Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/943
|
Title: | รูปแบบการดูแลตนเองสาหรับผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดสมุทรสงคราม |
Authors: | เลิศวิริยจิตต์, บุญศรี กิตติโชติพาณิชย์, ผู้ช่วยศาสตจารย์ ดร.บุญศรี อังกุรนาค, รองศาสตราจารย์ทวีชัย |
Issue Date: | 15-Nov-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2560; |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นวิธีดาเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research)โดยประยุกต์ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการดูแลตนเองสาหรับผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชน พื้นที่ศึกษาชมรมผู้สูงอายุตาบลดอนมะโนรา อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล รพสต.นักวิชาการด้านผู้สูงอายุ อบต. ผู้นาชุมชน ผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุต้นแบบคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยเทคนิค snow ball วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจัดเวทีประชุม สนทนากลุ่มย่อย การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม การบันทึกภาพ ระยะเวลารวบรวมข้อมูล 4 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-testโดยการวิจัยแบบเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านอาหาร ด้านการออกกาลังกาย ด้านปฏิบัติตนเมื่อป่วย และด้านอารมณ์ของผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ71-80ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา สมรส จานวนสมาชิกในครอบครัว 3-5 คน อาชีพหลักเกษตร ส่วนใหญ่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย โรคประจาตัวที่พบมากดามลาดับคือโรคความดันโลหิตสูง,ความดันโลหิตสูงกับไขมันในเลือดสูง,ปวดเข่าปวดหลัง,ความดันโลหิตสูงกับเบาหวาน2) ความรู้คะแนนเฉลี่ยรายด้านทุกด้านและพฤติกรรมคะแนนเฉลี่ยรายด้านหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีระดับพฤติกรรมดูแลสุขภาพสูงขึ้น โดยระดับพฤติกรรมก่อนเข้าและหลังเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) รูปแบบการดูแลตนเองสาหรับผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบด้วย1)ค้นหาปัญหา2)วางแผนกาหนดแนวทางส่งเสริมสุขภาพ3)ดาเนินกิจกรรมตามแผน 4)ประเมินผลการดาเนินงานและสะท้อนการปฏิบัติสรุปรูปแบบการดูแลตนเองสาหรับผู้สูงอายุแบบมี
(2)
ส่วนร่วมของชุมชนที่เหมาะสม คือ การทากิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพที่ผู้สุงอายุและต้นแบบมีส่วนร่วมคิดและตัดสินใจกับชุมชนและเป็นวิธีปฏิบัติที่เข้าถึงง่ายต่อการดูแลตนเองได้ซึ่งสอดคล้องวิถีชีวิตชุมชน ส่วนผลสาเร็จคือผู้สูงอายุมีความสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยวัดจากระดับความปวดพบว่าพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพโดยการออกกาลังกาย ระดับความปวดลดลงอย่างแตกต่างกันที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ(p<0.05) ผลต่อเนื่องที่เกิดจากโครงการวิจัยคือมีต้นแบบผู้สูงอายุอยู่ในชมรมผู้สูงอายุที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเสริมแรงให้ผู้สูงอายุดูแลตนเองได้อย่างเข้มแข็งต่อไป และโครงการส่งเสริมสุขภาพอื่นที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่ท้องถิ่นจะช่วยสนับสนุนนต่อไป |
Description: | งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/943 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|