dc.contributor.author |
นภาพงศ์, กันยา |
|
dc.contributor.author |
ศรีสารคาม ไกรทอง, จิรประภา |
|
dc.creator |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.date.accessioned |
2015-06-20T06:23:53Z |
|
dc.date.available |
2015-06-20T06:23:53Z |
|
dc.date.issued |
2015-06-20 |
|
dc.identifier.issn |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/210 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาทัศนคติเรื่องเพศและเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน และการรับรู้ความสามารถตนเองของนักเรียนวัยแรกรุ่น ที่กาลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5และ 6 ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ในเขตดุสิต จานวน 111 จากการเปิดตารางของ Polit & Beck (2008) โดยเลือกโรงเรียนโดยการ สุ่มตัวอย่างง่าย (simple sampling) โดยจับฉลากชื่อโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในเขตดุสิตมา 3 โรงเรียนจาก 7 โรงเรียนที่มีจานวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 รวมกันแล้วมีจานวนใกล้เคียงกัน และเลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 และ 6 ของทั้ง 3 โรงเรียนมาทั้งหมด รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และผ่านการตรวจสอบความตรงของโครงสร้างและเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจานวน 3 ท่าน โดยแบบสอบถามทัศนคติเรื่องเพศและเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนและการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการป้องกันปัญหาทางเพศเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ช่อง คือ มาก ปานกลาง และน้อย นามาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) แบบสอบถามทัศนคติเรื่องเพศและเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนได้ค่า Reliability coefficients alpha .6326 และของแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการป้องกันปัญหาทางเพศได้ค่า Reliability coefficients alpha .7403 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปของเด็กวัยแรกรุ่นในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความคาดหวังในผลลัพธ์เรื่องเพศและเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนและการรับรู้ความสามารถตนเองของนักเรียนวัยแรกรุ่น ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 3) ค้นหาปัจจัยความสัมพันธ์ และความแตกต่างของความคาดหวังในผลลัพธ์เรื่องเพศและเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน และการรับรู้ความสามารถตนเองของนักเรียนวัยแรกรุ่น ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
จากผลการศึกษาที่พบว่าความคาดหวังของนักเรียนวัยแรกรุ่นอยู่ในระดับดี การรับรู้ความสามารถตนเองต่อการป้องกันปัญหาทางเพศนั้นพบว่านักเรียนวัยแรกรุ่นมีการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันปัญหาทางเพศในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 30.96 พบว่าคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการป้องกันปัญหาทางเพศ มีความแตกต่างกันเมื่อ เพศ ระดับชั้นเรียน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ .05 นอกจากนี้ยังพบว่าความคาดหวัง ในผลลัพธ์เรื่องเพศและเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการป้องกันปัญหาทางเพศอีกด้วย
ข้อเสนอแนะ
การป้องกันปัญหาทางเพศนั้นควรดาเนินการตั้งแต่เข้าสู่วัยแรกรุ่นเนื่องจากเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน จากการศึกษาวัยนี้เป็นวัยที่พร้อมจะรับข้อมูลข่าวสารจากบิดามารดา ผู้ปกครองและครู การได้รับข้อมูลจากกลุ่มคนเหล่านี้นอกจากจะได้รับความรู้แล้วยังสามารถปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมร่วมด้วย จนเกิดการรับรู้ความสามารถตนเองและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันปัญหาเพศและเพศสัมพันธ์ในระดับสูง เขาก็จะแสดงพฤติกรรมได้อย่างมีคุณภาพต่อไป |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language |
TH |
|
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2556; |
|
dc.source |
งานวิจัยแหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2556 |
|
dc.subject |
ความสามารถตนเอง |
th_TH |
dc.subject |
นักเรียนวัยแรกรุ่น |
th_TH |
dc.subject |
การป้องกันปัญหาทางเพศ |
th_TH |
dc.title |
ความสามารถตนเองของนักเรียนวัยแรกรุ่นต่อการป้องกันปัญหาทางเพศ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |