dc.contributor.author |
พลายเล็ก, ธีราภรณ์ |
|
dc.creator |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.date.accessioned |
2015-06-20T11:31:54Z |
|
dc.date.available |
2015-06-20T11:31:54Z |
|
dc.date.issued |
2015-06-20 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/360 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณภายใน ปีงบประมาณ 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและศึกษากลวิธี การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 แขนงวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร จาแนกตามกลุ่ม ที่เรียนเก่งมาก กลุ่มที่เรียนเก่ง กลุ่มที่เรียนปานกลาง และกลุ่มที่เรียนอ่อน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏ 5 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กาหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากการคานวณของสูตร Taro Yamane ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จานวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ลักษณะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งมาก ส่วนใหญ่จะมีลักษณะการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้ประสาทตาและลักษณะการเรียนรู้แบบคาดเดากฏและความหมายของภาษาใหม่มากที่สุด รองลงมาคือลักษณะของการรู้สึกสนุกและผ่อนคลายกับการทากิจกรรมทางภาษาและภาระงาน ส่วนนักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งมีลักษณะการเรียนรู้แบบคาดเดากฏและความหมายของภาษาใหม่มากที่สุด รองลงมาคือลักษณะการเรียนรู้แบบเป็นไปตามลาดับขั้นตอน นักศึกษากลุ่มที่เรียนปานกลางมีลักษณะการเรียนรู้แบบมีความละเอียดถี่ถ้วนในการวางแผนและทาภาระงานมากที่สุด รองลงมาคือลักษณะของการสรุปหาคาตอบด้วยการศึกษากฏของภาษาใหม่ก่อน และนักศึกษากลุ่มที่เรียนอ่อนจะมีลักษณะการเรียนรู้แบบคาดเดากฏและความหมายของภาษาใหม่มากที่สุด รองลงมาคือลักษณะของการแสวงหากฏเกณฑ์ทางภาษาใหม่ ส่วนลักษณะการเรียนรู้ที่มีน้อยที่สุดของนักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งมาก กลุ่มที่เรียนเก่ง และกลุ่มที่
www.ssru.ac.th
(3)
เรียนปานกลางคือลักษณะการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะสัมพันธภาพของผู้เรียนที่มีต่อผู้อื่น ขณะที่นักศึกษากลุ่มที่เรียนอ่อนจะมีลักษณะการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการริเริ่มภาระงานน้อยที่สุด 2. กลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งมาก ส่วนใหญ่จะนากลวิธีที่ใช้ อภิปัญญามาใช้มากที่สุด รองลงมาคือกลวิธีที่ใช้การเสริมและการทดแทน ส่วนนักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งจะนากลวิธีที่ใช้อภิปัญญาและกลวิธีเชิงวิภาพมาใช้มากที่สุด รองลงมาคือกลวิธีทางสังคม นักศึกษากลุ่มที่เรียนปานกลางจะนากลวิธีที่ใช้อภิปัญญา กลวิธีเชิงวิภาพ และกลวิธีทางสังคมมาใช้มากที่สุด รองลงมาคือกลวิธีที่ใช้การเสริมและการทดแทน และนักศึกษากลุ่มที่เรียนอ่อนจะนากลวิธีที่ใช้ความจามาใช้มากที่สุด รองลงมาคือกลวิธีทางสังคม ส่วนกลวิธีที่นามาใช้น้อยที่สุดของนักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งมาก กลุ่มที่เรียนปานกลางและกลุ่มที่เรียนอ่อนคือกลวิธีที่ใช้ความรู้ความเข้าใจ ขณะที่นักศึกษากลุ่มที่เรียนเก่งจะนากลวิธีที่ใช้การเสริมและการทดแทนมาใช้น้อยที่สุด |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language |
TH |
TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2555; |
|
dc.source |
งานวิจัยแหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2555 |
TH |
dc.subject |
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ |
th_TH |
dc.subject |
มหาวิทยาลัยราชภัฏ |
th_TH |
dc.title |
การศึกษาลักษณะการเรียนรู้และกลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |