญ่มีความสามารถดูแลกิจวัตรต่างๆ ได้ด้วยตนเอง มีมากที่สุดร้อยละ 89.4 มีโรค ประจาตัวร้อยละ 39.8 โดยร้อยละ 17.1 ป่วยด้วยภาวะความดันโลหิตสูงอย่างเดียว รองลงมามีภาวะความดัน โลหิตสูง และเบาหวาน ร้อยละ 3.9 ค่า BMI 18.5 - 23.4 กิโลกรัม/ ตารางเมตร (ปกติ) มีมากที่สุด ร้อยละ 57.2 ค่าความดันโลหิต < 130/85 มิลลิเมตรปรอท (ปกติ) มีมากที่สุด ร้อยละ 63.1 มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองระดับปานกลาง และระดับสูงเท่ากัน คือร้อยละ 49.7 ใช้หลักธรรมะในการดาเนินชีวิตในระดับน้อย มีมากที่สุด ร้อยละ 45.9 โดยปฏิบัติเป็นประจา ด้านทาบุญตักบาตร มากที่สุด ร้อยละ 25.6 มีการพบปะติดต่อกับบุตรทุก วันหรือเกือบทุกวัน ร้อยละ 64.3 สัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวอยู่ในระดับดี ร้อยละ 54.4 ส่วนใหญ่ ช่วยเหลืองานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ร้อยละ 49.4 สัมพันธภาพกับบุคคลในสังคมอยู่ระดับปานกลาง มีมากที่สุด ร้อย ละ 64.1 สิ่งแวดล้อมในสังคม อยู่ระดับปานกลาง มีมากที่สุด ร้อยละ 55.6 มี ความสุขระดับน้อย มีมากที่สุด ร้อยละ 66.8 รองลงมามีความสุขระดับปานกลาง ร้อยละ 28.8 ไม่มีความสุขและมีความสุขระดับมาก ร้อยละ 3.2 และร้อยละ 1.2 ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุประกอบอาชีพรับจ้าง และ เกษตรกรรม มีความสุขมากกว่าผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพข้าราชการบานาญ เกษียณอายุจากรัฐวิสาหกิจ และ ค้าขาย กลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคประจาตัว มีความสุขมากกว่าผู้สูงอายุที่มีโรคประจาตัว กลุ่มผู้สูงอายุที่มีการใช้ เวลาว่างทางานอดิเรก มีความสุขมากกว่าผู้สูงอายุที่ใช้เวลาว่าง ออกกาลังกาย อ่านหนังสือ ทากิจกรรมทางการ เมือง และอาสาสมัคร กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีรายได้พอใช้และมีเหลือเก็บ มีความสุขมากกว่ากลุ่มที่มีรายได้ พอใช้แต่ไม่เหลือเก็บ และกลุ่มที่มีรายได้ไม่พอใช้แต่ไม่มีหนี้สิน ผู้สูงอายุกลุ่มที่มีรายได้พอใช้แต่ไม่เหลือเก็บ มี ความสุขมากกว่ากลุ่มที่มีรายได้ไม่พอใช้แต่ไม่มีหนี้สิน กลุ่มที่มีรายได้ไม่พอใช้แต่ไม่มีหนี้สิน มีความสุขมากกว่า กลุ่มที่มีรายได้ไม่พอใช้และมีหนี้สิน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (r=..656) สัมพันธภาพกับบุคคลใน ครอบครัว (r=.633) สัมพันธภาพกับบุคคลในสังคม (r=.612) และสิ่งแวดล้อมในสังคมของผู้ใหญ่ (r=.515) มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 บทบาทในครอบครัวของ ผู้สูงอายุ ด้านเป็นที่ปรึกษาของครอบครัว (r=-.170) ช่วยเหลืองานบ้านเล็กๆ น้อยๆ (r=-.208) ไม่ได้ทาอะไร (r=-.178) และเป็นผู้พึ่งพาครอบครัว (r=-.143) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสุขของผู้สูงอายุ อย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนอายุ การใช้หลักธรรมะในการดาเนินชีวิต การติดต่อกับบุตร บทบาทใน ครอบครัวของผู้สูงอายุ ด้านเป็นผู้หารายได้หลักให้แก่ครอบครัว และดูแลเลี้ยงดูบุตรหลาน ไม่มีความสัมพันธ์ ทางสถิติกับความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุ ความสุขของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ย ความสุขของผู้ใหญ่ = 4.27 คะแนน (ความสุขระดับมาก) และค่าเฉลี่ยความสุขของผู้สูงอายุ = 2.88 คะแนน (ความสุขระดับน้อย)
Description: งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปปีงบประมาณ 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/549
ISSN: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Appears in Collections:แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2558

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ความสุข_วิจัยบทที่ 1-5.pdfรายงานแผนสมบูรณ์1.13 MBAdobe PDFView/Open
ความสุขในชีวิตของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุฯ.pdfความสุขในชีวิตขิงผู้ใหญ่536.81 kBAdobe PDFView/Open
จดหมายการประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๑.pdfจดหมายการประชุม139.77 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback