Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/991
|
Title: | การออกแบบแสงสว่าง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน |
Authors: | ลูกรักษ์, สุภัทรา ครูเกษตร, ปรีชญา รุ่งอินทร์ กันกา, จิตราวดี อนุสรณ์ทรางกูร, ณัฐพนธ์ |
Issue Date: | 21-Nov-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2560; |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยดาเนินงานรวบรวมข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมถึงการสารวจภาคสนามเพื่อการศึกษาเป็นข้อมูลประกอบการวิจัย จากวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยด้านการออกแบบแสงสว่างที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมีสมมุติฐานการวิจัย คือ ปัจจัยการออกแบบแสงสว่างที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ภายในห้องเรียนของผู้เรียน และมีส่วนช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ สนับสนุนหรือส่งเสริมด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้ดีขึ้น
วิธีการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงสารวจ และการสัมภาษณ์ความนิยมของบุคคลต่อการใช้แสงสว่างภายในห้องเรียน คณะผู้วิจัยใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบจาลองสภาพแวดล้อมทางกายภาพในประเด็นด้านแสงสว่างที่แตกต่างกัน โดยกาหนดการควบคุมปัจจัยด้านการออกแบบอื่นๆ ให้มีสภาพแวดล้อมที่ปราศจากการตกแต่งเพื่อลดการดึงความสนใจของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ และไม่ให้เป็นการชี้นาหรือกระตุ้น ในการเก็บแบบสัมภาษณ์กาหนดประเด็นในการสอบถามเป็น 2 ประเด็น คือ ประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีพื้นฐานทางศิลปะหรือการออกแบบ และกลุ่มที่ไม่มีพื้นฐานทางศิลปะหรือการออกแบบ จานวนกลุ่มละ 50 คน รวมทั้งหมด 100 คน เพื่อหาความสัมพันธ์ของระดับการรับรู้ที่แตกต่างกันของกลุ่มทั้งสองกลุ่มและประเด็นเกี่ยวกับการตอบสนองทางด้านความรู้สึกเป็นมิตร รู้สึกผ่อนคลายเมื่อเข้าใช้พื้นที่ ความเป็นส่วนตัวของพื้นที่ ความน่าตื่นเต้นของพื้นที่ คุณค่าความงามของห้อง และระดับความพอใจของตนเองในภาพรวม ต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพด้านแสงสว่างในพื้นที่ 3 ปัจจัยหลัก คือ รูปแบบของแสง อุณหภูมิสีของแสง ประเภทของแสง
ผลที่ได้ พบว่า ปัจจัยด้านรูปแบบของแสงแบบกระจายเหมาะสมต่อการออกแบบห้องเรียนมากกว่าแสงแบบจุด ปัจจัยด้านอุณหภูมิสีของแสงพบว่ารูปแบบของแสงขาวสามารถตอบสนองทางด้านความรู้สึกเป็นมิตร ความรู้สึกผ่อนคลายเมื่อเข้าใช้พื้นที่ ความน่าตื่นเต้นของพื้นที่ และส่งเสริมคุณค่าความงามของห้อง ในการออกแบบสภาพแวลล้อมของห้องเรียน แต่ถ้านักออกแบบเลือกใช้รูปแบบแสงเหลืองจะตอบสนองเรื่องความเป็นส่วนตัวของพื้นที่มากกว่าแสงขาว และแสงขาวรูปแบบกระจายเหมาะสมต่อการออกแบบห้องเรียนมากกว่าแสงขาวรูปแบบจุด สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน มีส่วนช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ สนับสนุนหรือส่งเสริมด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้ดีขึ้น เนื่องจากแสงขาวรูปแบบกระจายให้ความรู้สึกเป็นมิตร และผ่อนคลายเมื่อผู้เรียนเข้าใช้พื้นที่ห้องเรียน แต่ถ้าผู้ออกแบบต้องการออกแบบห้องเรียนที่เน้นความเป็นส่วนตัว ความน่าตื่นเต้น และเสริมคุณค่าความงามของห้อง ควรเลือกแสงขาวรูปแบบจุดมากกว่า |
Description: | งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/991 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2560
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|