การใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทำวิจัยของนักศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

DSpace/Manakin Repository

การใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทำวิจัยของนักศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Show full item record

Title: การใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทำวิจัยของนักศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
Author: แย้มวงษ์, นนทนันท์; พึงรำพรรณ, ชลลดา; พงศ์หิรัญสกุล, สิริพร
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้ ปัญหา และความต้องการในการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการทำวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. สภาพการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ 1.1 การศึกษาหาความรู้ และการเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีการศึกษาหาความรู้ และการเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ 3 ลำดับแรก ได้แก่ มีเพื่อนแนะนำหรือสอนการใช้ให้ ถัดมา ศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองจากอินเทอร์เน็ต และสอบถามจากอาจารย์ผู้สอนประจำรายวิชา 1.2 วัตถุประสงค์ในการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ 3 ลำดับแรก ได้แก่ เพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลประกอบการทำรายงานการวิจัย ภาระงานมอบหมายจากผู้สอน ถัดมา เพื่อติดตามข่าวสาร หรือบริการต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และค้นคว้าข้อมูลประกอบการเรียนรายวิชาต่าง ๆ 1.3 เหตุผลที่เลือกใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ในการทำรายงานการวิจัย พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีเหตุผลที่เลือกใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ในการทำรายงานการวิจัย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ค้นหาสารสนเทศได้สะดวก รวดเร็ว ถัดมา เข้าถึงได้ตลอดเวลา และไม่จำกัดสถานที่ และ มีความทันสมัยมากกว่าฉบับพิมพ์เนื่องจากมีการปรับปรุงเนื้อหาได้ตลอดเวลา 1.4 เครื่องมือค้นหาที่นักศึกษาใช้ในการค้นหาสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีเหตุผลที่เลือกใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ในการทำรายงานการวิจัย 3 ลำดับแรก ได้แก่ โปรแกรมค้นหา กูเกิล ถัดมา ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มวิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย (Thailis) และฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (Thaijo) 1.5 สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่สืบค้นได้ตรงกับความต้องการในระดับใด พบว่า นักศึกษา ส่วนใหญ่สืบค้นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่สืบค้นได้ตรงกับความต้องการ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ในระดับมาก ถัดมา สืบค้นได้ไม่ตรงกับความต้องการ และ ในระดับปานกลาง 1.6 ช่วงอายุการผลิตของสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ช่วงอายุการผลิตของสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นในช่วงปีปัจจุบัน ถัดมา ใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอายุการผลิตในช่วง 1-5 ปี และ ใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตในช่วง 10 ปีขึ้นไป 2. ปัญหาการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ นักศึกษามีปัญหาการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อ 3 ลำดับแรก ได้แก่ การดาวน์โหลดข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความล่าช้าในระดับมากที่สุด ถัดมา ห้องปฏิบัติคอมพิวเตอร์มีไม่เพียงพอสำหรับการค้นคว้าในระดับมาก และกลยุทธ์การค้นข้อมูลและเครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ในระดับปานกลาง 3. ความต้องการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ นักศึกษามีความต้องการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา รายข้อ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ต้องการให้ห้องสมุดมีปริมาณสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้นในระดับมากที่สุด ถัดมา ต้องการให้รวบรวมแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์แบบไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น คลังสถาบัน ฐานข้อมูลงานวิจัย เป็นต้น ไว้ที่หน้าเว็บไซต์มหาวิทยาลัย หรือห้องสมุดเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงในระดับมาก และให้เพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยในระดับมาก
Description: -
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1904
Date: 2019-12-13


Files in this item

Files Size Format View
new_fullpaper_revision_NACHSL-2019_O_236.pdf 411.8Kb PDF View/Open

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account