Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/933
|
Title: | การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าหัตถกรรมอาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี |
Authors: | นิยมรัตน์, ฤดี สังขมณี, กฤษฎา สารสิทธิ์, สมบูรณ์ |
Keywords: | การพัฒนาประสิทธิภาพ, สินค้าหัตถกรรม, การปรับปรุงกระบวนการผลิต |
Issue Date: | 1-Nov-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี2560; |
Abstract: | การวิจัยเรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าหัตถกรรมอาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าหัตถกรรมอาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และ (2) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าหัตถกรรมอาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โดยการพิจารณาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าจานวน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านต้นทุน (2) ด้านกระบวนการผลิต และ (3) ด้านความพอใจในผลงาน มีสินค้าหัตถกรรมที่ศึกษาจานวน 5 ประเภทได้แก่ ผ้าทอพื้นเมือง ผ้าขาวม้า กระเป๋า เสื่อกก และกระติบ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าด้านต้นทุน พบว่าหลังการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าหัตถกรรมประเภทผ้าทอพื้นเมืองมีค่าประสิทธิภาพด้านต้นทุนสูงขึ้น ส่วนกระเป๋ามีค่าประสิทธิภาพด้านต้นทุนหลังการปรับปรุงลดลง ผ้าขาวม้า เสื่อกก และกระติบมีค่าประสิทธิภาพด้านต้นทุนหลังการปรับปรุงเท่ากับก่อนการปรับปรุง
2. ผลการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าด้านกระบวนการผลิต พบว่าการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยการเปลี่ยนวัสดุ อุปกรณ์ได้แก่การผลิตผ้าทอพื้นเมือง ผ้าขาวม้า กระเป๋า และเสื่อกก ส่วนการผลิตกระติบมีการเพิ่มขั้นตอนการดาเนินงานขึ้น 2 ขั้นตอนแต่ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพสูงขึ้น สาหรับกระเป๋ามีการลดขั้นตอนการดาเนินงานลง 1 ขั้นตอน ผลการปรับปรุงกระบวนการผลิตผ้าทอพื้นเมือง ผ้าขาวม้า กระเป๋า และเสื่อกก ช่วยลดเวลาการผลิตลงได้
3. ผลการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าด้านความพอใจในผลงาน พบว่าผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมทุกประเภทมีความพอใจต่อการปรับปรุงกระบวนการ
ข้อเสนอแนะ 1. จากการวิจัยพบว่า การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าหัตถกรรมประเภทผ้าทอพื้นเมือง ผ้าขาวม้า กระเป๋า และเสื่อกก ดาเนินการโดยเปลี่ยนวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์การผลิต และส่งผลให้ลดต้นทุนและเวลาในการผลิตได้ ดังนั้นผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมรายอื่นหรือประเภทอื่นที่สนใจสามารถนาแนวทางจากงานวิจัยไปใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าของตนเองได้
2. จากกระบวนการวิจัยยังพบปัญหาในขั้นตอนการดาเนินงานของการผลิตสินค้าหัตถกรรม ทั้งปัญหาด้านการใช้อุปกรณ์ที่ส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าของผู้ผลิต การขาดวัตถุดิบเพื่อการผลิตในท้องถิ่น ความไม่สม่าเสมอของปริมาณความต้องการสินค้า รวมทั้งความไม่คงที่ของระดับคุณภาพของสินค้า ดังนั้นจึงสามารถนาปัญหาดังกล่าวมาสู่การพิจารณาเพื่อแก้ไขในโอกาสต่อไป |
Description: | งานวิจัยงบประมาณแผ่นดินปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/933 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|