Abstract:
|
การวิจัยเรื่องอาชีพส่วนตัวกับการแก้ปัญหาความยากจนของผู้ประกอบการเขตดุสิตมีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาสภาพปัญหาและทัศนคติของผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวโดยออกแบบสอบถามและสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่ออุดช่องว่างจากการตอบแบบสอบถาม ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจานวน 200 ราย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อยู่ในวัยกลางคนเคยผ่านการทางานในระบบมาแล้ว ระดับการศึกษาปานกลาง อยู่ในฐานะหัวหน้าครอบครัวเป็นส่วนมาก ประกอบอาชีพในเขตดุสิตเป็นเวลา 4-6 ปี ร้อยละ 38 รองลงมา 1-3 ปี ร้อยละ 20 ระยะเวลา 7-9 ปี ร้อยละ 19 มากกว่า 10 ปี ร้อยละ 16 น้อยกว่า 1 ปีร้อยละ 7และประกอบอาชีพนี้เป็นงานหลัก แสดงถึงการประกอบอาชีพส่วนตัวเป็นแหล่งสร้างงานที่มีความสาคัญ สถานที่ขายสินค้าและที่พักอาศัยไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน ที่พักอาศัยเป็นบ้านเช่าร้อยละ 47 เจ้าของบ้านเองร้อยละ 36 สินค้าที่ขายเป็นอาหารปรุงสาเร็จรูป อาหารแห้ง สินค้าทั่วไปใช้ในครัวเรือน งานบริการ ขายสินค้าส่วนใหญ่อยู่กับที่ มีเคลื่อนที่บ้างส่วนน้อย ลงทุนเฉลี่ยต่อวันไม่เกิน5,000 บาท รายได้เฉลี่ยต่อวันระหว่าง 1,000-5,000 บาทมีจานวนร้อยละ73 รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหลือเงินน้อยกว่า1,000บาท มีจานวนร้อยละ 63แหล่งเงินลงทุนมาจากเงินออมส่วนตัว เงินกู้ทั้งในระบบและนอกระบบและขอยืมญาติพี่น้อง สาเหตุที่ประกอบอาชีพนี้ได้เงินเร็วมีรายได้พอสมควร เคยคิดที่จะเปลี่ยนอาชีพแต่ไม่มีโอกาสมีมากถึงร้อยละ 66 แต่พอใจในการประกอบอาชีพนี้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรต้องให้ความสาคัญอาชีพส่วนตัวซึ่งทาให้ประชาชนมีรายได้ช่วยเหลือตนเองและครอบครัวเป็นการแก้ปัญหาความยากจนได้อีกทางหนึ่ง สิ่งที่ผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวต้องการได้รับการช่วยเหลือเรียงลาดับคือการจัดสถานที่ให้ทาการค้าขายที่ดีและเหมาะสม ความช่วยเหลือด้านการเงิน ความต้องการด้านแนะแนวอาชีพและการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ |