Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/930
|
Title: | การศึกษาร่องรอยลูกกระสุนปืนบนวัตถุแต่ละประเภทจากอาวุธปืนพก แต่ละขนาดที่มีระยะยิงและวิถียิงที่ต่างกัน |
Authors: | กุลนิเทศ, ณรงค์ |
Keywords: | อาวุธปืนพก / ร่องรอยรูลูกกระสุนปืน/ โลหะตัวถังรถยนต์ |
Issue Date: | 30-Oct-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี2560; |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง การศึกษาร่องรอยลูกกระสุนปืนบนวัตถุแต่ละประเภทจากอาวุธปืนพกแต่ละขนาดที่มีระยะยิงและวิถียิงที่ต่างกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบที่เกิดขึ้นหลังจากยิงใส่ แผ่นโลหะของบริเวณประตูด้านข้างของรถยนต์แต่ละคัน ที่เกิดจากการปะทะของลูกกระสุนปืน โดยยิงจากอาวุธปืนพกที่ระยะยิงและวิถีกระสุนต่างกัน รวมทั้งได้รูปแบบรอยปะทะระหว่างลูกกระสุนปืนกับโลหะประตูด้านข้างรถยนต์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการนาไปใช้ สนับสนุนงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research)
ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบและทาการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากยิงใส่แผ่นโลหะแต่ละส่วนของบริเวณประตูด้านข้างของรถยนต์แต่ละคัน ที่เกิดจากการปะทะของลูกกระสุนปืน โดยยิงจากอาวุธปืนพก ที่ระยะยิงและวิถีกระสุนต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะรูทางเข้าของแผ่นโลหะที่ยิงจาก อาวุธปืนขนาด .38 สเปเชียล และปืนออโตเมติก ขนาด 9 และ 11 มิลลิเมตร มีลักษณะของร่องรอยความเสียหายที่ปรากฏบนแผ่นโลหะประตูด้านข้างของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลสี่ประตู (รถเก๋ง), รถกระบะ และรถตู้ ที่มุมยิง 90° จะมีลักษณะเป็นรอยรูทะลุ รูปแบบทรงกลม มีขนาดความกว้างใกล้เคียงกับขนาดกระสุนปืนที่ใช้ยิง และแนวการยิงทามุม 75°, 60°, 45° และ 30° จะมีลักษณะเป็นรอยรูทะลุ รูปทรงรี ขนาดความกว้างของรูใหญ่กว่าขนาดของกระสุนปืนที่ใช้ยิง ในกรณีที่ทามุม 10° พบลักษณะสภาพบุบยุบของแผ่นโลหะ และมีรอยครูดปรากฏอยู่ เนื่องจากน้าหนักมวลลูกกระสุนปืน รวมกับพลังงานจลน์ที่มาพร้อมลูกกระสุนปืน มีการทามุมกับผิวของแผ่นโลหะน้อย จึงมีผลให้ในขณะลูกกระสุนปืนเข้าชนแผ่นโลหะ ไม่ทะลุผ่านเข้าไปจึงทาให้มีการแฉลบไปในทิศทางด้านหน้าของ แนวทิศทางการยิง และค่าเฉลี่ยของขนาดความกว้างของรูทางเข้าลูกกระสุนปืน จะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเมื่อมุมยิงลดลง แสดงให้เห็นว่า ขนาดของอาวุธปืนที่ยิง, ชนิดลูกกระสุนปืน และมุมยิงที่ต่างกันจะมีผลต่อร่องรอยลูกกระสุนปืนที่ปรากฏมาก ส่วนระยะยิงและชนิดของแผ่นโลหะจะมีผลต่อร่องรอยลูกกระสุนปืนที่ปรากฏค่อนข้างน้อย |
Description: | งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/930 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|