การผลิตแพคตินจากเปลือกส้มโอเหลือทิ้ง เพื่อประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบผลไม้ ในอาเภอ อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

DSpace/Manakin Repository

การผลิตแพคตินจากเปลือกส้มโอเหลือทิ้ง เพื่อประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบผลไม้ ในอาเภอ อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

Show full item record

Title: การผลิตแพคตินจากเปลือกส้มโอเหลือทิ้ง เพื่อประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบผลไม้ ในอาเภอ อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Author: พัฒนใหญ่ยิ่ง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รินรดา
Abstract: เพคตินเป็นสารพอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติในการก่อให้เกิดเจล ช่วยเพิ่มความคงตัวในผลิตภัณฑ์ อาหารและเครื่องสาอางค์ และสามารถใช้เป็นตัวกลางในการควบคุมการปลดปล่อยสารต้านจุลินทรีย์ สู่เนื้อสัมผัสอาหารได้ค่อนข้างดี แต่มีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา สภาวะที่เหมาะสมสาหรับการแยกสกัดเพคตินจากเปลือกส้มโอ เพื่อนาไปประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบ ผิวผลไม้ต้านจุลินทรีย์ จากการศึกษาวิจัยนี้ พบว่าน้ากลั่นที่ปรับค่าพีเอชให้ 2 ด้วยกรดอะซีติก มี ประสิทธิภาพในการแยกสกัดเพคตินจากเปลือกส้มโอได้ดีภายใต้อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็น เวลา 1 ชั่วโมง โดยได้ปริมาณผลผลิตเพคตินร้อยละ 12.16 เพคตินที่ได้มีคุณลักษณะค่อนข้างดี และ ใกล้เคียงกับเพคตินทีจาหน่ายทางการค้า โดยมีค่าร้อยละของปริมาณความชื้น เถ้า (ash) เมท็อกซิล (methoxyl) กรดแอนไฮโดรยูริคทั้งหมด และดีกรีของการเกิดเอเทอริฟิเคชั่น (Degree of esterification) เท่ากับ 1.689  0.135, 0.906  0.090, 4.59  0.63, 25.93  1.24 และ 82.76  5.86 ตามลาดับ และมีน้าหนักสมมูลย์ (equivalent weight) เท่ากับ 1137.57  45.82 จัดเป็น เพคตินในกลุ่ม high-methoxyl pectin จากการคานวณต้นทุนการผลิตเพคตินจากเปลือกส้มโอพบว่า มีราคาต่ากว่าเพคตินที่จาหน่ายในทางการค้าประมาณ 25.36 เท่า เพคตินที่ได้สามารถนาไป ประยุกต์ใช้ในการผลิตสารเคลือบต้านจุลินทรีย์ มีความสามารถในการกักเก็บและปลดปล่อยสารต้าน จุลินทรีย์ออกจากโครงสร้างพอลิเมอร์ของเพคตินได้ดี จากการผลิตสารเคลือบเพคตินโดยผสมกับ สารต้านจุลินทรีย์ชนิดลอริคอาร์จิเนต และทาการทดสอบการต้านจุลินทรีย์ในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้ผลไม้เน่าเสียได้แก่ Pseudomonas aeruginosa TISTR 1287, Acinetobacter calcoaceticus TISTR360, Brochothrix thermosphacta DSM20171 และ เชื้อราที่คัดแยกได้จากชมพูที่เกิดการเน่าเสีย ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาคุณสมบัติการต้านจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้ผลไม้เกิดการเน่าเสียในระดับการทดลอง เสมือนจริง เพื่อเป็นแนวทางในการนาไปประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตร และธุรกิจส่งออกผลไม้ใน อนาคตต่อไป
Description: งานวิจัยงบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1238
Date: 2018-12-14


Files in this item

Files Size Format View Description
รายงานการวิจัย pectin รวมเล่ม-merged_ส่งสวพ.pdf 2.184Mb PDF View/Open งานวิจัยสมบูรณ์

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account