dc.contributor.author |
พัฒนใหญ่ยิ่ง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รินรดา |
|
dc.date.accessioned |
2018-12-14T08:39:03Z |
|
dc.date.available |
2018-12-14T08:39:03Z |
|
dc.date.issued |
2018-12-14 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1238 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
เพคตินเป็นสารพอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติในการก่อให้เกิดเจล ช่วยเพิ่มความคงตัวในผลิตภัณฑ์
อาหารและเครื่องสาอางค์ และสามารถใช้เป็นตัวกลางในการควบคุมการปลดปล่อยสารต้านจุลินทรีย์
สู่เนื้อสัมผัสอาหารได้ค่อนข้างดี แต่มีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา
สภาวะที่เหมาะสมสาหรับการแยกสกัดเพคตินจากเปลือกส้มโอ เพื่อนาไปประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบ
ผิวผลไม้ต้านจุลินทรีย์ จากการศึกษาวิจัยนี้ พบว่าน้ากลั่นที่ปรับค่าพีเอชให้ 2 ด้วยกรดอะซีติก มี
ประสิทธิภาพในการแยกสกัดเพคตินจากเปลือกส้มโอได้ดีภายใต้อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็น
เวลา 1 ชั่วโมง โดยได้ปริมาณผลผลิตเพคตินร้อยละ 12.16 เพคตินที่ได้มีคุณลักษณะค่อนข้างดี และ
ใกล้เคียงกับเพคตินทีจาหน่ายทางการค้า โดยมีค่าร้อยละของปริมาณความชื้น เถ้า (ash) เมท็อกซิล
(methoxyl) กรดแอนไฮโดรยูริคทั้งหมด และดีกรีของการเกิดเอเทอริฟิเคชั่น (Degree of
esterification) เท่ากับ 1.689 0.135, 0.906 0.090, 4.59 0.63, 25.93 1.24 และ 82.76
5.86 ตามลาดับ และมีน้าหนักสมมูลย์ (equivalent weight) เท่ากับ 1137.57 45.82 จัดเป็น
เพคตินในกลุ่ม high-methoxyl pectin จากการคานวณต้นทุนการผลิตเพคตินจากเปลือกส้มโอพบว่า
มีราคาต่ากว่าเพคตินที่จาหน่ายในทางการค้าประมาณ 25.36 เท่า เพคตินที่ได้สามารถนาไป
ประยุกต์ใช้ในการผลิตสารเคลือบต้านจุลินทรีย์ มีความสามารถในการกักเก็บและปลดปล่อยสารต้าน
จุลินทรีย์ออกจากโครงสร้างพอลิเมอร์ของเพคตินได้ดี จากการผลิตสารเคลือบเพคตินโดยผสมกับ
สารต้านจุลินทรีย์ชนิดลอริคอาร์จิเนต และทาการทดสอบการต้านจุลินทรีย์ในระดับห้องปฏิบัติการ
พบว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้ผลไม้เน่าเสียได้แก่
Pseudomonas aeruginosa TISTR 1287, Acinetobacter calcoaceticus TISTR360,
Brochothrix thermosphacta DSM20171 และ เชื้อราที่คัดแยกได้จากชมพูที่เกิดการเน่าเสีย ดังนั้น
จึงควรมีการศึกษาคุณสมบัติการต้านจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้ผลไม้เกิดการเน่าเสียในระดับการทดลอง
เสมือนจริง เพื่อเป็นแนวทางในการนาไปประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตร และธุรกิจส่งออกผลไม้ใน
อนาคตต่อไป |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2561; |
|
dc.title |
การผลิตแพคตินจากเปลือกส้มโอเหลือทิ้ง เพื่อประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบผลไม้ ในอาเภอ อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |