Title:
|
การเปรียบเทียบความหลากชนิดและความชุกชุมของนก บริเวณเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตาบลท่าคา อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม |
Author:
|
เจริญโภคราช, นิธินาถ; จิตมั่น, เพชรพนม
|
Abstract:
|
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความหลากชนิด และความชุกชุมของนก ศึกษาอุปนิสัยการหากิน
สถานภาพปัจจุบันของนก ลักษณะกิจกรรมของนกที่เข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ ความคล้ายคลึงของนก บริเวณเส้นทางท่องเที่ยว
ทางเรือ และจัดทาปฏิทินฤดูกาลกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การวิจัยครั้งนี้ใช้การเก็บรวบรวมด้วยการสารวจภาคสนาม
เกี่ยวกับความหลากชนิดนกบริเวณเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือ จานวน 3 เส้นทาง คือเส้นทางที่ 1 ตลาดน้าท่าคา - โฮมสเตย์
เส้นทางที่ 2 ตลาดน้าท่าคา - เตาตาล และเส้นทางที่ 3 เตาตาล - รีสอร์ท โดยทาการสารวจตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 – เดือน
กรกฏาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปริมาณความชุกชุมและความคล้ายคลึงของนก และศึกษาอุปนิสัยการหากิน
สถานภาพของนก ลักษณะกิจกรรมของนกที่เข้ามาใช้ประโยชน์ และจัดทาปฏิทินฤดูกาลกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
บริเวณเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือ ผลการศึกษาพบความหลากชนิดของนกจานวน 15 อันดับ 37 วงศ์ 73 ชนิด ซึ่งอันดับ
(Order) ที่มีความหลากชนิดของนกมากที่สุด คือ PASSERIFORMES มีชนิดนก จานวน 34 ชนิด มี โดยเส้นทางที่ 3 ( เตาตาล
– รีสอร์ท) จะพบจานวนชนิดนกมากที่สุด คือ จานวน 63 ชนิด รองลงมาคือเส้นทางที่ 2 (ตลาดน้าท่าคา – เตาตาล) พบชนิด
นก จานวน 56 ชนิด และเส้นทางที่ 1 (ตลาดน้าท่าคา – โฮมสเตย์)พบชนิดนก จานวน 50 ชนิด ส่วนปริมาณความชุกชุม ใน
ระดับ 5 นกที่พบบ่อยมาก มีจานวน 20 ชนิด ในระดับ 4 นกที่พบบ่อยมีจานวน 9 ชนิด ในระดับ 3 นกที่พบปานกลาง มีจานวน
17 ชนิด ในระดับ 2 นกที่พบน้อย มีจานวน 12 ชนิด และในระดับ 1 นกที่พบได้ยาก มีจานวน 15 ชนิด ส่วนอุปนิสัยการหากิน
ของนกในทั้ง 3 เส้นทาง มีกลุ่มนกกินแมลงและตัวหนอนของแมลงเป็นหลักมากที่สุด จานวน 35 ชนิด ส่วนสถานภาพปัจจุบัน
ของนก มีนกประจาถิ่น จานวน 51 ชนิด นกประจาถิ่นและนกอพยพ จานวน 13 ชนิด และนกอพยพ จานวน 9 ชนิด ลักษณะ
กิจกรรมของนกที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อหาอาหารและเลี้ยงลูก เส้นทางที่ 2 กับเส้นทางที่ 3 มีค่าดัชนีความคล้ายคลึง
กันของนก เท่ากับ 0.824 โดยกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั้งกิจกรรมดูนกอพยพ จะอยู่ในช่วงฤดูกาลอพยพในราวเดือน
สิงหาคม – เดือนพฤษภาคมของทุกปี กิจกรรมชมหิ่งห้อยจะอยู่ในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ส่วนกิจกรรมนั่ง
เรือพายชมวิถีชีวิตของชุมชนริมคลองนั้นชมได้ตลอดทั้งปี ดังนั้นจึงควรร่วมมือกันรักษาฐานข้อมูลชนิดนก เพื่อใช้เป็นแหล่ง
เรียนรู้และส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เส้นทางท่องเที่ยวทางเรือ เนื่องจากนกเป็นตัวชี้วัดความสมดุลธรรมชาติและ
ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารในระบบนิเวศ |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2561
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/1100
|
Date:
|
2018-12-03 |