dc.contributor.author |
ชมพัฒนา, อรรถพล |
|
dc.date.accessioned |
2019-12-12T14:29:18Z |
|
dc.date.available |
2019-12-12T14:29:18Z |
|
dc.date.issued |
2019-12-12 |
|
dc.identifier.issn |
- |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1860 |
|
dc.description |
- |
th_TH |
dc.description.abstract |
การศึกษาเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายในเสนอข้อกล่าวหากับกรรมการ ป.ป.ช.ต่อศาลตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาในทางกฎหมายในการเสนอเรื่องต่อศาลเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เนื่องจากในอดีตนับตั้งแต่จัดตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มีเพียงคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการปฎิบัติหน้าที่ขององค์กรดังกล่าวเพียงคดีเดียว ซึ่งการควบคุมฝ่ายปกครองที่ดีควรมีการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและบุคคลผู้ได้รับความเสียหายนั้นต้องสามารถนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่องค์กรของรัฐเพื่อตรวจสอบได้ สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 236 นั้น ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ กรรมการ ป.ป.ช.ในการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบโดยประชาชนไว้สูงถึงจำนวนสองหมื่นรายชื่อ จึงควรมีการแก้กฎหมายให้ลดหลั่นจำนวนรายชื่อลงตามสัดส่วนของคณะกรรมการผู้ถูกกล่าวหา และนอกจากนั้นกฎหมายยังเปิดช่องให้ประธานรัฐสภาในการใช้ดุลพินิจเมื่อได้รับข้อกล่าวหาจากประชาชนหรือจากสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาแล้ว ไม่เสนอเรื่องไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระในการตรวจสอบกรรมการ ป.ป.ช. ได้นั้นยังเป็นข้อบกพร่องและสมควรที่จะมีการกำหนดถึงมาตรการในการกลั่นกรองการใช้ดุลพินิจของประธานรัฐสภาอีกทั้งกำหนดให้ชัดเจนว่าการใช้ดุลพินิจดังกล่าวนั้นเป็นการกระทำทางกฎหมายมิใช่การกระทำทางการเมืองเพื่อสิทธิในการใช้สิทธิทางศาลของผู้เสียหายต่อไป |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
- |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
-;NACHSL-2019_O_106 |
|
dc.subject |
ถอดถอนกรรมการ ป.ป.ช. |
th_TH |
dc.subject |
ผู้ไต่สวนอิสระ |
th_TH |
dc.title |
ปัญหาทางกฎหมายในเสนอข้อกล่าวหากับกรรมการ ป.ป.ช. ต่อศาลตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |