Title:
|
พฤติกรรมการดาเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร |
Author:
|
ภิรมย์รัตน์, กรรณิการ์
|
Abstract:
|
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการดาเนินชีวิตตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาในการนาหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการดาเนินชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ
นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กาลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานค6ร แห่ง ได้แก่
1) มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 3) มหาวิทยาลัยราชภัฏ-
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา 4) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 5) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
6) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จานวน 420 คน เครื่องมือการวิจัยมี 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1
แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแบบ 2 ตัวเลือก
ถูก-ผิด และฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามวัดพฤติกรรมการดาเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงของนักศึกษา โดยข้อความที่สร้างขึ้นเป็นแบบมาตรประเมินค่า (Rating scale) แบบ 3
ระดับ เครื่องมือทั้ง 2 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.750 และ 0.830 ตามลาดับ สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ
ได้แก่ t-test และ One-Way ANOVA
ผลการศึกษาพบว่า
1. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( X = 15.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่าทุก
มหาวิทยาลัยราชภัฏมีระดับความรู้อยู่ในระดับสูง
2. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมีระดับพฤติกรรมการ ดาเนินชีวิตตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( X = 1.35) เมื่อพิจารณาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า (1) ด้านความพอประมาณ นักศึกษามีระดับพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง
( X = 1.11) (2) ด้านความมีเหตุผล นักศึกษามีระดับพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง ( X = 1.38) และ
(3) ด้านการมีภูมิคุ้มกัน นักศึกษามีระดับพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง ( X = 1.49)
3. นักศึกษามีความคิดเห็น ต่อการนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางใน
การดาเนินชีวิต ดังนี้
(1) ด้านการดารงชีวิตประจาวัน ได้แก่ การเก็บออมเงิน การจัดทาบัญชีรายรับ-
รายจ่าย การใช้ทรัพยากรทุกอย่างอย่างประหยัดและรู้คุณค่า การประยุกต์ของเก่าให้กลับมาใช้ได้
อีกครั้ง
(2) ด้านการเรียนการสอน ได้แก่ มหาวิทยาลัยควรมีการจัดทาหลักสูตรการเรียน
รายวิชา “เศรษฐกิจพอเพียง” ควรมีการสอดแทรกเศรษฐกิจพอเพียงในทุกรายวิชา มีการจัดตั้ง
ชมรมเศรษฐกิจพอเพียง มีการฝึกปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(3) ด้านการณรงค์ ได้แก่ การทาสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ในมหาวิทยาลัย การ
จัดอบรมให้ความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การจัดนิทรรศการเศรษฐกิจพอเพียง |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/17
|
Date:
|
2015-06-04 |