การพัฒนาชุมชนวิถีประชาธิปไตยตามหลักธรรมาภิบาล: หลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

DSpace/Manakin Repository

การพัฒนาชุมชนวิถีประชาธิปไตยตามหลักธรรมาภิบาล: หลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

Show full item record

Title: การพัฒนาชุมชนวิถีประชาธิปไตยตามหลักธรรมาภิบาล: หลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
Author: ภูคำชะโนด, ภูสิทธ์
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่ กิจกรรมทางการเมืองและกิจกรรมส่วนรวมของหน่วยงานรัฐที่จัดให้กับประชาชน พร้อมทั้งมี การศึกษาทัศนคติของประชาชนในการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐและภาคประชาชนตามหลักธรร มาภิบาล: ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมประชาชนในทุกชุมชน และวิเคราะห์ชุมชนและคัดเลือก ชุมชนต้นแบบพร้อมกับพัฒนาชุมชนวิถีประชาธิปไตยตามหลักธรรมาภิบาล: หลักความโปร่งใส่ และ หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยทำการเก็บข้อมูลจากประชาชนใน 46 ชุมชน จำนวน 400 กลุ่มตัวอย่างใขเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และอาศัยอยู่นอกชุมชน จำนวน 60 กลุ่มตัวอย่าง รวม ทั้งสิ้นกลุ่มตัวอย่างในการวิเคราะห์ 460 คน รวมถึงทำการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน จำนวน 46 คน พบผลการวิจัยว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมพัฒนาเชิงพื้นที่และกิจกรรมส่วนรวม ของหน่วยงานรัฐที่จัดให้กับประชาชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางส่วนด้านการวิเคราะห์ วางแผนในการพัฒนาพื้นที่ประชาชนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ในประเด็นการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ทางการเมืองในช่วย 5 ปีที่ผ่านมาประชาชนคิดว่าตนเองมีสิทธิเสรีภาพในการดำรงชีวิตประจำวัน อย่างเต็มเปี่ยม แต่ขาดการมีสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่มกันซึ่งมีการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มจะมีทหาร และเจ้าหน้ารัฐเข้ามาเฝ้าสังเกตการณ์ร่วมด้วยเสมอ ทั้งนี้ประชาชนมีทัศนคติต่อกิจกรรมทางการเมือง และวิถีทางการเมืองการปกครองประชาธิปไตยแบบไทยอย่างชัดเจนในมิติความจริงที่ว่าประชาชนให้ ความสำคัญกับการมีความเชื่อมั่น และชื่นชมในระบอบการปกครองที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็น สถาบันสูงสุดที่จะสามารถแก้ปัญหาของชาติให้มั่นคงยั่งยืน และมีความเหมาะสมต่อการปกครองใน ประเทศไทย อยู่ในระดับจริงหรือระดับมากที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมามีความคิดเห็นว่า การ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันหรือระบบอุปถัมภ์นั้นยังเป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทย อยู่ในระดับจริง เช่นเดียวกัน พร้อมกันนั้นประชาชนเชื่อมั่นในหลักธรรมาภิบาลด้านความโปร่งใสที่สุดในเรื่องที่ว่าเมื่อ มีกิจกรรมที่ขอความร่วมมือจากองค์กรภาคเอกชน หรือภาครัฐ วิชาการจากภายนอก ผู้นำและคณะกรรมการชุมชนได้มีการประกาศเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนได้รับรู้และเปิดโอกาสให้เข้าร่วมอย่าง ทั่วถึงกันในชุมชน ส่วนหลักธรรมาภิบาล: การมีส่วนร่วม ประชาชนใน 46 ชุมชนพบว่าได้มีการเปิด โอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองการบริหาร และการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนเกี่ยวกับ วิถีชีวิตของชุมชนโดยภาพรวมมีส่วนร่วมอยู่ระดับปานกลาง แต่กลับพบว่าระดับการมีส่วนร่วมมาก คือประชาชนมีความพร้อมไปเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2562 ด้วยการแสดงออกเป็น ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงที่สุด นอกจากนี้ประชาชนได้คัดเลือก “ชุมชน วัดสวัสดิ์วารีสีมาราม” เป็นชุมชนต้นแบบประชาธิปไตยของเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร รวมถึงวิถี-วิธี ประชาธิปไตย ประชาชนมีความเห็นว่า วิถีประชาธิปไตยต้องสะท้อนความเท่าเทียมกันในสังคม ประชาธิปไตย ถือว่าทุกคนที่เกิดมาจะมีความเท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐ ได้แก่ มี สิทธิเสรีภาพ มีหน้าที่เสมอภาคกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้นหรือการเลือกปฏิบัติ ควรดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน อย่างสันติ ไม่ข่มเหงรังแกคนที่อ่อนแอกว่า ส่วนวิธีประชาธิปไตยโดยการแสดงออกทางกิจกรรม ทางการเมือง “การมีส่วนร่วมของประชาชน” จึงเป็นวิธีสำคัญของประชาชนในชุมชนเมืองเป็นปกติ วิสัย ชี้ให้เห็นว่าวิธีประชาธิปไตยจริงแท้ต้องให้ “อิสระในการตัดสินใจ ไม่มีการบังคับในการใช้สิทธิ์” ในส่วนปัจจัยพื้นฐานบุคคลที่ส่งผลต่อกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่ ได้แก่ประชาชนที่เป็นผู้ชายมีส่วนร่วม ในกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่ในเขตดุสิตมากกว่าเพศหญิง และประชาชนที่สังกัดสมาชิกกลุ่มทางสังคม มีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่เขตดุสิตมากกว่าผู้ที่ไม่สังกัดกลุ่มทางสังคมใด ๆ เลย รวมถึง ประชาชนที่มีวิถีทางการเมืองการปกครองประชาธิปไตยแบบไทยมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ระดับ ระดับปานกลางค่อนไปสูง (r = 0.478**) กับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1956
Date: 2020-11-16


Files in this item

Files Size Format View
011Full Text 25 ... angkok-62 (phusit ph.).pdf 8.465Mb PDF View/Open

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account