รูปแบบการส่งเสริมความแตกฉานด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน (เบาหวานชนิดที่ 2) ใน จังหวัด สมุทรสงคราม

DSpace/Manakin Repository

รูปแบบการส่งเสริมความแตกฉานด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน (เบาหวานชนิดที่ 2) ใน จังหวัด สมุทรสงคราม

Show full item record

Title: รูปแบบการส่งเสริมความแตกฉานด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน (เบาหวานชนิดที่ 2) ใน จังหวัด สมุทรสงคราม
Author: ปราบสงบ, กันตพงษ์; สาโรงทอง, รัตนา
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินระดับความแตกฉานทางด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน (เบาหวานชนิดที่ 2)ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล อาเภอบางคนที จังหวัด สมุทรสงคราม 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และ การควบคุมเบาหวาน ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน และ 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความแตกฉานด้านสุขภาพ ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความแตกฉานด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม อายุ 50 – 80 ปี จานวน 415 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง และตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการส่งเสริมความแตกฉานด้านสุขภาพได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จานวน 70 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สถิติด้วยค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความแตกฉานด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥 = 2.68, S.D. = 0.64) มีระดับพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ (𝑥 = 68.50, S.D = 8.42) ความแตกฉานด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับต่ามาก (r = 0.09, Sig. = 0.047) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานมีความสัมพันธ์ทางลบกับระดับน้าตาลในเลือดอยู่ในระดับปานกลาง (r = -0.50, Sig. = 0.00) การส่งเสริมความแตกฉานด้านสุขภาพโดยใช้เทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ในเวลา 3 เดือน ทาให้กลุ่มทดลองมีระดับความแตกฉานด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ เพิ่มขึ้น และค่าน้าตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลง อย่างมีนัยสาคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม รูปแบบการส่งเสริมความแตกฉานด้านสุขภาพโดยการใช้กลุ่มเพื่อนเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความแตกฉานด้านสุขภาพ และสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน
Description: งานวิจัยงบประมาณรายได้แผ่นดิน ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/504
Date: 2018-09-18


Files in this item

Files Size Format View Description
ปก รายงานวิจัย Model of Health Literacy.pdf 180.7Kb PDF View/Open ปก
ส่วนหน้า รายงานวิจัย Model of Health Literacy.pdf 378.2Kb PDF View/Open บทคัดย่อ
ทบที่ 1 Model of Health Literacy.pdf 222.0Kb PDF View/Open บทที่1
บทที่ 2 Model of Health Literacy.pdf 386.2Kb PDF View/Open บทที่2
บทที่ 3 Model of Health Literacy.pdf 453.6Kb PDF View/Open บทที่3
บทที่-4 Model of Health Literacy.pdf 614.8Kb PDF View/Open บทที่4
บทที่-5 Model of Health Literacy.pdf 360.7Kb PDF View/Open บทที่5
ส่วนหลัง รายงานวิจัย Model of Health Literacy.pdf 976.3Kb PDF View/Open ส่วนหลัง

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account