การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมและลวดลายประดับสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกิส เพื่อสร้างสรรค์การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจังหวัดภูเก็ต

DSpace/Manakin Repository

การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมและลวดลายประดับสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกิส เพื่อสร้างสรรค์การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจังหวัดภูเก็ต

Show full item record

Title: การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมและลวดลายประดับสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกิส เพื่อสร้างสรรค์การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจังหวัดภูเก็ต
Author: จีระศิลป์, สมสกุล
Abstract: การวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมและลวดลายประดับสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกิส เพื่อสร้างสรรค์การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมและลวดลายสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกิส (2) เพื่อสร้างสรรค์งานออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกโดยการนารูปแบบสถาปัตยกรรมและลวดลายประดับสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกิสมาใช้และต่อยอด การศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็นส่วนข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารต่างๆ และข้อมูลจากการสารวจภาคสนาม ด้วย แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ จากนักท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวจานวน 472 ราย และ จากสารวจรูปแบบสถาปัตยกรรมและลวดลายประดับอาคารพาณิชย์ บันทึกภาพถ่ายและภาพลายเส้นเพื่อนามาวิเคราะห์คุณค่างานสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกิสในภูเก็ตสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้ 1.1.รูปแบบของสถาปัตยกรรมช่วงที่1 รูปแบบอาคารจะที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนเป็นหลัก ลวดลายลักษณะเรียบง่าย และ หลังคาแบบเก๋งจีน 1.2. รูปแบบของสถาปัตยกรรมช่วงที่ 2 มีลักษณะเรียบง่าย ลวดลายประกอบอาคารก็จะมี ลักษณะแบบคลาสสิคและนีโอคลาสสิก ผสมสถาปัตยกรรมแบบจีน มีทางเดินเชื่อมถึงกันที่เรียกว่า อาเขต 1.3. รูปแบบของสถาปัตยกรรมช่วงที่ 3 ลวดลายประกอบอาคารคล้ายสถาปัตยกรรมช่วงที่ 2 และการก่อสร้างอาคารแบบโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก มีระเบียงคลุมทางเดินแทน อาเขต 1.4. รูปแบบของสถาปัตยกรรมช่วงที่ 3 มีลักษณะเรียบง่าย การก่อสร้างอาคารแบบคอนกรีต เสริมเหล็ก ลวดลายประกอบอาคารแบบ ศิลปะอาร์ตเดคโค 2) ลวดลายที่ปรากฏบนสถาปัตยกรรมออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ 2.1. กลุ่มลวดลายธรรมชาติ 2.2. กลุ่มลวดลายแบบเรขาคณิต www.ssru.ac.th 2.3. กลุ่มลวดลายจากการประดิษฐ์ 2.4. กลุ่มลวดลายจากอักษร จากการค้นพบดังกล่าวทาให้ทราบถึงรูปแบบและลวดลายสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกิสที่มีความ เป็นอัตลักษณ์ และได้นาลักษณะดังกล่าวมาใช้ พัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ประเภทของที่ระลึก จานวน 8 ชุด ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ตามวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี
Description: งานวิจัยงบประมาณภายในมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/356
Date: 2015-06-20


Files in this item

Files Size Format View Description
ird_125_55.pdf 116.6Kb PDF View/Open ปก
ird_125_55 (1).pdf 296.6Kb PDF View/Open บทคัดย่อ
ird_125_55 (2).pdf 263.0Kb PDF View/Open Abstract
ird_125_55 (3).pdf 433.5Kb PDF View/Open บทที่1
ird_125_55 (4).pdf 2.486Mb PDF View/Open บทที่2
ird_125_55 (5).pdf 2.222Mb PDF View/Open บทที่3
ird_125_55 (6).pdf 6.308Mb PDF View/Open บทที่4
ird_125_55 (7).pdf 1.273Mb PDF View/Open บทที่5

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account