DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2559 >
ภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2559 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/837

Title: การใช้ดอกดาวเรืองเหลือทิ้งเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพิ่มมูลค่า
Authors: นามวงษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์
พึ่งสําราญ, อาจารย์ ณัฐกมล
คําพันธ, ดร. เสาวณีย์
Keywords: ดาวเรือง การเพิ่มมูลค่า
Issue Date: 4-Oct-2018
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2559;
Abstract: แผนงานวิจัย การใช้ดอกดาวเรืองเหลือทิ้งเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพิ่มมูลค่าคือ การ ลดปริมาณดอกดาวเรืองเหลือทิ้งในชุมชน โดยการนํามาแปรรูปเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า สร้าง ผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เช่น การพัฒนาสีเขียวจากดอกดาวเรืองเพื่อย้อมผ้า สําหรับลดการใช้สีย้อมผ้าสังเคราะห์ สร้างวัสดุที่มี คุณสมบัติเร่งปฏิกิริยาการย่อยลายสีย้อมผ้าสังเคราะห์ การผลิตกระดาษกําจัดกลิ่นโดยใช้ดาวเรืองเป็น องค์ประกอบ การสกัดสารจากจากดอกเรืองเพื่อผลิตสบู่ การสร้างบรรจุภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ โครงการย่อยภายใต้แผนงานวิจัยมีทั้งหมด 3 โครงการ ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงจาก ดาวเรือง(2) การผลิตวัสดุชนิดใช้ซ้ําได้สําหรับกําจัดสีย้อมผ้า(3) สีย้อมธรรมชาติจากเปลือกมะพร้าว การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดําเนินการในปีแรกดําเนินการวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการดําเนินการที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผลการดําเนินงาน สามารถผลิตผลิตภัณฑ์จากดาวเรือง ได้ 1 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงจาก ดาวเรืองใช้สารสกัดชั้นเอทานอล ซึ่งสามารถไล่ยุงได้นาน 2 ชั่วโมง ผลิตผลิตภัณฑ์ไล่ยุงจากดาวเรือง (Tagetes spp.)ได้นํามาแสดงในงานสุนันทาวิชาการการวิจัยทําให้ทราบว่าอัตราส่วนผสมของเยื่อ กระดาษที่เหมาะสมสําหรับนําไปผลิตกระดาษกําจัดกลิ่น คือ เยื่อกระดาษจากดอกดาวเรืองต่อเยื่อ กระดาษจากต้นกกเป็น 70 : 30 ให้ค่าความขาวสว่าง (L*) 90.36 ความเรียบ 2.20 วินาที-เบคค์ (sBEKK) ค่าดัชนีต้านแรงฉีกขาด 9.18 นิวตัน–ตารางเมตรต่อกิโลกรัม (N-m2 /Kg) การคัดเลือก แบคทีเรียชอบเค็มสําหรับผลิตเป็นตัวตรีงชีวภาพ ได้ค้นพบแบคทีเรียชอบเค็มสายพันธุ์ที่สามารถฟอก จางสีน้ําเงินได้ คือ C15-2 และ SR5-3aw นําเซลล์ไปตรึงกับ1 เปอร์เซนต์ อัลจิเนต และ 2.5 เปอร์เซนต์ เจลาติน โดยเซลล์ตรึงภาพสามารถฟอกจางสีได้ที่ pH 4-10 และ อุณหภูมิ 30-50 องศา เซลเซียส ในด้านการนํากลับมาใช้ซ้ํา สามารถนํามาใช้ซ้ําได้ 4 รอบ ที่ pH 7.2 และ อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส
Description: งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/837
Appears in Collections:แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2559

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ird_090_59.pdfปก52.23 kBAdobe PDFView/Open
ird_090_59 (1).pdfบทคัดย่อ38.96 kBAdobe PDFView/Open
ird_090_59 (2).pdfกิตติกรรมประกาศ35.41 kBAdobe PDFView/Open
ird_090_59 (3).pdfบทที่1134.79 kBAdobe PDFView/Open
ird_090_59 (4).pdfเอกสารอ้างอิง59.72 kBAdobe PDFView/Open
ird_090_59 (5).pdfภาคผนวก426.09 kBAdobe PDFView/Open
ird_090_59 (6).pdfประวัตินักวิจัย85.02 kBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback