ผลของการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการล้างมือของผู้มาเยี่ยม ผู้ป่วย

DSpace/Manakin Repository

ผลของการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการล้างมือของผู้มาเยี่ยม ผู้ป่วย

Show simple item record

dc.contributor.author รุ่งวชิรา, อรทัย
dc.date.accessioned 2018-12-03T07:26:34Z
dc.date.available 2018-12-03T07:26:34Z
dc.date.issued 2018-12-03
dc.identifier.uri http://hdl.handle.net/123456789/1103
dc.description งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th_TH
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความรู้ และพฤติกรรมการล้างมือก่อนและหลังได้รับความรู้ และศึกษาความคิดเห็นต่อปัญหาและแนวทางแก้ไขในการล้างมือของผู้มาเยี่ยมผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่าง คือผู้มาเยี่ยมผู้ป่วย จำนวน 43 คน เลือกแบบเจาะจง ที่เป็นผู้มาเยี่ยมผู้ป่วย ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม-ศัลยกรรม โรงพยาบาลสนามชัยเขต ระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบวัดความรู้ และแบบสอบถามพฤติกรรมการล้างมือ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (content validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน คำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item objective congruence : IOC) ได้ค่า IOC = 0.846, และ 0.93 ตามลำดับ และนำมาหาความเชื่อมั่น (reliability) โดยแบบสอบถามวัดความรู้การล้างมือ ใช้ สูตรคูลเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 (Kuder-Richardson 20 ) ได้ค่าเท่ากับ 0.62 แบบสอบถามพฤติกรรมการล้างมือ ใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.825 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความรู้ และพฤติกรรมการล้างมือก่อนและหลังที่ได้รับความรู้ โดยใช้ สถิติ Paired t–test ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เรื่องการล้างมือ คะแนนเฉลี่ยก่อนการได้รับความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X= 11.30, SD= 1.23) หลังได้รับความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X= 13.20, SD=1.01) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.00) พฤติกรรมการล้างมือ คะแนนเฉลี่ยก่อนการได้รับความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (X= 2.81 ,SD= 0.57) หลังได้รับความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (X= 3.00, SD= 0.42) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.056) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อปัญหาและแนวทางการแก้ไขมีความเห็นว่า หอผู้ป่วยควรจัดแอลกอฮอล์ล้างมือประจำเตียงผู้ป่วย และเพิ่มอุปกรณ์ในบริเวณต่างๆเพื่อการล้างมือ ผลการวิจัย สามารถนำไปใช้ในการการวางแผนจัดอบรมการล้างมือแก่ผู้มาเยี่ยม เพื่อให้ความรู้การล้างมือที่ถูกต้อง จัดสรรอุปกรณ์ในการล้างมือให้เพียงพอและสะดวกในการใช้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการล้างมือของผู้มาเยี่ยม th_TH
dc.description.sponsorship มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.relation.ispartofseries งานวิจัยปี 2561;
dc.subject ความรู้, พฤติกรรมการล้างมือ, ผู้มาเยี่ยม th_TH
dc.title ผลของการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการล้างมือของผู้มาเยี่ยม ผู้ป่วย th_TH
dc.type Article th_TH


Files in this item

Files Size Format View Description
งานวิจัย บท 1-5 ส่งสวพ.pdf 716.6Kb PDF View/Open งานวิจัย
จริยธรรม.pdf 411.3Kb PDF View/Open จริยธรรม
บทความวิจัย ส่งสรพ.pdf 125.6Kb PDF View/Open บทความวิจัย

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account