Title:
|
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของส้มโอ ในอาเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม |
Author:
|
พิมลรัตนกานต์, อาจารย์สุดารัตน์
|
Abstract:
|
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อค้นหาลักษณะการจัดการโซ่อุปทานของส้มโอในอาเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการโซ่อุปทานของส้มโอในอาเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 3.) เพื่อนารูปแบบการจัดการโซ่อุปทาน ถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติในการจัดการห่วงโซ่อุปทานของส้มโอในอาเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเกษตรกรที่ปลูกส้มโอที่อาศัยอยู่ในอาเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จานวน 609 ราย โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) การวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม และวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์โดยวิธีปรากฎการณ์วิทยา เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและหมุนแกนด้วยวิธี Varimax
จากการศึกษาผลวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของส้มโอได้ 5 องค์ประกอบ คือองค์ประกอบที่ 1 การวางแผน (Eigenvalues = 7.494) องค์ประกอบที่ 2 การผลิต (Eigenvalues = 6.609) องค์ประกอบที่ 3 การจัดซื้อจัดหา (Eigenvalues = 6.336) องค์ประกอบที่ 4 การขนส่งและการส่งคืน (Eigenvalues = 5.445) องค์ประกอบที่ 5 การพัฒนาและสร้างเครือข่าย (Eigenvalues = 5.181) ตามลาดับ
สาหรับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีปรากฎการณ์วิทยา ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งตั้งอยู่ในเขตอาเภอพุทธมณฑล จานวน 9 ราย พบว่า รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานส้มโอได้ตามความเหมาะสมของขนาดเกษตรกร ซึ่งเป็นการส่งเสริมรูปแบบการบริหารโซ่อุปทานส้มโอโดยมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งจะก่อให้เกิดการร่วมคิดการแก้ปัญหาและการระดมทรัพยากร
ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยนี้เป็นวิธีการที่สาคัญที่ทาให้ธุรกิจในชุมชนอาเภอนครชัยศรี ประสบความสาเร็จสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นแนวทางให้เกษตรกรสามารถพัฒนาได้ตามสถานการณ์ของสภาพแวดล้อมภายนอกของการแข่งขันทางธุรกิจ โดยมีการนารูปแบบการจัดการโซ่อุปทานส้มโอที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในกระบวนการ ซึ่งส่งผลให้ต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโซ่อุปทานส้มโอต่อไป |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/1342
|
Date:
|
2019-01-23 |