การจัดการสิ่งแวดล้อมของสวนผลไม้เพื่อการอนุรักษ์หิ่งห้อยในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

DSpace/Manakin Repository

การจัดการสิ่งแวดล้อมของสวนผลไม้เพื่อการอนุรักษ์หิ่งห้อยในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

Show simple item record

dc.contributor.author อุฑารสกุล, ทัศนาวลัย
dc.creator สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา TH
dc.date.accessioned 2015-06-04T09:05:43Z
dc.date.available 2015-06-04T09:05:43Z
dc.date.issued 2015-06-04
dc.identifier.other มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
dc.identifier.uri http://hdl.handle.net/123456789/19
dc.description งานวิจัยงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th_TH
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ทำการศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้แก่คุณภาพดินและคุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อ การอนุรักษ์หิ่งห้อยในพื้นที่สวนผลไม้ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยทำการศึกษาในพื้นที่ คลองที่ไหลผ่านสวนผลไม้จำนวน 3 ชนิดได้แก่ คลองท่าคาในพื้นที่สวนมะพร้าว คลองบางแคในพื้นที่ สวนส้มโอ และคลองแควอ้อมในพื้นที่สวนลิ้นจี่ ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2553 ผลการศึกษา ปริมาณแคดเมียมในน้ำพบว่ามีค่าอยู่ในช่วงตั้งแต่ตรวจไม่พบถึง 0.0945 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนในดินมี ค่าอยู่ในช่วง 0.0032 ถึง 0.0988 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณสารตะกั่วในน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 0.0031 ถึง 0.0671 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนในดินมีค่าอยู่ในช่วง 0.0297 ถึง 0.1344 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งพบว่า ปริมาณของสารโลหะหนักทั้งสองชนิดมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ผลการศึกษาพบว่าในคลองที่ไหลผ่านพื้นที่สวนมะพร้าวมีปริมาณสารแคดเมียมในน้ำสูงที่สุด ผลการ ตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายพบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 1.725 ถึง 6.05 มิลลิกรัมต่อลิตรซึ่งมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ มาตรฐาน ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพน้ำและดินตะกอนในสวนแต่ละประเภทโดย ใช้สถิติ one-way ANOVA พบว่าค่ากรด-ด่าง ออกซิเจนละลาย สารแคดเมียมทั้งในน้ำและในดิน ตะกอน สารตะกั่วทั้งในน้ำและในดินตะกอนความชื้นสัมพัทธ์ของดินตะกอนมีค่าไม่แตกต่างกันอย่าง มีในนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าความเค็มและอุณหภูมิของดินตะกอนมีความแตกต่างกัน ผล การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับจำนวนหิ่งห้อยพบว่าค่าออกซิเจนละลายใน คลองที่ไหลผ่านสวนมะพร้าวมีความสัมพันธ์กับปริมาณหิ่งห้อยสูงสุด คือ มีค่าความสัมพันธ์ไปใน ทิศทางเดียวกันเท่ากับ 0.751 รองลงมาคืออุณหภูมิของดินตะกอนในคลองที่ไหลผ่านสวนมะพร้าว เช่นกันซึ่งมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางคือค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.695 ส่วนปริมาณของสาร แคดเมียมและสารตะกั่วในน้ำ มีความสัมพันธ์กับปริมาณหิ่งห้อยที่อาศัยอยู่ในคลองที่ไหลผ่านสวน ผลไม้และสวนลิ้นจี่ในระดับปานกลางผลการศึกษาปริมาณและการแพร่กระจายของประชากรหิ่งห้อยที่อาศัยในพื้นที่สวนผลไม้แต่ ละประเภทและการทำแผนที่แสดงการกระจายตัวของหิ่งห้อยในพื้นที่สวนผลไม้ โดยประยุกต์ใช้ระบบ สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ โปรแกรม ArcGIS (Version 9.3) ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ สวนผลไม้ที่ศึกษาในตำบลท่าคา ตำบลแควอ้อม และตำบลบางนางลี่มีการพบประชากรหิ่งห้อยใน พื้นที่ และในพื้นที่สวนผลไม้ทั้ง 3 ประเภทมีหิ่งห้อยอาศัยในพื้นที่เป็นระยะเวลานานกว่า 20 ปีซึ่งแสดง ให้เห็นว่าในอดีตอำเภออัมพวาเป็นถิ่นอาศัยของประชากรหิ่งห้อยโดยสามารถพบหิ่งห้อยได้ในทุก ตำบลที่ศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแผนที่การกระจายตัวของหิ่งห้อยจะพบประชากรหิ่งห้อยตาม พื้นที่คลองที่ไหลผ่านสวนผลไม้มากที่ระยะห่างจากคลอง 50 เมตร สวนผลไม้ที่มีการหายไปของ หิ่งห้อยมากที่สุดในช่วงเวลามากกว่า 10 ปีคือ สวนส้มโอและสวนมะพร้าว ซึ่งประชากรหิ่งห้อยจะ หายไปในบริเวณพื้นที่ที่ห่างจากถนนในระยะ 100 เมตร ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของ ประชากรหิ่งห้อยตามประเภทสวนผลไม้โดยใช้สถิติ one-way ANOVA สรุปได้ว่าประชากรหิ่งห้อยไม่มี ความแตกต่างกันตามประเภทสวนผลไม้ th_TH
dc.description.sponsorship มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th_TH
dc.language TH TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา TH
dc.relation.ispartofseries งานวิจัยปี 2553;
dc.source งานวิจัยแหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2553 TH
dc.subject สวนผลไม้ th_TH
dc.subject หิ่งห้อย th_TH
dc.subject อัมพวา th_TH
dc.title การจัดการสิ่งแวดล้อมของสวนผลไม้เพื่อการอนุรักษ์หิ่งห้อยในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม th_TH
dc.type Article th_TH


Files in this item

Files Size Format View Description
ird_018_53.pdf 80.52Kb PDF View/Open ปก
ird_018_53 (1).pdf 292.6Kb PDF View/Open บทคัดย่อ
ird_018_53 (2).pdf 241.1Kb PDF View/Open Abstract
ird_018_53 (3).pdf 300.5Kb PDF View/Open กิติกรรมประกาศ
ird_018_53 (4).pdf 310.1Kb PDF View/Open บทที่ 1
ird_018_53 (5).pdf 525.7Kb PDF View/Open บทที่ 2
ird_018_53 (6).pdf 838.3Kb PDF View/Open บทที่ 3
ird_018_53 (7).pdf 3.919Mb PDF View/Open บทที่ 4
ird_018_53 (8).pdf 317.5Kb PDF View/Open บทที่ 5
ird_018_53 (9).pdf 295.6Kb PDF View/Open บรรณานุกรม
ird_018_53 (11).pdf 283.9Kb PDF View/Open ประวัตินักวิจัย

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account